น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

อย่างไรถึงเรียกว่า…โรคซึมเศร้า

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความซึมเศร้าเป็นเรื่องที่เกิด ขึ้นได้เป็นธรรมดากับทุกคน เมื่อชีวิตประสบพบกับความผิดหวัง ความล้มเหลว ความไม่ได้ดั่งใจ ต้องเจอในสิ่งที่ไม่อยากเจอ หรือพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้นได้..

อย่างไรถึงเรียกว่า…โรคซึมเศร้า

การแยกแยะว่า ความซึมเศร้านั้นเป็นเพียงแค่ภาวะอารมณ์ซึมเศร้า หรือความซึมเศร้านั้นได้กลายเป็นโรคซึมเศร้าไปแล้ว จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะส่งผลกระทบต่อชีวิตต่างกันมากมาย ดังเช่น

ภาวะอารมณ์ซึมเศร้า เป็นปฏิกิริยาทางใจ เมื่อมีเหตุไม่สมหวังมากระทบ ใจจะหวั่นไหว ผิดหวัง เจ็บปวด รู้สึกซึมเศร้า พอเหตุนั้นหมดไปหรือเริ่มปรับตัวได้ ใจก็เข้าสู่ภาวะอารมณ์ปกติ ความซึมเศร้าก็จะค่อย ๆ ลดลงไป ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าแบบนี้มักอยู่ไม่นาน และไม่ได้เป็นต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับเหตุที่มากระทบ

ส่วนโรคซึมเศร้า เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่งคือ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีความผิดปกติที่มีอารมณ์ซึมเศร้านานต่อเนื่อง ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเศร้าอย่างมากจนไม่มีความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยทำให้กลับมามีความสุขสดชื่นเหมือนเดิม เบื่อหน่ายไปในทุก ๆ สิ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรืออยากนอนทั้งวัน ไม่อยากทำอะไร รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง มองตัวเองไม่ดี และอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น

ดังนั้น การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นเป็นคนอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา เอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา แต่ที่เขาเป็นนั้นเป็นเพราะตัวโรค หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โรคก็จะทุเลาลง และจะกลับมาเป็นผู้ที่มีจิตใจแจ่มใส พร้อมทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ดังเดิม ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงโดยหลักจะเป็นในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมร่วมกับอาการทางร่างกายต่าง ๆ

การเปลี่ยนแปลงในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจแบ่งได้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือน ๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่มากระทบ มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด บุคลิกเดิมของเจ้าตัวเป็นอย่างไร มีการช่วยเหลือจากคนรอบข้างมากน้อยแค่ไหน และผู้ที่เป็นอาจไม่มีอาการ ตามดังกล่าวไปทั้งหมด แต่อย่างน้อยอาการหลัก ๆ จะมี คล้าย ๆ กัน เช่น รู้สึกเบื่อ เศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า นอนหลับไม่ดี

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป ที่พบบ่อยคือจะกลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจน แต่จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส ไม่สดชื่นเหมือนเดิม บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เดิมตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำหรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน บางคนกังวลง่ายขึ้น เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เก็บมาครุ่นคิดกังวลไปหมด

2. ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป ส่วนใหญ่จะรู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงหลายกิโลกรัมภายใน 1 เดือน หรือบางคนกลับกันกลายเป็นเจริญอาหารมากผิดปกติ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการท้องผูก อืด แน่นท้องได้

3. การนอนเปลี่ยนแปลงไป ส่วนใหญ่มักนอนไม่หลับ หลับยากขึ้น หลับ ๆ ตื่น ๆ

4. มีอาการทางกายต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง ไม่อยากทำอะไร เชื่องช้าหรือในบางรายอาจลุกลี้ลุกลน กระวนกระวายมากขึ้น บางรายมีปากคอแห้ง มีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัวมากขึ้น

5. ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป มองอะไรก็รู้สึกแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีตก็เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ชีวิตตอนนี้ก็รู้สึกว่าอะไร ๆ ก็ดูแย่ไปหมด ไม่มีใครช่วยอะไรได้ ไม่เห็นทางออก กลายเป็นคนไม่มั่นใจในตนเอง รู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น ทั้งที่ญาติหรือเพื่อนก็ยืนยันว่ายินดีช่วยเหลือเขาไม่เป็นภาระอะไรแต่ก็ยัง คงคิดเช่นนั้นอยู่

6. มีความคิดเกี่ยวกับเรื่องฆ่าตัวตาย จากความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า รู้สึกคับข้องใจ ทรมานจิตใจเหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อยครั้ง เมื่ออารมณ์เศร้าหรือความ รู้สึกหมดหวังมีมากขึ้น ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจก็อาจเกิดการทำร้ายตนเองขึ้น ได้จากอารมณ์ชั่ววูบ

7. สมาธิความจำแย่ลง หลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี

8. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม

9. การงานแย่ลง ความรับผิดชอบต่อการงานก็ลดลง อาจทำงานแบบลวก ๆ เพียงให้ผ่าน ๆ ไป คนที่ทำงานสำนักงานก็จะทำงานที่ละเอียดไม่ได้เพราะสมาธิไม่มี ในช่วงแรก ๆ ผู้ที่เป็นอาจจะพอฝืนใจตัวเองให้ทำได้ แต่พอเป็นมาก ๆ ขึ้นก็จะหมดพลังที่จะต่อสู้ เริ่มลางานขาดงานบ่อย ๆ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้าใจหรือให้การช่วยเหลือ ก็มักจะถูกให้ออกจากงาน

10. อาการโรคจิตจะพบในรายที่เป็นรุนแรง ซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว จะยังพบว่ามีอาการของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อยได้แก่ เชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการทางจิตก็จะทุเลา

ปัจจัยที่สำคัญของการเกิดโรคซึมเศร้าเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ กรรมพันธุ์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่มี อาการเป็นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง, สารเคมีในสมอง พบว่า ระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่าง ชัดเจน โดยมีสารที่สำคัญได้แก่ ซีโรโทนิน และนอร์เอพิเนฟริน ลดต่ำลง รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของเซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้ ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง

ยาแก้เศร้าที่ใช้กันนั้นก็ออกฤทธิ์ โดยการไปปรับสมดุลของระบบสารเคมีเหล่านี้, บาง คนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง หรือมองโลกในแง่ร้าย บุคคลเหล่านี้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูกทอดทิ้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย หากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม







ที่มา: เว็บไซต์ความรู้สุขภาพจิตและปัญหาสุขภาพจิต

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks