อาการข้างเคียงจากยา (Side effect)
หมายถึง ผลใดๆ ที่ไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้นจากยา ซึ่งเกิดขึ้นในการใช้ตามขนาดปกติในมนุษย์ และสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยา หรือกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเกิดจากฤทธิ์ของยาเอง เช่น ทานยาแก้ปวด Ibuprofen แล้วมีอาการแสบท้องเนื่องจากยาระคายกระเพาะ เรียกว่าเป็นผลข้างเคียงจากยา อาจแก้ไขโดยทานยาหลังอาหารทันที ห้ามทานตอนท้องว่าง ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยเป็นโรคกระเพาะอาจต้องทานยาลดการหลั่งกรดร่วมด้วย ยารักษาความดันโลหิตสูง ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงให้เป็นปกติ แต่บางครั้งอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ จนมีผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากความดันโลหิตต่ำจากยาได้ เช่น ลุกขึ้นแล้วหน้ามืด ใจสั่น หรือยารักษาโรคเบาหวาน ถ้าใช้เกินขนาด หรือผู้ป่วยทานอาหารน้อยลง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยจะมีอาการใจเต้น ใจสั่น เหงื่อออก แต่ถ้ามีอาการมากอาจจะหมดสติ
สำหรับยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน เช่น ยาในกลุ่มยาแก้แพ้ เช่น Chlorpheniramine, Hydroxyzine หลังทานยาควรหลีกเลี่ยงการขับรถ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น Doxycycline อาจแก้ไขโดยทานยาพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ยาออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าอาการข้างเคียงจากยาเป็นอาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาเอง และสามารถจัดการแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนวิธีทานยา และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ไม่จำเป็นต้องห้ามใช้ยาเสมอไป
การแพ้ยา (Drug allergy)
เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าผู้ใดจะแพ้ยาตัวไหน ลักษณะอาการแพ้ยา เช่น หลังทานยาแล้วมีผื่นคัน เปลือกตาบวม ริมฝีปากบวม มีแผลบริเวณเยื่ออ่อน ผิวหนังไหม้ เป็นต้น โดยหากพบว่าทานยาแล้วมีอาการแพ้ยาควรหยุดยาที่ต้องสงสัยทั้งหมด และพบแพทย์เพื่อรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างถูกวิธี และห้ามทานยาที่แพ้ซ้ำอีก เพราะจะทำให้เกิดการแพ้ซ้ำ และอาการแพ้อาจรุนแรงขึ้นจนบางครั้งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ควรมีการจดบันทึกชื่อยาไว้ แจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งว่าท่านแพ้ยาชื่ออะไร
ดังนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบลักษณะอาการข้างเคียงจากยา และการแพ้ยานั้น อาการข้างเคียงจากยาเกิดจากฤทธิ์ของยาจะพบได้มากกว่าคือร้อยละ 95 อาการจะรุนแรงน้อยกว่า และอัตราการตายน้อยกว่า ส่วนการแพ้ยาแม้จะพบได้น้อยคือประมาณร้อยละ 5 แต่อาการมักจะรุนแรงกว่า และมีอัตราการตายสูงกว่า เนื่องจากแพทย์ไม่สามารถทำนายได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดกับใครและอย่างไร การจดจำและสังเกตยาที่ท่านแพ้เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ตัวท่าน และคนในครอบครัวปลอดภัยจากการใช้ยา
ที่มา : หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ ข้อมูลโดย โรงพยาบาลเวชธานี
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น