ของผิดกฎหมายที่ว่านี้ไม่ใช่พวกหนังโป๊ ยาเสพติด หรืออะไรเทือกนั้น แต่เป็นสินค้าที่มีสัญลักษณ์ตราบุหรี่ หรือเลียนแบบรูปทรง รูปลักษณ์บุหรี่หรือบรรจุภัณฑ์ของบุหรี่ ล้วนผิดกฎหมายทั้งหมด เพราะถือว่าเป็นการจำหน่ายจ่ายแจก สิ่งของต่างๆ ที่ส่งเสริมบุหรี่ (Cigarette Promoting Items : CPI) ซึ่งผิดกฎหมายตามมาตรา 8 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ ยาสูบ พ.ศ.2535 ที่ระบุว่า ห้ามไม่ให้มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ยาสูบหรือแสดงชื่อเครื่องหมายของผลิตภัณฑ์ยาสูบใน สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้ เป็นการโฆษณาได้ ซึ่งการผลิตสินค้าที่มีตราเหล่านี้เข้าข่าย เป็นสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นการโฆษณาได้ผู้กระทำความผิดจะมีโทษ ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
รศ.ดร.วันเพ็ญ แก้วปาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัยเรื่องสิ่งของที่ ส่งเสริมการขายบุหรี่ สนับสนุนโดยสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากการวิจัยเชิงสำรวจ สิ่งของที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบที่วางจำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554 ที่ร้านค้าหาบเร่แผงลอย ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วไป รวม 15 จุด พบว่า มีการจำหน่ายสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งหมด 9 ชนิด ได้แก่ เสื้อยืด ที่จุดบุหรี่ กล่องใส่บุหรี่ หมวก สติ๊กเกอร์ เสื้อแจ๊กเกต พวงกุญแจ แม็กเนต และ 3D Puzzle โดยสินค้า ที่พบมากที่สุดคือ ที่จุดบุหรี่ และกล่องใส่บุหรี่
ยี่ห้อที่พบมากที่สุดคือ Marlboro และจากการสอบถามผู้ขายและผู้ซื้อส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นสินค้า ผิดกฎหมาย จึงอยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ ดำเนินการควบคุมปราบปรามอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เด็ก และเยาวชนกลายเป็นนักสูบหน้าใหม่เนื่องจากสินค้าดังกล่าว เหล่านี้ สอดคล้องกับข้อมูลของ นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธาน สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย และประธานรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก 2550- 2551 ที่ออกมายืนยันว่า อัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเยาวชนอายุ 15-18 ปี เพิ่มจาก ร้อยละ 6.44 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 7.62 ในปี 2552 และ กลุ่มอายุ 19-24 ปี เพิ่มจาก ร้อยละ 20.9 ในปี 2547 เป็น ร้อยละ 22.1 ในปี 2552 โดยมีสาเหตุหนึ่งมาจาก การจำหน่าย จ่ายแจกสิ่งของต่างๆ ที่ส่งเสริมบุหรี่
เรื่องนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ร่วมกับ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้วิจัยพบว่า เยาวชนไทยอายุ 13-15 ปี จะมีสิ่งของ ที่ส่งเสริมบุหรี่อยู่ 9% เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศใกล้เคียง แล้วถือว่า ประเทศอื่นมีน้อยกว่า เช่น ศรีลังกา มีประมาณ 5% ขณะที่ผลวิจัยในสหรัฐอเมริกาจากเยาวชนเกรด 6-12 จำนวน 1,265 คน พบว่า 1 ใน 3 ของจำนวนนี้เป็นเจ้าของ สิ่งส่งเสริมบุหรี่ และเมื่อติดตามต่ออีก 2 ปี จะกลายเป็นนักสูบ หน้าใหม่มากกว่าเยาวชนที่ไม่มีสิ่งส่งเสริมบุหรี่ 4.1 เท่า
วิธีในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องเข้าไปกำกับดูแลการซื้อ-ขายสินค้าดังกล่าว และควรต้องเร่งดำเนินการ ส่วนอีก 2 เรื่องคือ 1.การให้ความรู้แก่ผู้ขาย และการปราบปรามด้วยการใช้กฎหมาย เนื่องจากผู้ขายไม่ทราบว่าสินค้าของตนผิดกฎหมาย ราชการ ควรให้ความรู้แก่ผู้ขายเป็นวงกว้าง และ 2.การตรวจตรา และตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร สุดท้ายคือการจับกุม และปรับ ตามความผิด พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 8 ซึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาทหากปล่อยให้มีเปอร์เซ็นต์การครอบครองสินค้าที่มีโลโก้ยี่ห้อบุหรี่ เพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้มีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
รู้เห็นแบบนี้แล้ว ทำให้อดนึกไม่ได้ว่า ในสังคมไทยของเรา มีเรื่องแบบนี้มากมาย แต่ทำไมจึงไม่มีใครใส่ใจที่จะ กำจัดให้มันหมดออกไปจากสังคม เพื่อให้สิ่งปฏิกูลที่มีมากมายในสังคมลดน้อยลงไปบ้าง
ตอนนี้ใครที่มี เวลาทางทีวี. แต่ยังหาคอนเซ็ปต์ของรายการไม่ได้ ลองทำรายการชื่อ "แปลกแต่จริง" แบบนี้ เผยแพร่บ้างก็จะดี
เชื่อเถอะคุณจะได้รับการสรรเสริญว่า เป็นปูชนียบุคคลที่ช่วยชี้ความดีงามให้กับสังคม และยังช่วย เพิ่มความรู้ด้านวิชาการให้กับคนในสังคมอีกด้วย
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า โดย ปานมณี
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น