น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

ตามไปดูความหมาย Happy Society | PG&P

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ในครั้งที่แล้วผู้เขียนได้เล่าถึง บ้านชะอม อำเภอ แก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของ ชุมชนที่อาจเรียกได้ว่าเป็นชุมชนที่มีความสุขแห่งหนึ่ง ภายใต้การเรียนรู้ที่มีความล้มเหลวเป็นบทเรียน หลายต่อหลายครั้ง จนนำไปสู่ความรู้แจ้งบนพื้นฐานของการยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ทำให้คนทั้งหมู่บ้านสามารถมีอาชีพเดียวกัน คือทำไม้ขุดล้อม (ปลูก จัดหา และขายไม้ยืนต้น ตามความต้องการของลูกค้าที่ต้องการต้นไม้ที่โตทันใจ) โดยแต่ละครอบครัวที่ทำแผงต้นไม้ จะมีการเชื่อมโยง ติดต่อกันตลอด หากลูกค้าต้องการต้นไม้จำนวนมาก หากที่แผงใดแผงหนึ่ง ไม่พอ แต่ละแผงก็จะติดต่อประสานงานแลกเปลี่ยนหรือซื้อต้นไม้กัน
ครอบครัวชาวชะอม นับว่ามีรายได้ต่อครอบครัวสูง แต่ละครอบครัวมีแผงต้นไม้ริมถนน (คนละหลายไร่) โดยแต่ละแผงมีต้นไม้ยืนต้นขนาดต่างๆ ไว้พร้อมขาย โดยไม่ต้องนั่งเฝ้าหน้าร้าน เมื่อลูกค้าเห็นต้นไม้และอยากได้ก็จะติดต่อเบอร์โทรศัพท์ที่เขียนไว้หน้าแผง ไม้เอง
นายธวัชชัย รักษา ผู้ใหญ่บ้านหมู่สิบ ตำบลชะอม เล่าว่า อัตราการว่างงานของชาวชะอมเรียกว่าเป็นศูนย์ รายได้เฉลี่ยต่อคนในแต่ละวันไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท แรงงานที่ทำงานในแต่ละสวนนั้นส่วนใหญ่มาจาก ต่างถิ่น คนในหมู่บ้านต่างเรียนรู้คุณค่าของเวลา ขณะที่เด็กๆ ในหมู่บ้านเลือกที่จะใช้เวลาว่างไปทำงานในสวน เช่น รดน้ำต้นไม้ ใส่ขุยมะพร้าว เพาะต้นกล้า ซึ่งเด็กๆ หลายคนที่ผู้เขียนเจอในหมู่บ้าน เล่าว่า เสาร์-อาทิตย์ พวกเขาจะตามพ่อแม่มาทำงานในสวน ได้ค่าจ้าง อย่างน้อยหนึ่งร้อยบาท และเริ่มมีเงินเก็บแล้ว 2-3 พันบาท แถมตั้งใจว่าโตขึ้นก็จะทำอาชีพปลูกต้นไม้ด้วย
"วิถีชีวิตของคนที่นี่เป็นไปอย่างเรียบง่าย เหมือนกัน ทุกวัน แต่เช้าทุกคนก็จะออกจากบ้าน มุ่งหน้าไปสวน ไปดูแลแผงไม้ ดูแลพันธุ์ไม้ เพาะต้นกล้า เอาไม้ขึ้นรถ ส่งให้ลูกค้า ตกเย็นประมาณห้าโมงก็ปิดแผง กลับไป ทำกับข้าวอยู่กับครอบครัว สองทุ่มหากไม่มีอะไรก็นอน ส่วนผู้ชายก็ ล้อมวงนั่งคุย นั่งกินข้าวกัน ไม่ค่อยมีความเครียด ส่วนใหญ่มีรายได้ดี บางรายขายต้นไม้ได้วันละหลายหมื่น ตอนนี้ใครเดินเข้ามาในหมู่บ้านจะเห็นบ้านใหม่ๆ หลายคนก็เอาเงินไปซื้อรถไว้ใช้งานในสวนเพิ่ม"
 ขณะที่ ลุงสายบัว พาศักดิ์ ผู้บุกเบิกอาชีพ ไม้ขุดล้อมให้ชาวชะอม เล่า ถึงวิถีชีวิตและการเกื้อกูลระหว่างคนในหมู่บ้านว่า "ได้มาก็เอามาแบ่งปันกันไป ใครมีไม้อะไรจะส่ง ก็จัดกันมา คนเราต้องคิดไกล ใจกว้าง เราต้องรักใคร่สามัคคีกันไว้ เมื่อเราทุกคน ช่วยเหลือกัน แบ่งปันกัน เราก็อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ส่วนใครที่รู้มากเอาเปรียบชุมชน เราก็จะทำบัญชีดำไว้ คือ ลุงจะพูดตลอดว่า ทุกคนต้องไม่เอาเปรียบกัน เรารวยคนเดียวไม่ได้ ใครที่รวยคนเดียวจะถูกปล้น"  สังคมของบ้านชะอมที่เรียกว่าเป็นสังคมที่มีความสุขนั้น สิ่งที่เห็นได้ชัด นอกจากใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ของผู้คนในหมู่บ้านที่เกิดจากการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ความสามัคคีที่ยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นอีกส่วนสำคัญก็คือ บรรยากาศ ของความอบอุ่นในครอบครัว ซึ่งสมัยเมื่อยี่สิบปีก่อน เมื่อครั้งยังเต็มไปด้วยหนี้สิน หนุ่มสาวแต่ละบ้าน ต้องทิ้งบ้านไปทำงานต่างเมือง แต่วันนี้ หลังจากทุกพื้นที่ของตำบลชะอม เต็มไปด้วยต้นไม้ ที่สามารถแปรมาเป็น รายได้ทุกต้น ตั้งแต่ต้นละสิบบาทจนถึงต้นละกว่า แสนบาท คนหนุ่มคนสาว ที่ไปเรียนหนังสือต่อ ที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มหันกลับมาอยู่กับพ่อแม่ ดังคำบอกเล่าของสายสมร พาศักดิ์ ลูกคนกลางของลุงบัว ซึ่งทำงานเป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน กินเงินเดือนๆ ละ กว่า 20,000 บาท ได้ลาออกจากงานกลับมาใช้ความรู้ที่เรียนมาช่วยพ่อแม่ดูแลและขยายกิจการผ่าน อินเทอร์เน็ต และคอยทำหน้าที่ต้อนรับกลุ่มนักศึกษาที่ขอเข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตไม้ขุด ล้อม ภายใต้เงินเดือนที่ได้รับจากพ่อแม่เดือนละสองพันบาท
"ตอนทำงานเป็นลูกจ้างเขา ต้องทำวันละมากกว่า 8 ชั่วโมง บางทีก็ต้องเอางานกลับมาทำที่บ้านด้วย กว่าจะนอนก็ตี 2 ตี 3 ทำให้เป็นโรคภูมิแพ้  นั่งหน้าคอมพ์ ทั้งวันจนเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม แต่พอกลับมาช่วยพ่อกับแม่ขายต้นไม้ ได้พักผ่อนเต็มที่ ไม่เครียด ร่างกายก็กลับมาแข็งแรงดี ตอนนี้เพื่อนๆ หลายคนก็เริ่มกลับมาอยู่ที่หมู่บ้าน...คือรู้สึกว่าอยู่บ้านเรา ใกล้พ่อ ใกล้แม่ อบอุ่นดี"
 เมื่อหน่วยเล็กๆ ของสังคมซึ่งเป็นฐานที่ใหญ่ของสังคมมีความสุข...ความสุขของสังคมก็ตามมา จึงเข้าใจแล้วว่า ทำไม ใน Happy 8 ของ สสส. จึงมี คำว่า Happy Family รวมอยู่ด้วย
"ใครที่รู้มากเอาเปรียบชุมชน เราก็จะทำบัญชีดำไว้คือ ลุงจะพูดตลอดว่าทุกคนต้องไม่เอาเปรียบกัน เรารวยคนเดียวไม่ได้ ใครที่รวยคนเดียวจะถูกปล้น"


ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks