ปัญหาการนอนไม่หลับไม่ได้เป็นปัญหาที่พบในประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น แต่กลายเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาด้วย
ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Warwick Medical School ที่เมือง Coventry ในอังกฤษ ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ Dr. Saverio Stranges เป็นหัวหน้าทีมวิจัยนี้ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายของการวิจัยคือทำการประมวลข้อมูลที่มีอยู่แล้วในแปด ประเทศ จากทวีปอาฟริกาและทวีปเอเชีย เพื่อกรองหาตัวเลขผู้ป่วยที่รายงานว่าตนเองมีปัญหานอนไม่หลับ และ พยายามตรวจหาปัจจัยอื่นๆที่เป็นตัวเสริมปัญหาการนอนไม่หลับในกลุ่มคนจากทั้ง แปดประเทศ
การวิจัยจัดทำในประเทศกาน่า แทนซาเนีย อาฟริกาใต้ อินเดีย บังคลาเทศ เวียดนาม อินโดนีเซีย และเขตเมืองในประเทศเคนยา การวิจัยประมาณว่ามีประชากรวัยผู้ใหญ่ 150 ล้านคนในแปดประเทศเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญาที่เกี่ยวข้องการกับการนอนหลับ
Dr. Stranges หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า มีหลักฐานทางชีววิทยาที่สนับสนุนข้อมูลที่ว่าการนอนไม่หลับมีผลกระทบทางลบ ต่อการทำงานของร่างกายในเรื่องการเจริญอาหาร การทำงานของระบบประสาท การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและเกี่ยวโยงกับการเจ็บป่วยด้วยโรคที่รุนแรงหลายโรค
นักวิจัยชี้ว่าปัญหาการนอนหลับอาจสืบเนื่องมาจากการสูบบุหรี่กับนิสัยการ รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนการนอนหลับมากเกินพอดีในกลุ่มผู้สูงอายุกลับมีผลเสียต่อสุขภาพทำให้ ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย
Dr. Stranges หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า วิถีชีวิตแบบ 24 ชั่วโมงต่อวันส่งผลให้คนนอนไม่หลับในประเทศพัฒนาแล้ว การใช้อินเตอร์เน็ตก็เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้อาการนอนไม่หลับเลว ร้ายลง เกิดปัญหาโรคซึมเศร้าและโรควิตกจริตตามมา
ทีมวิจัยพบว่าอาการซึมเศร้าและวิตกจริตในประชากรประเทศกำลังพัฒนาได้กลาย เป็นสาเหตุหลักของการนอนไม่หลับและพบว่าผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนาเป็นโรค นี้มากกว่าผู้ชายและชาวบังคลาเทศ ชาวอาฟริกาใต้และชาวเวียดนาม เป็นโรคนอนไม่หลับมากที่สุด ในขณะที่อินเดีย อินโดนีเซีย มีปัญหาคนเป็นโรคนอนไม่หลับจำนวนน้อย
Dr. Stranges หัวหน้าทีมวิจัยเตือนว่า โรคนอนไม่หลับจะ เพิ่มปัญหาสุขภาพแก่คนในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ระบบการบริการทางสาธารณสุขต้องแบกภาระเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากปัญหาโรคระบาด อัตราการเสียชีวิตของเด็กและหญิงคลอดลูกค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าการบำบัดรักษาอาการนอน ไม่หลับทำได้ยากและมักไม่มีวิธีการรักษาเดียวที่ได้ผลทั้งหมด เนื่องจากมีสาเหตุต่างกันไป เขาแนะนำว่าแพทย์ควรวิเคราะห์วิถีชีวิตและการนอนหลับของผู้ป่วยแต่ละคนในการ วินิจฉัยปัญหาสุขภาพ และควรแนะให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวันก่อนตัดสินใจเขียน ใบสั่งยาให้ผู้ป่วยรับประทาน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น