อวัยวะปริทันต์ คือ กลุ่มของเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบฟัน ทำหน้าที่ยึดและพยุงฟัน ทำให้ฟันสามารถอยู่ในกระดูกขากรรไกรได้ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 4 ชนิด คือ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน
โรคปริทันต์ (Periodontal disease) คือ โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะปริทันต์ ลักษณะอาการที่พบคือ เหงือกอักเสบ บวม มีเลือดออก ร่องเหงือกลึกกว่าปกติมาก ในคนที่มีอาการอักเสบรุนแรงจะมีการละลายของกระดูกหุ้มรากฟัน ซึ่งมีผลให้ฟันโยกและต้องถูกถอนฟันไปในที่สุด โดยมีสาเหตุมาจากคราบจุลินทรีย์ที่เกาะบริเวณรอยต่อระหว่างขอบเหงือกและฟัน หรือที่เรียกว่าคอฟันซึ่งจะกลายเป็นหินน้ำลายหรือหินปูนในเวลาต่อมาการจัด ฟันมีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคปริทันต์อย่างไร
จัดเรียงฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ผู้ป่วยสามารถทำความสะอาดด้วยตนเองได้ ลดความจำเป็นในการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความพิการของกระดูกรองรับรากฟันที่เกิด จากการทำลายของโรคปริทันต์ ปิดหรือลดช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากภาวะของโรคปริทันต์ แก้ไขฟันที่ยื่นยาวออกมาทางด้านริมฝีปากซึ่งเกิดจากการทำลายกระดูกรองรับ รากฟันของโรคปริทันต์แล้วถ้าหากเป็นโรคปริทันต์แต่จะจัดฟันต้องทำอย่างไร
เริ่มจากผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจอวัยวะปริทันต์อย่างละเอียดเพื่อ ประเมินความรุนแรงของโรคปริทันต์ ต่อมาจะต้องได้รับการรักษาโดยการขูดหินน้ำลาย เกลารากฟันให้สะอาดเรียบร้อยหรืออาจได้รับการทำศัลยกรรมตกแต่งแผ่นเหงือก กรณีที่เหงือกร่นรวมถึงทำการศัลยกรรมตกแต่งกระดูก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ผู้ดูแลโรคปริทันต์อยู่ สำหรับฟันที่เป็นโรคปริทันต์มากๆ จนคิดว่าควรได้รับการถอน อาจพิจารณาเก็บฟันซี่นั้นไว้ก่อน เพื่อใช้เป็นฟันหลักยึดชั่วคราว สำหรับติดเครื่องมือจัดฟัน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องสามารถดูแลความสะอาดช่องปากได้เป็นอย่างดีก่อนจัดฟัน เพราะเมื่อติดเครื่องมือจัดฟันแล้ว การทำความสะอาดจะทำได้ค่อนข้างยุ่งยากกว่ามาก
หลังจากรักษาโรคปริทันต์แล้วเป็นเวลา 4-6 เดือนก่อนที่จะเริ่มการจัดฟัน เพื่อให้เกิดการหายของแผลที่เกิดจากการรักษาโรคปริทันต์ และทันตแพทย์เล็งเห็นว่าผู้ป่วยสามารถดูแลสุขอนามัยช่องปากของตนเองได้
หลังจากรักษาโรคปริทันต์แล้วจะมีโอกาสสูญเสียอวัยวะปริทันต์มากขึ้นจากการจัดฟันหรือไม่?
ขึ้นอยู่กับสภาพของอวัยวะปริทันต์ ถ้าหากมีสภาพสมบูรณ์ดีก็จะไม่มีการสูญเสียอวัยวะปริทันต์เพิ่มขึ้น แต่หากยังมีการลุกลามของโรคอยู่ การจัดฟันจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์เพิ่มมากขึ้นได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน โดย อ.ทพ.พงศธร พู่ทองคำ อาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมจัดฟันคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น