สัปดาห์ที่แล้วผมไปร่วมอภิปรายหัวข้อ "พัฒนาการเด็กไทย ก้าวไกลสู่สากล" ในงานประชุมวิชาการครบรอบ 60 ปีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ข้อมูลที่น่าสนใจจากงานนี้มาเล่าสู่กันฟังครับ จาก งานวิจัยของนักวิชาการไทยเขาพบว่า เด็กไทยใช้เวลาเรียนในห้องเรียนเยอะที่สุดในโลก ในขณะที่หลายประเทศที่เรายอมรับว่าเขาเก่งกว่าเรานั้น เด็กของเขาใช้เวลาเรียนในห้องเรียนเพียงแค่ประมาณ 2 ใน 3 ของเด็กเราเท่านั้นเอง
นี่ยังไม่นับเวลาที่เด็กของเราต้องใช้ในการเรียนพิเศษหรือกวดวิชาในตอน เย็นวันหยุดนะครับ แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ความสามารถของเด็กเราโดยภาพรวมเป็นอย่างไร คงไม่ต้องสาธยายกันอีก และน่าจะเกิดความกระจ่างกันได้แล้วว่า การจับเด็กนั่งอยู่ในห้องเรียนทั้งวันแล้วยัดความรู้ให้เด็กอย่างเอาเป็น เอาตายเพียงอย่างเดียวนั้น เป็นความพยายามที่ไม่น่าจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อพัฒนาการทางสติปัญญาในเด็ก ของเราตามที่เราต้องการแต่อย่างใด แต่เราก็ยังไม่ยอมเปลี่ยนกระบวนทัศน์อันนี้เสียที เด็กสอบได้คะแนนไม่ดี เราก็เปิดห้องติว กวดวิชา เพื่อกระตุ้น "ความจำ" และ "ความสามารถในการทำข้อสอบ" ให้เด็ก โดยไม่ได้มองไปที่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กทั้งกระบวน ผลก็คือ เด็กของเราเครียดกับการเรียนรู้ในห้องเรียนมากที่สุดในโลก แต่ก็ไม่ได้เก่งที่สุดในโลก ทั้งๆ ที่ค่าเฉลี่ยระดับสติปัญญาของเด็กเราก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเด็กชาติอื่นๆ
ตอนนี้กระแสโอลิมปิกฟีเวอร์กำลังแรง เกาหลีใต้ จีน กลายเป็นฮีโร่ และแว่วๆ ว่าทั้ง 2 ประเทศนี้ใช้วิธีการแบบ "จัดหนัก" กับกระบวนการฝึกนัก กีฬาของเขา ชนิดปั้นกันเป็น
รายตัวตั้งแต่เด็กๆเลยทีเดียว และก็เริ่มมีข่าวว่าผู้มีอำนาจหลายๆคนในบ้านเราปิ๊งกับแนวคิด "จัดหนัก" ที่ว่านี้ ผมกลัวจริงๆครับว่าเราจะเอาแนวคิด "จัดหนัก" ที่ว่านี้มาใช้กับการพัฒนาการเรียนรู้หรือการศึกษาของเด็กเรา ผมไม่เชื่อครับว่า "กระบวนการปั้นดาวรุ่งโอลิมปิก" จะสามารถใช้ ได้กับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในทุกๆ มิติ แคลนซี่ แบลร์ ศาสตรา จารย์ด้านจิตวิทยาประยุกต์แห่ง มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ได้เขียนบทความตีพิมพ์ในวารสาร Scien tific American Mind ฉบับเดือนกันยายน-ตุลาคม 2555 เล่าถึงอันตรายของ "ความ เครียด" ว่าส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา ทักษะทางสังคม และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กอย่างไรบ้าง เขาพบว่าความเครียดที่ไม่มากเกินไปจะทำให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิภาพ มากขึ้น
แต่ถ้าเมื่อไรที่ระดับความเครียดมากจนเกินพอดี ระดับของสารคอร์ติซอล (สารความ เครียด) ในเลือดของเด็กจะเพิ่มขึ้น สารตัวนี้จะทำให้สมาธิ ความจำ การใช้ความคิด และการควบคุมอารมณ์ของเด็กเสียไป ซึ่งในที่สุดผลก็คือประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเด็กก็จะลดลงไปด้วย สิ่งที่ศาสตราจารย์แคลนซี่ แบลร์ ค้นพบน่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้กับครูและพ่อแม่ไทยที่นิยมการบีบบังคับให้เด็ก เรียนหนังสือเยอะๆ ได้ว่า สิ่งที่ตนเองทำนั้นส่งผลดีหรือผลเสียให้กับเด็กกันแน่ ในงานวิจัยที่ทำ ศาสตราจารย์แคลนซี่ แบลร์ และทีมของเขา ได้ติดตามเด็กกว่า 1,200 คน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 7 ขวบ และพบว่าเด็กกลุ่มที่พ่อแม่ชอบบังคับให้ทำตามสิ่งที่พ่อแม่คิด คอยกำกับทุกอย่างไม่ว่า
เด็กจะทำอะไร จะมีพัฒนาการในเรื่องสติปัญญา ทักษะทางสังคม และพัฒนาการทางอา รมณ์ แย่กว่าเด็กที่พ่อแม่เป็นแค่คนคอยสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง แสวงหาประ สบการณ์ด้วยตัวเอง เขาพบว่าเด็กที่พ่อแม่คอยเป็นคนเสริมและสนับสนุน ระดับสารคอร์ติซอลจะไม่สูงเหมือนกับเด็กที่พ่อแม่คอย กำกับทุกอย่าง นั่นก็คือ เด็กที่มีพ่อแม่คอยกำกับการเรียนรู้ทุกฝีก้าวมีความเครียดมากกว่าเด็กที่พ่อ แม่ทำแค่คอยสนับสนุน และความเครียดที่เกิดขึ้นทำให้เด็กเรียนรู้ได้น้อยลง มีพัฒนาการในด้านต่างๆไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น ความหวังดีของพ่อแม่กลับ กลายเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายศักย ภาพของเด็กไปโดยไม่ตั้งใจ กลับมาที่สังคมไทยของเรา ในการประชุมวิชาการของ กรมอนามัยครั้งนี้มีข้อมูลที่น่า
ตกใจว่า 10 ปีที่ผ่านมา นับแต่ปี 2542 เป็นต้นมา เราได้ทุ่มเทกับการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยกันหนักเอาการทีเดียว แต่ผลก็คือ "ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง" คะแนนพัฒนาการของเด็กไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว สะท้อนอย่างชัดเจนว่าวิธีการที่เราใช้พัฒนาเด็กของเราตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้ผลอย่างแน่นอน แล้วเราควรจะทำอย่างไร เพราะเด็กคืออนาคตของเราทุกคน แถมขณะนี้เด็กในสังคมของเราก็มีสัดส่วนน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด และเราก็มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อัตราการเป็นภาระของสังคมในอนาคตนับวันจะ สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่คนที่จะเป็นผู้แบกภาระของเรากลับมีศักยภาพลดลง การบูรณาการภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมอนามัย กรมสุขภาพจิต กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ หรือองค์กรท้องถิ่น คงจะต้องทำให้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ นอกเหนือจากการบูรณาการงานเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เราต้องยอมรับกันเสียทีว่ายุทธศาสตร์หรือกระบวนการที่เราใช้อยู่ตั้งแต่ใน อดีตมาจนถึงปัจจุบันใช้ไม่ได้ผลแล้ว เราจำเป็นต้องค้นคว้า ค้นหาหรือวิจัย วิธีการกระบวนการใหม่ๆ มาใช้ก่อนที่ทุกอย่างจะสายไป
ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น