น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

โภชนาการสงฆ์ไทยจะใกล้หรือไกลโรค...อยู่ในมือคุณ

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555


โภชนาการสงฆ์ไทยจะใกล้หรือไกลโรค...อยู่ในมือคุณ

ความอ้วนและโรคร้ายไม่เคยปราณีใคร แม้กระทั่งผู้ทำนุบำรุงและเผยแพร่ศาสนา อย่าง “พระสงฆ์” หลายคนอาจสงสัยว่า “ทำไมในเมื่อพระท่านฉันอาหารเพียง 2 มื้อ” แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาหารที่เหล่าพุทธศาสนิกชนนำมาถวายนั้นอาจเต็มไปด้วยของมัน หวานและอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้อย่างไม่ตั้งใจ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงน้ำปานะที่ฉันเข้าไปด้วย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นตัวการของโรคร้ายที่เกิดขึ้นแก่พระสงฆ์ทั้งสิ้น
โดย ดร.พินิจ ลาภธนานนท์ นักวิจัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีทั้ง 4 มิติ ทั้ง กาย ใจ สังคมและปัญญาของพระภิกษุสิงฆ์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จากการสัมภาษณ์พระสงฆ์จำนวน 246 รูป ใน 11 จังหวัดทั่วประเทศ ที่ครอบคลุมทั้งเขตเมืองขนาดใหญ่ กลาง และชนบท ปี 2554 พบว่า ในมิติของสุขภาวะทางกาย พระสงฆ์มีพฤติกรรมเสี่ยงหลักอยู่หลายประการทั้งสาเหตุหลักจากการฉันอาหารที่ ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกิดโรคอ้วนถึง 45.1 % อีกทั้งยังพบพระสงฆ์ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ กระเพราะอาหารและลำไส้ ความดันโลหิตสูง โรคทางตา เบาหวาน โรคข้อกระดูกอีกด้วย และอีกโรคสำคัญ คือมะเร็ง เพราะยังคงพบพระสงฆ์สูบบุหรี่ถึง 43.1 % และสูบเฉลี่ยถึงวันละ 11 มวน อีกด้วย ในมิติสุขภาวะทางจิต พบพระสงฆ์ที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับจากภาวะเครียดและวิตกกังวลเรื่อง เรียน ครอบครัว ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง โดยค่าเฉลี่ยการนอนของพระสงฆ์ส่วนใหญ่ต่อวันอยู่ที่ 8 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเพียงพอ ยกเว้นกลุ่มพระสังฆาธิการและพระบัณฑิตที่มีปัญหานอนไม่พอเนื่องจากกิจวัตร มาก ทำให้พระกลุ่มนี้เกิดปัญหาเรื่องความเครียดได้ง่าย
ในส่วนของการออกกำลังกายของพระสงฆ์นั้น ไม่สามารถทำได้อย่างประชาชนทั่วไป จึงใช้ตามสมณเพศของสงฆ์ เช่น ออกบิณฑบาต เดินจงกรม กวาดลานวัด ทำความสะอาดศาสนสถาน โดยพระสงฆ์ออกกำลังกายเป็นประจำถึง 43.9 % ออกนานๆ ครั้ง 28.9 % และ 14.6 % ไม่ได้ออกกำลังกายเลย ส่วนในมิติด้านสังคมพระสงฆ์ถือว่าก็มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับที่ดีกับชุมชนและวัดอื่นๆ ใกล้เคียงสุดท้ายมิติด้านปัญญา พระสงฆ์ถือเป็นผู้ที่เข้าใจปัญหาและจัดการอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
ขณะที่ รศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า  จากการวิจัยโครงการจัดการและแก้ไขปัญหาด้านอาหารและโภชนาการของพระภิกษุ สามเณร ที่นำไปสู่การป้องกันและแก้ไขการเกิดโรคเรื้อรังและการมีสุขภาวะที่ยั่งยืน โดยสัมภาษณ์เจาะลึกพระสงฆ์ 29 รูป จาก 4 วัดในชุมชนเมือง รวมถึงฆราวาสที่ใส่บาตร เพื่อศึกษาความปลอดภัยของอาหารและน้ำดื่ม พบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะพระสงฆ์สูงวัย เช่น น้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เนื่องจากอาหารที่บรรจุถุงพลาสติกจากการออกบิณฑบาตนั้นเน้นหนักแต่แป้ง คาร์โบไฮเดรต มีปริมาณโปรตีนค่อนข้างน้อย และไม่สะอาดพอ เพราะพบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มเกือบ 50% ของตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งบ่งชี้ว่าการปรุงอาหารที่จำหน่ายยังมีการดูแลไม่เป็นไปตามหลักสุขาภิบาล อาหาร และที่น่าเป็นห่วงอีกอย่าง คือ เรื่องของน้ำปานะ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มหลังเพลนั้น สมัยนี้พระสงฆ์ฉันเครื่องดื่มหลากหลายคล้ายที่ประชาชนบริโภค หากฉันในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เนื่องจากมีน้ำตาลสูงและฉันแล้วไม่ค่อยรู้สึกอิ่มเหมือนอาหารอาจทำให้มีการ เพิ่มปริมาณการฉัน ทางที่ดีไม่ควรฉันเกินวันละ 300 แคลอรี หรือเท่ากับ นม 2 กล่อง
"ตามลักษณะการฉันของพระสงฆ์แล้ว จะฉัน 2 มื้อ เช้าและเพล ซึ่งอาหารส่วนใหญ่ที่ได้รับจากการบิณฑบาตก็จะซ้ำ ทำให้จำเป็นต้องฉันอาหารที่ซ้ำๆ เช่น แกงกะทิ ผัดผัก ของทอด ซึ่งเป็นลักษณะอาหารที่มีน้ำมันจำนวนมากก่อให้เกิดโรค และยิ่งไปว่านั้น ยังพบว่าอาหารบางอย่างเกิดการเน่าเสียเมื่อนำมาฉัน ทำให้เกิดการท้องร่วงได้ง่าย” รศ.ดร.ภญ.จงจิตร กล่าว
รศ.ดร.ภญ.จงจิตร กล่าวต่อว่า งานวิจัยนี้สะท้อนชัดว่าพระสงฆ์ในชุมชนเมืองเสี่ยงต่อภาวะโภชนาการเกิน จำเป็น ต้องให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้กำลังผลิตสื่อ 3 กลุ่ม เพื่อแพร่ความรู้อย่างครอบคลุม ได้แก่ 1.องค์ความรู้สำหรับพระสงฆ์ อาทิ คู่มือสูตรสงฆ์ไทยไกลโรค วีดิทัศน์สงฆ์ไทยไกลโรค ปฏิทินสุขเริ่มเมื่อเพิ่มก้าว โปรแกรมปานะปัญญา หรือ iPaana และประคดเอวรอบรู้ 2.องค์ความรู้สำหรับฆราวาส อาทิ คู่มือใส่ใจใส่บาตร และ 3.องค์ความรู้สำหรับผู้ค้าอาหารใส่บาตร อาทิ คู่มือจากครัวสู่บาตร เพื่อเป็นแนวทางดูแลโภชนาการพระสงฆ์ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
สุดท้าย ดร.พระมหาสุทิตย์ อาภากโร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพระพุทธศาสตร์ มจร. กล่าวว่า ปกติจะมีประชาชนนำอาหารไปทำบุญกันในวันพระใหญ่กันมาก เพราะเชื่อว่าการทำบุญในวันนี้จะได้รับอานิสงส์มากทั้งต่อตนเองและผู้ล่วง ลับ โดยนิยมนำอาหารที่เป็นสิริมงคล หรือที่ตนเองและผู้ล่วงลับชอบไปถวายพระสงฆ์ ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของกะทิและน้ำตาล อาทิ แกงกะทิ ขนมทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดโรคตามมาได้ ทั้งนี้ การตักบาตรทำบุญที่จะได้อานิสงส์สูงสุดไม่ได้อยู่ที่ชื่อหรือประเภทอาหาร แค่เป็นอาหารที่สะอาด ปลอดภัย รสไม่จัดก็พอ สิ่งสำคัญคือต้องทำด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ก็เพียงพอแล้ว
หากไม่อยากให้การทำบุญเปลี่ยนเป็นบาป มาร่วมกันดูแลใส่ใจสุขภาวะพระสงฆ์ด้วยการถวายอาหารที่สด สะอาด ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ “สงฆ์ไทย....ไกลโรค” นะคะ


เรื่องโดย : ณัฏฐ์ ตุ้มภู่ Team content www.thaihealth.or.th

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks