น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

สธ.สั่งตรวจเข้ม 'หวัดนก' ทั่ว ปท. หลังพบไก่ติดเชื้อที่จีน

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

'วิทยา บุรณศิริ'สั่ง สสจ.ทั่วประเทศเข้มตรวจไข้หวัดนก หลังพบไก่ติดเชื้อที่จีน รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติยันยังไม่พบเชื้อใน 'นกธรรมชาติ-นกอพยพ'

 สธ.สั่งเข้มหวัดนกทั่วประเทศ

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว ถึงกรณีที่ทางการเขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือประเทศจีน พบการระบาดของไข้หวัดนก เอช 5เอ็น 1 (H5N1) ในไก่ ตั้งแต่วันที่ 20มิถุนายน เป็นต้นมา โดยได้ฆ่าไก่ไปแล้ว กว่า 150,000ตัวว่า ได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หรือ สสจ.ทุกจังหวัด ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน สภาพอากาศชื้น อาจทำให้เชื้อไข้หวัดนกมีโอกาสแพร่ระบาดได้ แม้ว่าผลการเฝ้าระวังในประเทศไทยจะไม่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกติดต่อกันมานาน กว่า 5 ปีก็ตาม และขอความร่วมมือประชาชน หากพบสัตว์ปีกป่วย ตายผิดปกติ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อย่านำมาทำเป็นอาหารเด็ดขาด เพราะหากสัตว์ติดเชื้อไข้หวัดนก เชื้อจะติดต่อถึงคนขณะชำแหละได้

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าว ว่า วิธีการสังเกตสัตว์ปีกว่าอาจป่วยเป็นหวัดนกตามคำแนะนำกรมปศุสัตว์ โดยทั่วไปจะมีอาการดังนี้ ซูบผอม ซึมมาก ไม่กินอาหาร ขนยุ่ง ไข่ลด  ไอ จาม หายใจลำบาก น้ำตาไหลมาก หน้าบวม หงอนมีสีคล้ำ หรืออาจมีอาการของระบบประสาท และท้องเสีย ในรายที่รุนแรงจะตายอย่างรวดเร็วโดยไม่แสดงอาการ โดยหากพบสัตว์ปีกตายผิดสังเกต อาจเกิดจากโรคระบาดได้หลายโรค ซึ่งหากเป็นเชื้อไข้หวัดนก เชื้อจะแพร่ระบาดไปสู่สัตว์ตัวอื่นอย่างรวดเร็ว ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือ อสม. เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดให้เร็วที่สุด โดยพื้นที่กรุงเทพมหานคร แจ้งสำนักงานเขตที่พบสัตว์ตาย หรือศูนย์ปฏิบัติการไข้หวัดนก กทม. โทรสายด่วน 1555หรือกรมปศุสัตว์ โทร.0-2653-4551-4ต่อ 101-105ส่วนต่างจังหวัด แจ้งปศุสัตว์อำเภอหรือจังหวัด อสม. เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เทศบาล อบต.

"ในการเก็บซากสัตว์ปีก ห้ามจับซากสัตว์ด้วยมือเปล่า ควรสวมถุงมือยาง ถ้าไม่มีให้ใช้ถุงพลาสติกหนาๆ สวมมือ เก็บใส่ลงในถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปเผาหรือฝัง หากใช้วิธีฝังควรราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือโรยปูนขาว หรืออาจใช้น้ำเดือดราดที่ซากก่อนกลบดินให้แน่น อย่าทิ้งซากสัตว์ลงในแม่น้ำ ลำคลอง นอกจากนี้ ขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองดูแลเด็กไม่ให้เล่นหรืออุ้มสัตว์ปีก โดยเฉพาะนกหรือไก่ เนื่องจากเด็กมักชอบเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหากติดเชื้อไข้หวัดนก และฝึกให้ล้างมือเป็นนิสัย หลังเข้าห้องน้ำห้องส้วม สั่งน้ำมูก จับหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงต่างๆ และก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย" รองอธิบดี คร.กล่าว

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าว ว่า ที่ผ่านมา กรมอุทยานฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเฝ้าระวังไข้หวัดนก ออกตรวจและเก็บตัวอย่าง นกอพยพ และนกในธรรมชาติทั่วประเทศ รวมทั้งในตัวเมืองอย่างกลุ่มนกนางแอ่น ที่อพยพมาจากประเทศไซบีเรีย และประเทศจีน ยังไม่พบนกที่ติดเชื้อไข้หวัดนกแต่อย่างใด ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าทั่วประเทศรายงานสถานการณ์ที่ผิดปกติเข้ามา ตลอดเวลาเพื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที







ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

เปลี่ยนอย่างละนิด ก็ทำให้สุขภาพดีขึ้นได้

เปลี่ยนอย่างละนิด ก็ทำให้สุขภาพดีขึ้นได้

การลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหาร อาจจะไม่สามารถทำได้ทันทีทันใด แต่หากเปลี่ยนอย่างละนิด ก็ทำให้สุขภาพดีขึ้นได้ง่ายๆ

ถ้าปกติคุณเลือกทาน

1. นมสด หรือนม low fat ลองเปลี่ยนมาเป็น นม 0%fat

2. น้ำอัดลม ลองเปลี่ยนมาเป็น น้ำอัดลมแบบ 0 แคลอรี, น้ำผลไม้, น้ำเปล่า

3. ชอบทานขนมหวาน ลองเปลี่ยนมาเป็น ผลไม้สดที่ไม่หวานมาก

4. นั่งทานอาหารได้นาน ๆ ไปเรื่อย ๆ ลองเปลี่ยนมาเป็น หยุดหรือลุกเมื่อทานอาหารเสร็จ

5. ชอบทานมื้อใหญ่ ๆ ลองเปลี่ยนมาเป็น ใช้จานอาหารที่มีขนาดเล็กลง

6. ชอบทานขนมปังขาวหรือ pasta ลองเปลี่ยนมาเป็น แป้งที่เป็นชนิด ธัญพืช หรือ whole grain

7. ชอบใช้เนยทำอาหาร ลองเปลี่ยนมาเป็น ใช้น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันถั่วเหลือง

8. เป็นคนรีบรับประทานในรถ ลองเปลี่ยนมาเป็น ผลไม้ที่เตรียมไว้ หรือ cereal bar ไว้ในรถ

9. ชอบทานเนื้อแดง ลองเปลี่ยนมาเป็นเลือกเนื้อชนิดที่ไม่ติดมันหรือมันน้อย ๆ

10. ชอบของว่างเป็นมันฝรั่งทอด ลองเปลี่ยนมาเป็น ให้มีผลไม้หรือผักติดตู้เย็นไว้ตลอด

11. ไม่ค่อยได้ทานอาหารเช้า ลองเปลี่ยนมาเป็น ให้มีอาหารเช้าสุขภาพทุก ๆ เช้า

12. ชอบทานอาหารทอด ลองเปลี่ยนมาเป็น เลือกอาหารอบ นึ่ง ย่าง แทนการทอด







ที่มา :Dr.carebear www.facebook.com/drcarebear

ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด ไม่ผ่าได้หรือไม่

ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด ไม่ผ่าได้หรือไม่

การผ่าตัดฟันคุดมีจุดประสงค์หลายประการ ได้แก่
1. เพื่อป้องกันอาการปวด เพราะตัวฟันคุดเองมีแรงผลักเพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกันหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร อาการปวดมีตั้งแต่ทนได้จนกระทั่งปวดมาก ในบางครั้งอาจมีอาการปวดแบบส่งต่อหลังจากตำแหน่งฟันคุดไปยังบริเวณอื่นของใบ หน้า เช่น ปวดหน้าหู ปวดตา ปวดศีรษะ เป็นต้น
2. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
3. เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
4. เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่ พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป
5. เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันคุดที่ทิ้งไว้นาน เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด อาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบ ๆ บริเวณนั้น หากไม่เคยได้รับการตรวจฟัน มักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียงหรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ซึ่งถ้าพบและรีบทำการผ่าตัดออกได้เร็ว การสูญเสียอวัยวะ ขากรรไกรก็น้อย ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่ถ้าถุงน้ำหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากๆ ก็อาจต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปใบหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น
6. เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
7. วัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น ในการจัดฟัน มักต้องถอนฟันกรามซี่ที่สาม ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่น ๆ และแรงดันของฟันคุด ยังมากพอที่จะผลักให้ฟันข้างเคียงรับแรงกระทบต่อๆ กันไปจนฟันบิดซ้อนเกได้ ในการจัดฟันทันตแพทย์จึงมักแนะนำให้ถอนฟันคุดออกก่อนใส่เครื่องมือ
จะเห็นได้ว่าการเก็บฟันคุดไม่มีผลดีเลย ถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เกิดอันตรายกับสุขภาพปากของคนเราหลายด้าน จึงควรผ่าเอาออก... ผลดีมีมากกว่าจริงๆ ค่ะ



ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามดารา

ว่านตีนตะขาบ-ตะขาบบิน มีฤทธิ์ถอนพิษตะขาบ

ตีนตะขาบและตะขาบบิน เป็นไม้คนละชนิดกัน บางแห่งก็เรียกชื่อเหมือนๆกัน แต่ลักษณะของลำต้นแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ยังมีความคล้ายคลึงตะขาบเหมือนกันทั้งสองต้น เป็นพืชในวงศ์ POLYGONACEAE เหมือนกัน

ว่านตีนตะขาบ-ตะขาบบิน มีฤทธิ์ถอนพิษตะขาบ

ตัวตีนตะขาบนั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Muchlenbeckia platyclada Meissn. ชาวบ้านเรียก ว่านตะขาบว่านตะเข็บ ตะขาบปีนกล้วย เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ลำต้นสีเขียวเป็นปล้องๆ เมื่อต้นสูงจะมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยยาวใบออกตรงข้ามกันเป็นปลีก 2ข้างจากโคนไปถึงยอด มองคล้ายตะขาบ ใบมีสีเขียวเข้มนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางตามบ้านเรือนทั่วไป เพราะรูปร่างของต้นเวลาโตแล้วสวยดี แต่รู้จักสรรพคุณและการใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย

หมอพื้นบ้านจะนำไปใช้ในการรักษาพิษจากพวกตะขาบกัด โดยนำใบมาบดผสมกับน้ำมะนาว หรือนำยางสดไปพอกบริเวณที่โดนกัดหรือต่อย

ในตำราสมุนไพรกล่าวว่า ทั้งต้น รสเฝื่อนเมา แก้พิษตะขาบ แก้พิษแมงป่อง แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ

สำหรับตะขาบบิน ใช้ถอนพิษแมงป่อง แก้ตะขาบกัด แก้ฟกช้ำบวม ได้อย่างดีเช่นกัน ชาวบ้านทั่วไปเรียกตะขาบหิน ตะขาบปีนกล้วย ผักเปลว ตะขาบทะยาน แถบภาคเหนือจะเรียกว่านตะขาบ หรือว่านตะเข็บ จึงมักทำให้คนต่างถิ่นไปสับสนกับต้นว่านตีนตะขาบ ในภาษาจีนเรียกชื่อแงกังเช่า

ตะขาบบินเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงสูง 1-2เมตร ลำต้นแบนเป็นข้อๆ สีเขียว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ต้นแก่โคนต้นเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนสีเขียว แบนเรียบ ใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้น มีใบน้อย หรือไม่มีเลย ใบเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบและท้องใบเรียบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบอ่อนนิ่ม ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เป็นกระจุกเล็กๆ ที่บริเวณข้อ

สรรพคุณทางยา ระบุว่าทั้งต้น รสหวานสุขุม แก้ร้อนใน ดับพิษต่างๆ  พิษเลือด พิษร้อน พิษฝี แก้ฝีในปอด แก้เจ็บคอ เจ็บอก ใช้ภายนอกระงับปวด แก้เจ็บตามผิวหนัง แก้ผื่นคันแก้น้ำเหลืองเสีย แก้ฝีตะมอย แก้งูสวัด

การนำใช้ประโยชน์ของชาวบ้านจะใช้ต้นและใบสด ตำผสมเหล้า หรือกับน้ำซาวข้าว คั้นเอาน้ำใช้ทา ส่วนกากใช้พอก ถอนพิษแมงป่อง และตะขาบกัดต่อยและแก้ฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอก หรือใช้ส่วนต้นและใบตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา ทาแก้เคล็ดขัดยอก

ไม้ทั้งสองชนิดนี้สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ ขึ้นง่าย เลี้ยงง่าย ปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับ ตามต่างจังหวัดที่มีภูมิอากาศชื้น หรือมีพวกตะขาบชุก จะนิยมปลูกริมรั้วเป็นทั้งไม้ประดับและใช้ประโยชน์ได้ด้วย


ที่มา:หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks