น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

ว่านตีนตะขาบ-ตะขาบบิน มีฤทธิ์ถอนพิษตะขาบ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตีนตะขาบและตะขาบบิน เป็นไม้คนละชนิดกัน บางแห่งก็เรียกชื่อเหมือนๆกัน แต่ลักษณะของลำต้นแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ยังมีความคล้ายคลึงตะขาบเหมือนกันทั้งสองต้น เป็นพืชในวงศ์ POLYGONACEAE เหมือนกัน

ว่านตีนตะขาบ-ตะขาบบิน มีฤทธิ์ถอนพิษตะขาบ

ตัวตีนตะขาบนั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Muchlenbeckia platyclada Meissn. ชาวบ้านเรียก ว่านตะขาบว่านตะเข็บ ตะขาบปีนกล้วย เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ลำต้นสีเขียวเป็นปล้องๆ เมื่อต้นสูงจะมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยยาวใบออกตรงข้ามกันเป็นปลีก 2ข้างจากโคนไปถึงยอด มองคล้ายตะขาบ ใบมีสีเขียวเข้มนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางตามบ้านเรือนทั่วไป เพราะรูปร่างของต้นเวลาโตแล้วสวยดี แต่รู้จักสรรพคุณและการใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย

หมอพื้นบ้านจะนำไปใช้ในการรักษาพิษจากพวกตะขาบกัด โดยนำใบมาบดผสมกับน้ำมะนาว หรือนำยางสดไปพอกบริเวณที่โดนกัดหรือต่อย

ในตำราสมุนไพรกล่าวว่า ทั้งต้น รสเฝื่อนเมา แก้พิษตะขาบ แก้พิษแมงป่อง แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ

สำหรับตะขาบบิน ใช้ถอนพิษแมงป่อง แก้ตะขาบกัด แก้ฟกช้ำบวม ได้อย่างดีเช่นกัน ชาวบ้านทั่วไปเรียกตะขาบหิน ตะขาบปีนกล้วย ผักเปลว ตะขาบทะยาน แถบภาคเหนือจะเรียกว่านตะขาบ หรือว่านตะเข็บ จึงมักทำให้คนต่างถิ่นไปสับสนกับต้นว่านตีนตะขาบ ในภาษาจีนเรียกชื่อแงกังเช่า

ตะขาบบินเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงสูง 1-2เมตร ลำต้นแบนเป็นข้อๆ สีเขียว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ต้นแก่โคนต้นเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนสีเขียว แบนเรียบ ใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้น มีใบน้อย หรือไม่มีเลย ใบเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบและท้องใบเรียบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบอ่อนนิ่ม ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เป็นกระจุกเล็กๆ ที่บริเวณข้อ

สรรพคุณทางยา ระบุว่าทั้งต้น รสหวานสุขุม แก้ร้อนใน ดับพิษต่างๆ  พิษเลือด พิษร้อน พิษฝี แก้ฝีในปอด แก้เจ็บคอ เจ็บอก ใช้ภายนอกระงับปวด แก้เจ็บตามผิวหนัง แก้ผื่นคันแก้น้ำเหลืองเสีย แก้ฝีตะมอย แก้งูสวัด

การนำใช้ประโยชน์ของชาวบ้านจะใช้ต้นและใบสด ตำผสมเหล้า หรือกับน้ำซาวข้าว คั้นเอาน้ำใช้ทา ส่วนกากใช้พอก ถอนพิษแมงป่อง และตะขาบกัดต่อยและแก้ฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอก หรือใช้ส่วนต้นและใบตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา ทาแก้เคล็ดขัดยอก

ไม้ทั้งสองชนิดนี้สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ ขึ้นง่าย เลี้ยงง่าย ปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับ ตามต่างจังหวัดที่มีภูมิอากาศชื้น หรือมีพวกตะขาบชุก จะนิยมปลูกริมรั้วเป็นทั้งไม้ประดับและใช้ประโยชน์ได้ด้วย


ที่มา:หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks