ผู้ชายหลายคนอาจเคยมีประสบการณ์ของการมีเลือดปนในน้ำอสุจิหนึ่งครั้งหรือ เป็นครั้งคราว ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ทุกวัย บางครั้งอาจมองเห็นเลือดในน้ำอสุจิตลอดสองสามเดือนหรือมากกว่านั้น
ปริมาณของเลือดในน้ำอสุจิแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นเป็นหยดเลือดหรือสายของเลือดในน้ำอสุจิหรือดูน้ำอสุจิ เหมือนเป็นเลือด แม้ว่าอาการดังกล่าวนี้จะเป็นไม่นาน การทดสอบสาเหตุการมีเลือดปนกับน้ำอสุจิมีหลายวิธีและควรได้รับคำแนะนำสำหรับ การรักษาจากแพทย์
ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุการมีเลือดปนในน้ำอสุจิ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเมื่อได้รับการวินิจฉัยเลือดในน้ำอสุจิ มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ การมีเลือดปนน้ำอสุจิอาจเกิดจากสภาวะที่มีผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะผู้ชาย ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ลูกอัณฑะ ท่อเก็บเชื้ออสุจิ (Epididymis : ทำหน้าที่เก็บสะสม และขนส่งอสุจิที่ผลิตได้จากลูกอัณฑะ) ท่อนำอสุจิจากลูกอัณฑะ ถุงพักน้ำอสุจิ (Seminal vesicles) และต่อมลูกหมาก
การบาดเจ็บโดยตรง น้ำเชื้อประกอบด้วยตัวอสุจิและของเหลวที่หลั่งออกมาโดยต่อมลูกหมากและต่อม อื่น ๆ ของเหลวเหล่านี้เข้ารวมกับตัวอสุจิซึ่งผ่านเข้าท่อปัสสาวะสำหรับการหลั่ง มีหลายสาเหตุที่สามารถทำให้หลอดเลือดเสียหายหรือถูกทำลายไปตลอดเส้นทางของ น้ำเชื้อหรือทางเดินปัสสาวะไปถึงท่อปัสสาวะ หลอดเลือดอาจแตกหรือฉีกขาดแล้วมีเลือดรั่วไหลในการหลั่งน้ำอสุจิ หรือการปัสสาวะ
สาเหตุที่เป็นไปได้ของการมีเลือดปนกับน้ำอสุจิ ได้แก่ นิ่วของกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยไม่ได้ร่วมเพศเป็นเวลานาน อาการเป็นหลังการตรวจตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 80 ที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก อาจมีเลือดปนกับน้ำอสุจิประมาณสามถึงสี่สัปดาห์หลังการผ่าตัด การบาดเจ็บของลูกอัณฑะ เช่นเดียวกันหลังการผ่าตัดทำหมันโดยตัดท่อนำอสุจิอาจทำให้มีเลือดปนกับน้ำ อสุจิประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังการผ่าตัด นอกจากนี้อาจพบจากการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง
สาเหตุทางการแพทย์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่า ได้แก่ ก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะหรือต่อมลูกหมาก เช่น ถุงน้ำหรือติ่งเนื้อที่ยื่นออกมา มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคเลือดออกไม่หยุดหรือฮีโมฟีเลีย มะเร็งต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากโต เกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ รับประทานยาละลายลิ่ม
การติดเชื้อและการอักเสบ* การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ หนองในเทียม เริมที่อวัยวะเพศ โรคหนองใน
* ท่อนำอสุจิอักเสบ* ต่อมลูกหมากอักเสบ ท่อนำอสุจิอักเสบท่อปัสสาวะอักเสบ
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดย รศ.น.ท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล คลินิกสุขภาพชาย โรงพยาบาลรามาธิบดี
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น