น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

หมอ-พยาบาล เหยื่อ'ไวรัสอีโบลา' | PG&P

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

"อีโบลา"ไวรัสไข้เลือดออกสาย พันธุ์มรณะกลับมาระบาดอีกครั้งในยูกันดาและคองโก แม้อยู่ห่างจากประเทศไทยไปไกลถึงทวีปแอฟริกา แต่หลายคนอดเป็นห่วงไม่ได้ เนื่องจากในแต่ละปีมีชาวต่างชาติจากประเทศทั้งสองเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว เกือบ 1 หมื่นคน!!

หมอ-พยาบาล เหยื่อ'ไวรัสอีโบลา'

ข้อมูลสถิติการเดินทางเข้าออก จำแนกตามสัญชาติในปี 2554 จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระบุว่ามีชาวคองโกเข้ามาประเทศไทยประมาณ 5,600 คน ส่วนชาวยูกันดาประมาณ 2,500 คน ที่สำคัญเชื้อตัวนี้สามารถแพร่จากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ด้วย และอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 80-90

วันที่ 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สำนักข่าวทั่วโลกรายงานถ้อยคำของ "โยเวรี มูเซเวนี" ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐยูดา (Republic of Unganda)ซึ่งออกแถลงการณ์ฉุกเฉินทางโทรทัศน์เตือนประชาชนให้ระวังเชื้อไข้ เลือดออกอีโบลาที่กำลังระบาดหนัก ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 14 คน และพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 6 คน ตัวเลขนี้เฉพาะรายงาน อย่างเป็นทางการเท่านั้น คาดว่ามีผู้ติดเชื้อแล้วเสียชีวิตโดยไม่ได้รายงานอีกจำนวนหนึ่ง พร้อม ขอร้องให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงหลีกเลี่ยงการจับมือ จูบ หรือมีเพศสัมพันธ์ด้วย เพราะเชื้อไวรัสมรณะตัวนี้รุนแรงติดแล้วเสียชีวิตภายใน 72 ชั่วโมง ไวรัสอีโบลากำลังระบาดหนักในบริเวณเขตคิบาล ห่างจากเมืองหลวงยูกันดาประมาณ 200 กม. ห่างจากชายแดนประเทศคองโก 50 กม.

หมอ-พยาบาล เหยื่อ'ไวรัสอีโบลา'ขณะ นี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อให้เข้าสู่ พื้นที่กักกันโรค รวมถึงแพทย์และพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยด้วย  ทั้งนี้โรงพยาบาลกรุงกัมปาลา ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวง สั่งกักพื้นที่แพทย์ 4 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 13 คน หลังจากรับผู้ป่วย 2 คนเข้ามารักษา แล้วเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลติดเชื้อไวรัสอีโบลาจากผู้ป่วยจนเสียชีวิต

หลังยูกันดาประกาศเตือนได้ไม่กี่วัน องค์การอนามัยโลกรายงานเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมว่า ประเทศเพื่อนบ้านของยูกันดาคือประเทศคองโกก็มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสร้ายตัว นี้ไปแล้ว 9 คนเช่นกันและพบผู้ติดเชื้อกว่า 20 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีพรมแดนติดกับยูกันดา ผู้เสียชีวิตชาวคองโก 3 ใน 9 คนเป็นบุคลากรแพทย์ติดเชื้อจากการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ภายในโรงพยาบาล

"อีโบลา"(Ebola)เป็นชื่อของแม่น้ำสายหนึ่งในคองโก แหล่งต้นกำเนิดไวรัสตัวนี้ พบระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2519 นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าไวรัสอีโบลามีต้นตอมาจากสัตว์ท้องถิ่นในป่าแถว แอฟริกา มีการระบาดเป็นระยะ ครั้งร้ายแรงสุดเกิดขึ้นในยูกันดาเมื่อปี 2543 มีผู้ติดเชื้อกว่า 400 คน ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน

อาการป่วยเริ่มแรกจะเป็นไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่ หนาวสั่น เจ็บหน้าอก ปวดช่องท้อง อาเจียน ท้องเสีย ฯลฯ จากนั้นเริ่มหายใจลำบาก ผู้ป่วยทั้งหมดมีภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ ระบบอวัยวะภายในด้วย

หลายฝ่ายสงสัยว่า ทำไม "ไวรัสมรณะอีโบลา"ทำให้แพทย์และพยาบาลที่ใกล้ชิดผู้ป่วยเสียชีวิตลงอย่างง่ายดาย !?!

ศ.ดร.พิไลพรรณ พุทธวัฒนะ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีว วิทืยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยบาลไขปริศนาให้ฟังว่า เชื้อไวรัสไข้เลือดออกทั่วโลกพบ 14 สายพันธุ์ โดยอีโบลาเป็นหนึ่งในเชื้อตัวดุสุด อัตราผู้เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 80-90 ส่วนไวรัสไข้เลือดออกที่พบในไทยนั้นเป็นสายพันธุ์ "เดงกี่" (Dengue) ตัวนี้ไม่ร้ายแรงนัก มีอัตราผู้เสียชีวิตต่ำกว่า 1 สาเหตุที่เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลติดเชื้อจากผู้ป่วยได้ง่ายเนื่องจากคนไข้ ที่ป่วยโรคนี้จะมีอาการเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ รวมถึงถ่ายเป็นเลือดด้วย เชื้อไวรัสจะออกมาพร้อมของเหลวเหล่านี้ และไปติดตามเตียงหรืออุปกรณ์แพทย์ โรงพยาบาลในแอฟริกาส่วนใหญ่ขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน และอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ เช่น ผ้าปิดปาก ถุงมือ แอลกอฮอล์ และน้ำที่จะใช้ทำความสะอาด ทำให้สัมผัสเชื้อโดยตรงได้ง่าย โรงพยาบาลหลายแห่งเมื่อพบผู้ป่วยต้องสั่งปิดโรงพยาบาลทันทีเพราะรู้ตัวดีว่า ไม่สามารถควบคุมได้

หมอ-พยาบาล เหยื่อ'ไวรัสอีโบลา'"ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาไวรัสไข้เลือดออก แพทย์ทำได้แค่ประคับประคองตามอาการ เช่นให้ยาลดไข้ ยาสลายลิ่มเลือด ให้เกล็ดเลือดเพิ่ม ฯลฯ แต่เชื้อตัวนี้จะไม่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ต้องสัมผัสจากตัวผู้ป่วย หรือเลือดและสารคัดหลั่งที่ออกมาตามร่างกาย หากคุมพื้นที่ได้เชื้อจะหายไป แต่จะกลับระบาดใหม่ เมื่อมีคนเข้าไปในป่าลึกแล้วติดจากสัตว์ที่มีไวรัสตัวนี้ ไวรัสจะเข้าไปในร่างกายทำให้มีอาการป่วยรุนแรงเมื่อญาติไปสัมผัสก็ติดทันที รวมถึงแพทย์และพยาบาลด้วย แต่ยังไม่เคยพบโรคระบาดไปนอกทวีป แอฟริกา ในเอเชียเคยมีรายงานว่าพบสายพันธุ์คล้ายๆ กัน ที่ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ แต่เกิดจากการสัมผัสสัตว์ท้องถิ่นในป่าลึกโดยตรง"

ผู้เชี่ยวชาญเชื้อไวรัสข้างต้น ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ช่วงแรกที่ค้นพบเชื้อนี้คาดเดาว่าพรานไปล่าสัตว์แล้วติดมาจากลิง เพราะผู้ป่วยรายแรกเล่าว่า เดินทางเข้าไปในลึกเกือบ 20 กม.ไม่รู้ว่าสัมผัสสัตว์ตัวไหนบ้าง แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า น่าจะเป็นเชื้อจากค้างคาวชนิดหนึ่งมากกว่า

ขณะที่ ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ม.มหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส วิทยา เตือนว่า ไวรัสตัวนี้สามารถติดจากคนสู่คนได้ง่าย เป็นเชื้อรุนแรงทำให้ป่วยเฉียบพลัน แพร่กระจายรวดเร็ว แต่ต้องสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยเท่านั้น ยังไม่เคยมีรายงานการพบผู้ป่วยไข้เลือดออกด้วยเชื้อไวรัสอีโบลาในเมืองไทยมา ก่อน ส่วนที่กังวลว่าอาจมีนักท่องเที่ยวจากแอฟริกาสัมผัสเชื้อแล้วไม่รู้ตัว กลายเป็นพาหะนำไวรัสเข้ามาในไทยนั้น ส่วนตัวแล้วเชื่อว่ามีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก

"ใครก็ตามที่ติดเชื้อตัวนี้ จะป่วยแทบลุกไม่ไหวทันที ระยะฟักตัว 2-3 วันเท่านั้น คงไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ และถ้ามีชาวแอฟริกันซึ่งอยู่ในระยะแพร่เชื้อเดินทางเข้ามาในไทยจริง เมื่อป่วยแล้วไปโรงพยาบาล แพทย์จะรู้ทันทีจากอาการป่วยและการสัมภาษณ์ ยิ่งรู้ว่าเดินทางมาจากยูกันดา หรือ คองโก หรือประเทศแถบแอฟริกา คงต้องกักพื้นที่เพื่อรักษาและไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกไป" ศ.นพ.ประเสริฐกล่าว




ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks