น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

"การบรรเทาความเจ็บปวด จากการผ่าตัด"

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

"การบรรเทาความเจ็บปวด จากการผ่าตัด"

การผ่าตัดเกือบทุกชนิด เพื่อการรักษาโรคหรือผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย ผลข้างเคียงอย่างหนึ่งที่สร้างความกังวลต่อผู้ป่วยและคนใกล้ชิดคือความเจ็บ ปวดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่แตกต่างกันไป ทั้งตำแหน่งของการผ่าตัดขนาดและความชอกช้ำของแผลผ่าตัด วิธีการระงับความรู้สึกและบรรเทาความเจ็บปวดที่ใช้ การรับรู้และความทนทานต่อความปวดของผู้ป่วยแต่ละคน แผ่นพับนี้จะให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการบรรเทาความเจ็บปวดจากการผ่าตัด วิธีการที่ใช้เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดจากการผ่าตัด

วิธีบรรเทาปวดที่สามารถใช้ได้นั้นมีมากมายหลายวิธี แต่ทั้งนี้ต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัว ภาวะร่างกาย ยาที่ใช้อยู่ประจำ ชนิดและตำแหน่งของการผ่าตัด เป็นต้น แพทย์ที่ดูแลท่านจะเลือกใช้วิธีการที่ดีและเหมาะสมที่สุด เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดแก่ท่าน โดยอาจผสมผสานหลายวิธีร่วมกันเพื่อประโยชน์สูงสุดในการบรรเทาความปวด โดยวิธีการบรรเทาปวดอาจทำได้หลายวิธี

1.การใช้ยาบรรเทาปวดชนิดรับประทาน

ใช้ในการผ่าตัดที่ความเจ็บปวดน้อย การผ่าตัดเล็กหรือการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยนอก เพื่อนำยากลับไปรับประทานที่บ้านได้

อาจใช้ร่วมกับการบรรเทาปวดชนิดอื่นๆ เพื่อผสมผสานเพิ่มผลการบรรเทาปวดในการผ่าตัดใหญ่ที่มีความปวดมาก มักใช้ในวันที่สองหลังผ่าตัดขึ้นไป เมื่อความเจ็บปวดไม่มากแล้วก็สามารถบรรเทาอาการปวดได้ดี

2.การใช้ยาบรรเทาปวดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือเข้ากล้ามเนื้อ

เป็นการฉีดยาระงับปวดผ่านเส้นน้ำเกลือในขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยเว้นระยะเวลาการให้ยาประมาณ 2-4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการได้ยาในขนาดที่สูงเกินไปมักใช้เสริมการบรรเทาปวดชนิดอื่นๆ โดยเมื่อผู้ป่วยปวดจึงให้ยาเพิ่มเป็นครั้งๆ ไป เหมาะกับการผ่าตัดที่ปวดน้อยถึงปานกลาง

สำหรับการผ่าตัดที่ปวดมาก สามารถให้ยาโดยการหยดยาบรรเทาปวดผ่านเส้นน้ำเกลือเข้าหลอดเลือดดำ และฉีดเพิ่มเป็นครั้งคราว เพื่อเพิ่มผลการบรรเทาปวดได้ เมื่อผู้ป่วยปวดลดลงแล้วอาจลดยาหยดทางเส้นน้ำเกลือลงได้ในวันถัดๆ ไป



ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมืองโดยนพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริมลดน้ำหนัก อาหารเสริมบำรุงผิว 
วิตามินบำรุงสายตา น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ,เสริมความงาม,เสริมสุขภาพ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks