พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ หัวหน้าหน่วยพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการพัฒนาไอคิวของเด็กในยุคปัจจุบันว่า เด็กจะมีไอคิวสูงหรือต่ำ ถูกกำหนดโดยปัจจัยหลัก 2 ประการ คือพันธุกรรม และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู ถ้าพ่อแม่ฉลาดลูกก็จะฉลาด ถ้าพ่อแม่ไม่ฉลาด ลูกก็มีแนวโน้ม จะไม่ฉลาดตามไปด้วย แต่การจัดสภาพแวดล้อมและส่งเสริมพัฒนาการตามวัยอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ลูก พัฒนาและมีความสามารถดีกว่าพ่อแม่ได้ มีผลงานวิจัยออกมาแล้วว่า การส่งเสริมพัฒนาการโดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ตามวัยของ เด็กตั้งแต่เล็กๆ สามารถเพิ่มระดับไอคิวลูกได้ถึง 20-30 คะแนน ในทางตรงข้าม ถึงแม้พ่อแม่ฉลาด แต่ลูกถูกเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ก็จะส่งผลให้สมองไม่พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและมีผลต่อระดับไอคิวได้
ดังนั้น พ่อแม่ยุคดิจิตอลจึงต้องรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อส่งเสริม พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในแต่ละช่วงวัย สิ่งสำคัญคือ 1.การเลือกใช้สื่อที่ช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์จริง จะช่วยให้เรียนรู้ในหลายมิติมากกว่า เช่น การให้ลูกรู้จักผลไม้โดยดูจากรูปหรือบัตรคำ จะสู้การหยิบผลไม้มาให้ดู ถือ ดม กัด ชิม ลิ้มรสไม่ได้ เพราะลูกได้เรียนรู้โดยตรงผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.กำหนดเวลาในการรับสื่อหรือการใช้เทคโนโลยีของเด็ก ซึ่งหากเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบก็ยังไม่ควรให้ดูโทรทัศน์ รวมถึงการใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ต่างๆ ด้วย เพราะการที่เด็กติดการใช้เทคโนโลยีจะทำให้ขาดการสื่อสารสองทาง ไม่ได้ฝึกทักษะการใช้ภาษา ซึ่งมีผลกับระดับสติปัญญา ส่วนในเด็กโตต้องกำหนดเวลาให้เหมาะสมคือ ไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง
ดร.พัฒนา ชัชพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการเด็กเล็ก กล่าว่า การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน โดยอนุญาตให้เด็กได้มีโอกาสทดลองใช้ตั้งแต่ยังเล็ก สำหรับประเทศไทยเอง ก็ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์รูปแบบใหม่ เพราะหากจัดสรรการใช้เทคโนโลยีให้ดี ก็จะถือเป็นสิ่งที่มีคุณอนันต์ อยากให้มองว่าเทคโนโลยีใหม่ดๆ เป็นของเล่นชิ้นหนึ่งที่ต้องเลือกว่าจะเล่นอย่างไรให้เกิดประโยชน์ อย่าปล่อยให้เทคโนโลยีเป็นผู้กระทำฝ่ายเดียว บุคคลในวงการศึกษาอย่างคุณครูเอง
ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น