น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

สธ.เตือนฝนนี้แนวโน้มฉี่หนูระบาดหนัก

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หน้าฝนนี้!! ฉี่หนูมีแนวโน้มระบาดหนัก รายงานล่าสุดพบเสียชีวิตแล้ว 27 ราย สธ. เตือนประชาชนต้องรู้จักดูแลตัวเองเพราะโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ในขณะที่ คร.เดินหน้าพาสื่อลงพื้นที่ จ.ชัยนาท ดูความสำเร็จในการควบคุมป้องกันโรคฉี่หนู สามารถลดผู้ป่วยได้มากกว่า 3 เท่าตัวจาก 11 รายในปี 54 พบแค่ 3 รายในปี 55 และมีอัตราตายเป็นศูนย์ ทั้งๆ ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วประเทศ อัตราป่วย-ตายโรคฉี่หนูในปี 55 นี้ มีแนวโน้มสูงขึ้น

สธ.เตือนฝนนี้แนวโน้มฉี่หนูระบาดหนัก

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว ว่า ในช่วงหน้าฝนของทุกๆ ปีมักพบว่ามีโรคระบาดหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะช่วงนี้ที่พบว่าโรคฉี่หนูเริ่มระบาดอย่างหนักในหลายพื้นที่ สถานการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 พบมีผู้ป่วยโรคฉี่หนู 1,779 ราย เสียชีวิตถึง 27 ราย

หากแยกผู้ป่วยโรคฉี่หนูออกเป็นรายภาค พบว่าภาคใต้เป็นภาคที่พบผู้ป่วยมากที่สุดประมาณ 5.96 ต่อแสนประชากร ในขณะที่ภาคอีสานพบ 4.68 ต่อแสนประชากร ภาคเหนือพบ 1.55 ต่อแสนประชากร และภาคกลางพบ 0.30 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยโรคฉี่หนูสูงสุด 5 อันดับแรกคือ ระนอง พังงา พัทลุง สุรินทร์และศรีสะเกษ ผู้ป่วยจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง พบในสัดส่วน 1 : 0.26 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดอยู่ที่ระหว่าง 35-44 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.57 ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 58.5 จะประกอบอาชีพเกษตร เมื่อเปรียบเทียบอัตราการตายระหว่างโรคฉี่หนูกับโรคมือเท้าปากพบว่าโรคฉี่ หนูตายประมาณ 2 คนต่อ 100 คน ในขณะที่โรคมือเท้าปากตายประมาณ 2 คนต่อ 10,000 คน

เนื่องจากโรคฉี่หนูยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หลักสำคัญจึงอยู่ที่ประชาชนต้องรู้จักที่จะดูแลและป้องกันตนเอง เพื่อลดโอกาสสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำขัง โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวน และกลุ่มเสี่ยงที่สุขภาพอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคฉี่หนูได้ง่าย จึงได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูก ต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคฉี่หนู โดยผ่านสื่อช่องทางต่างๆ รวมทั้งการลงพื้นที่ดำเนินแนวทางเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคฉี่หนูทั้งก่อนการระบาดและเมื่อมีการระบาดเกิดขึ้น

ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว ขณะลงพื้นที่จังหวัดชัยนาทนำทีมสื่อมวลชน ศึกษาดูงานควบคุมป้องกันโรคฉี่หนูของชุมชนตำบลหาดอาษาว่า หากจัดอันดับอัตราป่วยโรคฉี่หนูในระดับภาค จะพบว่าภาคกลางเป็นพื้นที่ที่พบอัตราป่วยน้อยที่สุด ขณะนี้ภาพรวมของผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคฉี่หนูในพื้นที่รับผิดชอบของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดสระบุรี มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 11 ราย แบ่งเป็น อ่างทอง 1 ราย,สิงห์บุรี 1 ราย,ลพบุรี 3 ราย,สระบุรี 3 ราย และชัยนาทซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาดูงานในครั้งนี้มีผู้ป่วย 3 ราย และไม่พบผู้เสียชีวิต โดยผู้ป่วยที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาคือกลุ่มอายุ 25-34 ปี และเป็นเพศชายทั้งหมด เดือนที่พบผู้ป่วยคือ เดือน ม.ค.55,มี.ค.55 ,เม.ย.55 เดือนละ 1 ราย

ถึงแม้พื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วประเทศ การระบาดของโรคฉี่หนูมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่กลับพบว่าอัตราผู้ป่วยที่ จ,ชัยนาท ปี 2555 ลดลงจากปี 2554 กว่า 3 เท่าตัว จาก 11 ราย พบแค่ 3 ราย และตั้งแต่ พ.ค.-ส.ค.55 ที่เป็นช่วงของฤดูฝนก็ยังไม่มีผู้ป่วยโรคฉี่หนูอีกเลย ทั้งๆ ที่ปี 2554 ที่ผ่านมา ชัยนาทเป็นจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยโรคฉี่หนูมากเป็นอันดับ 1 ของภาคกลาง แสดงให้เห็นว่ามาตรการป้องกันควบคุมโรคฉี่หนูของจังหวัดชัยนาทสามารถดำเนิน การได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลหาดอาษา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ที่ไม่พบผู้ป่วยโรคฉี่หนูมากว่า 3 ปีแล้ว เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจาก สคร.2 ภายใต้การดูแลของ ดร.นพ.ปรีชา เปรมปรี ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมโรคที่ 2 จ.สระบุรี มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 ในเรื่องของการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์เฉพาะในการป้องกันควบคุมโรคฉี่ หนู โดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานมีการจัดตั้งกลุ่ม เผ้าระวังสุขภาพ ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ มีระบบระบาดวิทยาที่ดี มีการสร้างและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคฉี่หนู แก่ประชาชนในพื้นที่ เน้นที่การควบคุมป้องกันโรคโดยผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ในพื้นที่ เช่น หอกระจายข่าว เสียงตามสาย การประชุม ฯลฯ อย่างสม่ำเสมอ สอดแทรกความรู้เรื่องการป้องกันโรคฉี่หนูทุกครั้งที่มีการประชุมในพื้นที่ เช่น การประชุม อสม. การประชุมชาวบ้าน ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจแก่กลุ่มเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ให้กำจัดหนู โดยเฉพาะหนูพุกใหญ่ที่เป็นพาหะนำโรค ทั้งในบ้านและเรือกสวนไร่นา โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นหลัก เช่น กับดัก บ่วง แร้ว หลุมดัก มีการพัฒนาศักยภาพทีม SRRT ครอบคลุมถึงระดับตำบล ให้อสม.ค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยในระดับหมู่บ้าน เฝ้าระวังเชิงรุกในพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงสูง หรือพื้นที่ที่เคยมีผู้ป่วย โดยอาศัยข้อมูลทางระบาดวิทยาในการพยากรณ์แนวโน้มการระบาดของโรค และประสานความร่วมมือกับ ผู้นำชุมชน อบต. สุขาภิบาล เทศบาล เกษตรตำบลในพื้นที่ เมื่อพบมีการระบาดของโรค ฯลฯ

อย่างไรก็ตามโรคฉี่หนูสามารถป้องกันได้โดย 1.กำจัดหนู 2.สวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ท ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า 3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค 4.หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในที่ที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ 5.หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปล่อยค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด 6.หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำ หรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานานๆ 7.รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่ หรือย่ำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อโรคฉี่หนูหรือหากมีปัญหา หรือต้องการคำแนะนำใดๆ ติดต่อได้ที่สายด่วน โทร.1422 อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวปิดท้าย







ที่มา : กลุ่มเผยแพร่ สำนักงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks