นิตยสารฉลาดซื้อเผย ครีมหน้าขาวใส่สารปรอทที่ อย.ประกาศรายชื่อออกมาแล้วยังวางขายเกลื่อนในท้องตลาดแนะให้ประชาชนตั้งข้อสังเกตหากผลิตภัณฑ์ใดไม่มี "เลขที่ใบรับแจ้ง" ให้สงสัยว่าอาจไม่ปลอดภัย
นางสาวจุฑามาศ ทรัพย์ประดิษฐ์ นักวิจัยประจำมูลนิธิบูรณะนิเวศ เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 47 ชนิด พบว่ามีผลิต ภัณฑ์ครีมหน้าขาว 10 ชนิดที่มีสารปรอทปนเปื้อนสูงมาก ค่าสูงสุดที่ตรวจพบคือ 99,070 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ในขณะที่สารปรอทเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางหรือต้องมีปริมาณเท่ากับ 0 ppm ตามกฎหมายมาตรฐานความปลอดภัยของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และมาตรฐานการผลิตเครื่องสำอางของกลุ่มประเทศอาเซียน
การสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยังพบว่า ครีมหน้าขาวที่ปนเปื้อนสารปรอททั้งหมดยังแสดงข้อมูลบนฉลากไม่ครบถ้วนตามประกาศของคณะกรรมการเครื่องสำอางภายใต้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรื่องฉลากของเครื่องสำอางพ.ศ.2554 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การไม่ระบุ "เลขที่ใบรับแจ้ง" ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ใดที่ไม่ระบุข้อมูลดังกล่าว ผลิตภัณฑ์นั้นๆ จะไม่ปรากฏรายการอยู่ในฐานข้อมูลการติดตามตรวจสอบของ อย. และไม่ปรากฏในข้อมูลของ อย. ทำให้ยากแก่การติดตามตรวจสอบแหล่งผลิต
สารปรอทเป็นส่วนประกอบที่นิยมลักลอบใช้ในครีมหน้าขาว เนื่องจากมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีในผิวหนัง ทำให้สีผิวจางลง มีพิษ เพราะเป็นโลหะหนัก หากสะสมในร่างกายและได้รับนานๆ แม้ในปริมาณน้อย ก็จะซึมเข้ากระแสเลือด ทำลายตับ ไต และทางเดินปัสสาวะ รวมถึงอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจาง การได้รับสารปรอทในปริมาณสูงจะทำลายระบบประสาทและการทำงานของสมอง สารปรอทยังสามารถถ่ายทอดจากมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ไปยังลูกในครรภ์ได้ด้วย สธ.จึงได้ประกาศให้สารปรอทเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางครั้งแรกเมื่อปี2532 และมีการปรับปรุงกฎหมายล่าสุดเมื่อพ.ศ.2551
ครีมหน้าขาวที่ตรวจพบสารปรอทในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ อย.เคยตรวจพบสารปรอทมาแล้ว และ อย.เคยประกาศให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นเครื่องสำอางที่ทำผิดกฎหมายและมีอันตรายแต่จากการสำรวจครั้งล่าสุดนี้ก็ยังพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำผิดกฎหมายเหล่านี้ยังคงวางจำหน่ายในท้องตลาดต่อไป ซึ่งได้แก่ ครีม FC น้ำนมข้าว (พบสารปรอทสูง 99,070 ppm) ไวท์โรส ครีมรกแกะ (51,600 ppm) เหมยหยง ครีมสมุนไพรสาหร่าย (41,770 ppm) เบสท์ บิวตี้ (34,430 ppm) เพิร์ล ครีมหน้าเด้ง (13,800 ppm) มาดาม ออร์แกนิค ไข่มุก (3,435 ppm) และเบบี้เฟซ ครีมหน้าขาว (81.14 ppm) นอกจากนี้ การสุ่มตัวอย่างยังพบครีมหน้าขาวปนเปื้อนสารปรอทอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ปรากฏในรายการเครื่องสำอางอันตรายของ อย. ได้แก่ ครีมยี่ห้อไบโอคอลลาเจน (47,960 ppm) เนเจอร์ (7,300 ppm) และครีมบำรุงมะหาด (63.53 ppm)
ส่วนนางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้ากองบรรณาธิการ นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวเน้นเรื่องเลขที่จดแจ้งของเครื่องสำอางพร้อมย้ำว่า เครื่องสำอางไม่ต้องมีอย. ที่ต้องมีคือเลขที่จดแจ้ง ซึ่งประชาชนควรทำความเข้าใจกันใหม่ว่า แม้จะมีเลข อย.ก็ไม่ได้แปลว่าปลอดภัย เพราะ อย.แค่รับแจ้ง โดยดูจากเอกสาร ไม่ได้มีการตรวจวิเคราะห์ แต่การมีเลขเป็นการแสดงเจตนา บอกให้ อย.ได้รู้แหล่งผลิตและตัวตนของผู้ผลิตเท่านั้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น