น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

เห็ดหอมแห้งของดีที่ต้องระวัง

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เห็ดหอมแห้งของดีที่ต้องระวัง
เห็ดหอมถือเป็นอาหารที่หลายๆ คนยกย่องว่าเป็นอาหารชั้นเลิศ เพราะเชื่อกันว่ามีสรรพคุณทางยา ทานแล้วให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อสุขภาพ แต่ก็มีบางคนที่กลัวว่าเห็ดหอมแห้งที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไปดูไม่ค่อย ปลอดภัย เพราะการเก็บรักษาดูไม่ค่อยสะอาด แถมที่สำคัญยังมีราคาสูงอีกต่างหาก
โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค และนิตยสารฉลาดซื้อ ได้ร่วมกันลงมือสุ่มเก็บตัวอย่าง เห็ดหอมแห้ง ในพื้นที่ดำเนินโครงการทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สตูล และสงขลา รวมจำนวนตัวอย่างเห็ดหอมแห้งทั้งหมด 17 ตัวอย่าง ซึ่งเราจะนำมาทดสอบกันดูว่าเห็ดหอมแห้งที่เราซื้อมาประกอบเมนูซุปหรือเมนู ตุ๋นต่างๆ มีสารปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์แปลกปลอมมาด้วยหรือเปล่า
การทดสอบครั้งนี้เราดูเรื่องการตกค้างของสาร 3 ชนิดด้วยกัน
1.สารตกค้างทางการเกษตรประเภทยากันราหรือคาร์เบนดาซิม (Carbendazim)
2.สารตกค้างทางการเกษตรกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate)
3. การปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin)
ซึ่งจากการทดสอบตัวอย่างเห็ดทั้ง 17 ตัวอย่าง เราพบเห็ดหอมแห้งปนเปื้อนยากันราหรือคาร์เบนดาซิมจำนวน 12 ยี่ห้อ โดยค่าเฉลี่ยของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.33 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนการปนเปื้อนของสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต พบว่ามีการปนเปื้อน 9 ตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.016 มิลลิกรัม/กิโลกรัมซึ่งตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ไม่มีการกำหนดปริมาณของคาร์เบนดาซิมและออร์กาโนฟอสเฟต แต่สารทั้ง 2 ชนิดเป็นสารเคมีทางการเกษตรในกลุ่มกำจัดศัตรูพืช จึงไม่ควรมีตกค้างมาในพืชผักหรืออาหารที่เราทาน 
ส่วนการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซิน มีเห็ดหอมแห้งจำนวน 5 ที่มีการปนเปื้อน โดยปริมารค่าเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 5.42 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 98) พ.ศ.2529 เรื่องมาตรฐานสารปนเปื้อน กำหนดให้มีสารอะฟลาทอกซินได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
นอกจากนี้เรายังทดสอบดูเรื่องความสะอาดในส่วนของเชื้อรา ซึ่งมี 7 ตัวอย่างที่พบเชื้อราสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานกรมวิทย์ฯ ที่กำหนดไว้ที 500 โคโลนี/กรัม ขณะที่อัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,764.3 โคโลนี/กรัม แสดงให้เห็นว่าเห็ดหอมแห้งที่นำมาทดสอบถูกเก็บไว้นาน 
การปนเปื้อนทั้งหมดที่เราทดสอบตัวอย่างเห็ดหอมแห้งในครั้งนี้ โดยภาพรวมยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงนัก ไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายฉับพลันจากการบริโภค แต่หากเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ดูไม่สะอาดและไม่น่าไว้วางใจ ควรเลือกซื้อเห็ดหอมแห้งที่บรรจุเรียบร้อย ปลอดภัย มีการแจ้งวันเดือนปีที่ผลิตวันหมดอายุ และแจ้งผู้ผลิตชัดเจนจะดีกว่า


ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามดารา

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks