น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

เรื่องของน้ำตา | PG&P

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

น้ำตาธรรมชาติ ผลิตจากต่อมน้ำตาของคนเรา มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง คือ 1.ให้ความชุ่มชื้นแก่ กระจกตาและเยื่อบุตา 2.ปรับสภาพของกระจกตาให้มีความเรียบ เพื่อให้แสงผ่านได้สะดวกการมองเห็นชัดเจน 3.ให้สารอาหารและออกซิเจน รวมทั้งขจัดของเสียออกจากกระจกตา 4.มีสารอย่างอ่อนป้องกันการติดเชื้อของกระจกตา

เรื่องของน้ำตา

น้ำตาธรรมชาติมีความสำคัญมาก เมื่อตาของคนเราเกิดจุดแห้งขึ้นจากการที่น้ำตาธรรมชาติบนกระจกตาหรือเยื่อบุตาระเหยไป ระบบอัตโนมัติในร่างกายเราจะสั่งการให้เกิดการกะพริบตา การกะพริบตาเป็นการกระจายน้ำตาธรรมชาติให้กระจายไปทั่วกระจกตาและเยื่อบุตา เราจึงรู้สึกสบายตา เมื่อร่างกายผลิตน้ำตาธรรมชาติที่ใช้ในการหล่อลื่นกระจกตาและเยื่อบุตาไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการตาแห้ง ตาแดง ระคายเคืองตา แสบตา ตาพร่า ตาสู้แสงไม่ได้หากท่านมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

น้ำตาเทียมเป็นสารที่ผลิตขึ้นเพื่อทดแทนน้ำตาธรรมชาติในผู้ที่ผลิตน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ หรือมี ภาวะตาแห้ง ใช้หล่อลื่นและให้ความชุ่มชื่นแก่กระจกตา ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการเคืองตา หรืออาการรู้สึกไม่สบายตา เนื่องจากตาโดนลมและแสง

น้ำตาเทียมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ น้ำตาเทียมชนิดที่มีสารกันเสีย สารกันเสีย ช่วยให้น้ำตาเทียมคงสภาพอยู่ได้นาน และป้องกันการเติบโตของเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนเข้าไปขณะหยอด หลังจากเปิดขวดใช้งานแล้ว สามารถเก็บได้นาน 1 เดือน และสามารถใช้ได้ไม่เกินวันละ 5 ครั้ง

น้ำตาเทียมชนิดไม่มีสารกันเสียน้ำตาเทียมชนิดไม่มีสารกันเสีย มีลักษณะเป็นหลอดขนาดเล็กๆ ใช้หยอดในแต่ละวันแล้วทิ้งไปเลย มักให้ความรู้สึกสบายตากว่า เนื่องจากไม่มีสารกันเชื้อแบคทีเรียผสมอยู่จึงต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง สามารถใช้ได้บ่อยทุก 2 ชั่วโมง ข้อดีคือผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพ้เลย แต่มักมีราคาสูงกว่าน้ำตาเทียมชนิดแรก

โดยทั่วๆ ไปน้ำตาเทียม มีทั้งรูปแบบสารละลาย เจล และขี้ผึ้ง, รูปแบบสารละลาย ให้ความสะดวกในการใช้, รูปแบบเจล หรือขี้ผึ้ง มีคุณสมบัติหล่อลื่นและรักษาความชุ่มชื้นที่ตาได้นานกว่าสารละลาย เมื่อใช้น้ำตาเทียมไม่ว่าจะเป็นชนิดหยอด เจล หรือ ขี้ผึ้ง น้ำตาเทียมจะทำหน้าที่เคลือบอยู่บนผิวกระจกตา และต้องใช้เวลาในการกระจายตัวไปทั่วผิวตา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการตามัวได้ชั่วคราว การที่น้ำตาเทียมทำหน้าที่เคลือบผิวกระจกตาไว้นั้น ก็เพื่อทำให้เกิดการเก็บรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดวงตา ซึ่งจะทำให้รู้สึกสบายตามากขึ้น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ น้ำตาเทียม

ในคนสายตาปกติ จำเป็นต้องใช้น้ำตาเทียมหรือไม่?

ตอบ: น้ำตาเทียมเป็นยาหยอดตาประเภทหนึ่งซึ่งช่วยให้ความชุ่มชื่นกับดวงตาโดยปกติคนเราจะมีการกะพริบตาเฉลี่ยนาทีละ 10 -15 ครั้ง เพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตามาฉาบดวงตา ดังนั้นในคนปกติทั่วๆ ไปที่รู้สึกเคืองตา หรือระคายเคืองตา อาจเกิดจากภาวะที่เรียกว่า ตาแห้ง หรือ Dry eye” การใช้น้ำตาเทียมก็จะช่วยให้รู้สึกสบายตา และลดอาการดังกล่าวได้

ใครบ้างควรใช้น้ำตาเทียม?

เรื่องของน้ำตาตอบ: สำหรับผู้ที่ควรใช้น้ำตาเทียมนอกจากผู้ที่ใช้ตามคำสั่งแพทย์แล้ว ยังมีผู้สูงอายุ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับจอคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาแห้ง เนื่องจากปัญหาการทำงานของต่อมน้ำตาลดลงตามอายุ

ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนจะทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาลดลงกว่าคนปกติทั่วๆ ไป กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กลุ่มนี้อาจเกิดจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้มีการกะพริบตาน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะตาแห้งได้ ในผู้ที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ควรพักสายตาทุกครึ่งชั่วโมง หรือเมื่อรู้สึกแสบตา เคืองตา ควรหลับตาพักสัก 3 -5 วินาที เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว

น้ำตาเทียมใช้ได้บ่อยครั้งแค่ไหน ?

ตอบ: สำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วไป ที่หยอดน้ำตาเทียมเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้น และรู้สึกสบายตา สามารถใช้งานได้โดยเฉลี่ยไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาภาวะตาแห้ง หรือช่วยในการรักษาตาผิดปกติอื่นๆ สามารถใช้ได้บ่อยตามคำสั่งแพทย์ สำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธี แพทย์จะสั่งให้หยอดน้ำตาเทียม เพื่อช่วยรักษาอาการตาแห้งในระยะแรกซึ่งอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วงระยะเวลา 3 - 6 เดือน




ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks