น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

โรคปอดบวม เกิดได้ทุกวัย

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคปอดบวม เกิดได้ทุกวัย

โรคปอดบวม หมายถึง ภาวะปอดเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส  ซึ่งสภาวะที่ผิดปกติอาจจะเกิดจากเชื้อราและพยาธิเมื่อเป็นปอดบวมจะมีหนองและ สารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจนได้ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน และอาจถึงแก่ชีวิตได้
เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมมักจะอยู่ในน้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ซึ่งสามารถแพร่กระจายออกมาเวลาไอ จาม นอกจากนี้ยังเกิดจากการรับสารเคมี เช่น แอมโมเนีย ไนโตรเจนไดออกไซด์ หรือการสำลักน้ำลายเศษอาหารและน้ำย่อย
โรคปอดบวมเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป เกิดได้กับคนทุกวัย และเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคปอดบวมแล้ว อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์โรคว่าผู้ป่วยมีโอกาสหายดีหรือไม่อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคปอดบวม การรักษาที่เหมาะสม ภาวะแทรกซ้อน และสุขภาพพื้นฐานของตัวผู้ป่วยเอง
อาการของโรคปอดบวม         
หอบ น้ำมูลไหล ไอแห้งๆ ต่อมาจะเริ่มไอมีเสมหะเหนียว จาม คัดจมูก ไข้สูง  หนาวสั่น ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก  อาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยการรักษา ในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสอาจไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ต้องกระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ วัดไข้และสังเกตอาการเป็นระยะรับประทานยาตามแพทย์สั่งดยเคร่งครัดห้ามซื้อยา แก้ไอรับประทานเอง ให้คอยตรวจดุริมฝีปาก และเล็บว่ายังคงสีชมพูอยู่หรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์ หากเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการเป็นมากเช่น ไข้สูงมาก หอบมาก ไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล และตรวจเลือดดังกล่าวข้างต้น และให้การรักษา คือ ให้ออกซิเจน ให้ยาปฏิชีวนะ และให้น้ำเกลือ
การป้องกันโรคปอดบวม
ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมทั้งของเด็กและผู้สูงอายุ โดยพิจารณาจากช่วงอายุและความเสี่ยงต่อโรคในแต่ละคน แต่ถึงอย่างไรการป้องกันที่ดีควรใช้วิธีหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ เช่นเดียวกับการป้องกันโรคหวัด ได้แก่
-หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวม โดยเฉพาะเด็กทารกถ้าเป็นปอดบวมจะมีอันตรายมาก        
-หลีเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันท่อไอเสียรถยนต์ และหมอกควันในอากาศ
-ในเด็กอ่อน ไม่ควรให้สัมผัสกับความหนาวเย็น
นอกจากนี้ควรเลี้ยงดูบุตรให้แข็งแรง กินอาหารที่มีคุณค่า ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามอายุ คุณพ่อคุณแม่ควรวางแผนครอบครัวก่อนจะมีบุตร และคุณแม่ควรฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้บุตรเกิดมาแข็งแรง ไม่พิการด้วย
ถ้ามีอาการสงสัยว่าจะเป็นปอดบวม ให้รีบพาไปพบแพทย์ เพื่อเด็กจะได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อันตรายจะน้อยลง


ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 


PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

อุบัติเหตุ กับฟันน้ำนม


อุบัติเหตุที่เกิดกับฟันพบได้บ่อย ที่สุดในบรรดาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ซึ่งลักษณะของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับฟันน้ำนมเด็กเล็กสามารถพบได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ฟันบิ่น ฟันหัก ฟันแตก จนกระทั่งฟันโยก ฟันเคลื่อนออกจากตำแหน่ง และฟันหลุดออกจากเบ้ากระดูก ซึ่งแนวทางการรักษาเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับฟันน้ำ นมนั้นขึ้นอยู่กับความเสียหายแต่ละรูปแบบ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น สิ่งแรกที่ผู้ปกครองควรทำคือ ควบคุมสติ อย่าตระหนกตกใจ และมุ่งความสนใจไปที่บาดแผลที่เกิดขึ้น เนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดกับฟันมักจะเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่ออื่นๆ บริเวณข้างเคียงด้วย เช่น ริมฝีปาก เหงือก โดยให้ล้างบริเวณบาดแผลอย่างระมัดระวังด้วยน้ำสะอาด และถ้าพบว่ามีเลือดออกให้ห้ามเลือดโดยใช้ผ้ากอซหรือสำลีกดบริเวณบาดแผล ประมาณ 5 นาที เพื่อให้เลือดหยุดและควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เพื่อดูแลรักษาต่อไป
สำหรับแนวทางการรักษาของทันตแพทย์สำหรับอุบัติเหตุในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
- กรณีฟันบิ่นหรือหักบริเวณตัวฟันเพียงอย่างเดียว ถ้าเพียงเล็กน้อยอาจแค่ลบความแหลมคมของฟันบริเวณที่บิ่น ถ้าหักถึงชั้นเนื้อฟันสมควรได้รับการอุดฟัน แต่ถ้าหักถึงประสาทฟันอาจต้องรักษารากฟันแล้วตามด้วยการอุดฟันหรือครอบ ฟันน้ำนมนั้นๆ แต่ถ้าฟันหักทั้งบริเวณตัวฟันและรากฟันสมควรได้รับการถอนฟันน้ำนมนั้นออก
- กรณีฟันโยกร่วมกับการมีหรือไม่มีเลือดออกจากเหงือก และไม่มีการเคลื่อนที่ของฟันออกจากตำแหน่ง หรือกรณีฟันไม่โยก มีเพียงแค่เจ็บฟันเมื่อแตะโดนเท่านั้น ในกรณีนี้อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ แต่ทันตแพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการเป็นระยะ เนื่องจากอาจเกิดภาวะฟันตายในภายหลัง ทำให้จำเป็นต้องได้รับการรักษารากฟัน
- กรณีฟันเคลื่อนออกจากตำแหน่งทั้งในแนวหน้าหลังหรือยื่นยาวออกมา ในกรณีที่ไม่มากและภายหลังทันตแพทย์ประเมินแล้วพบว่าตำแหน่งที่ฟันเคลื่อน ไม่ได้มีผลต่อหน่อฟันแท้ ทันตแพทย์สามารถจับฟันเข้าตำแหน่งเดิมและยึดฟันไว้ หรืออาจปล่อยให้ฟันกลับเข้าตำแหน่งเดิมได้เอง แต่ถ้ามีการเคลื่อนที่ของฟันออกจากตำแหน่งมาก การถอนฟันจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับ หน่อฟันแท้
- กรณีฟันยุบเข้าไปในเหงือก ทันตแพทย์จะประ เมินตำแหน่งของรากฟัน กับหน่อฟันแท้ด้านใน ถ้ารากฟันไม่มีผลต่อหน่อฟัน แท้อาจรอให้ฟันงอกกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมได้ แต่ ถ้ารากฟันมีผลต่อหน่อฟัน แท้ การถอนฟันจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อลดอัน ตรายที่จะเกิดขึ้นกับหน่อฟันแท้
- กรณีฟันหลุดออกจากเบ้ากระดูก สำหรับฟันน้ำนมนั้นไม่แนะนำให้ใส่ฟันกลับเข้าไปในเบ้ากระดูก เนื่องจากจะทำให้เกิดอัน ตรายต่อหน่อฟันแท้ได้


ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข โดย ทพ.ญ.นราวัลลภ์ เชี่ยววิทย์ 


PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

แนะผลไม้สมุนไพร อาหารกันปากเปื่อย

แพทย์เตือน พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกหลานอยู่ในวัยสุ่มเสี่ยงติดโรคมือเท้าปากต้องระวัง ตัว แนะรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงชุมชน รู้จักกินอาหารต้านโรค ชูก๋วยเตี๋ยวเรือ พะโล้ที่มีโป๊ยกั๊กเป็นตัวชูรส ถือว่าสุดยอด เพราะสมุนไพรดังกล่าวต้านไวรัสได้ดี รวมถึงหวัด 2009 นอกจากนี้ก็มีกระเทียม ขมิ้นชัน เห็ดหลินจือ เห็ดหอม หัวหอม รำข้าวโอ๊ต องุ่น ส้มและเสาวรส

แนะผลไม้สมุนไพร อาหารกันปากเปื่อย

 นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าว ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปากที่ทำให้เด็กไทยป่วยเป็นจำนวนมากอยู่ ในขณะนี้ นอกจากจะต้องระมัดระวังในตัวเด็กแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าว ยังอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มียารักษาโดยตรง แต่ในเบื้องต้นก็สามารถหาทางป้องกันไว้เป็นดีที่สุด เพราะการแห่ไปโรงพยาบาลกันมากๆ อาจต้องเผชิญกับแหล่งรวมเชื้อ ดีไม่ดีอาจจะมีอาการหนักกว่าเดิม

 สำหรับแนวทางป้องกันนั้น นพ.กฤษดากล่าวว่า ขอแนะนำให้เน้นความสะอาด เพราะโรคดังกล่าวติดจากการสัมผัสกันมากที่สุด โดยเฉพาะในกิจกรรมที่มักทำร่วมกันเป็นประจำ คือ การจับราวบันได ใช้ลิฟต์ร่วมกัน เล่นของชิ้นเดียวกัน ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้หากมีการแพร่กระจายของเชื้อเร็วขึ้น ก็เป็นที่น่ากังวลว่ามันอาจจะพัฒนาเชื้อจนแข็งแรงและระบาดลามถึงกลุ่ม ผู้ใหญ่ได้ ดังนั้นในการป้องกันการสัมผัสจึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะหากป้องกันได้จะไม่ใช่ช่วยลดแค่โรคเดียว หากแต่ช่วยลดโรคที่มากับสัมผัสดังต่อไปนี้ได้ด้วย คือ ไข้หวัด 2009  อีสุกอีใส เริมและงูสวัด ไวรัสตับอักเสบเอและบี ท้องเสีย ติดเชื้อทางเดินอาหาร ตุ่มหนองผิวหนัง ตาแดง

 นพ.กฤษดากล่าวว่า สิ่งที่ป้องกันได้อีกทางที่ดีคือ การสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีส่วนช่วย โดยขอแนะนำก๋วยเตี๋ยวเรือ หรือพะโล้ ที่มีโป๊ยกั๊กเป็นส่วนประกอบ เพราะโป๊ยกั๊กเป็นสมุนไพรไล่ไวรัสตัวฉกาจ มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กในเยอรมนี ระบุไว้ชัดเจนว่า ช่วยสกัดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสเริม นอกจากนั้นสารสำคัญอย่างกรดชิคิมิก (Shikimic acid) ที่สกัดได้ยังนำมาใช่ตั้งต้นในการผลิตยาต้านไวรัสไข้หวัด 2009ที่ชื่อ โอลเซตามิเวียร์ (Oseltamivir) ได้

 "สำหรับท่านที่ปรารถนาอยากทานอย่างอื่นบ้างที่อร่อยด้วยและช่วยป้องกัน ได้ ก็ขออนุญาตนำเสนออีก 8เมนูป้องกันไวรัสสไตล์อายุรวัฒน์ คือ ขมิ้นชัน มีสารสำคัญคือ  เคอคิวมินอยด์ (Curcuminoids)   ช่วยลดการอักเสบ ต้านการติดเชื้อ เป็นเสมือนยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติ อาจทานเป็นเม็ดอาหารเสริมหรือแบบสดก็ได้ มีทั้งในแกงเหลือง, ผัดผงกะหรี่, ขนมจีนน้ำยาหรือว่าคั่วกลิ้ง ก็แซบก็ร่อยกันได้ทุกภาค ช่วยให้ไกลจากไวรัสได้ดี เห็ดหลินจือ มีหลายสี แต่สีที่ถือกันว่ามีวิตามินเสริมภูมิดีคือ สีแดง คนญี่ปุ่นนิยมมาก มีฟาร์มเพาะเห็ดกันเป็นล่ำเป็นสัน โดยหั่นตอไม้เป็นแว่นใหญ่ให้เห็ดได้งอก โดยสารสกัดจาก กาโนเดอมา (Ganoderma) ถือเป็นตัวสำคัญ การรับประทานเห็ดหลินจือที่สะดวกคือในรูปอาหารเสริม"

 นพ.กฤษดากล่าวว่า เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ (Shitake)มี สารสำคัญคือ เล็นติแนน (Lentinan) ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาวในเลือด เสริมภูมิคุ้มกันในการสู้โรคภัยไข้เจ็บ โดยมีการผลิตยาที่เป็นลูกผสมระหว่างเห็ดหลินจือและเห็ดหอม เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในผู้ป่วย รวมถึงรักษามะเร็งได้ เพราะมีสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง (Anti-tumor agent) ปัจจุบันมีการสกัดออกมาแล้ว กระเทียม มีสารประกอบสำคัญเป็นกลุ่มกำมะถันที่มีชื่อว่าไดอัลลิล ซัลไฟด์ (Diallyl dsulfide) ซึ่งเมื่อกระเทียมถูกบดจะได้เป็นเคมีที่ออกฤทธิ์ดีกว่าคือ อัลลิซิน (Allicin) เป็นตัวสำคัญที่ช่วยไล่เชื้อโรค ดังนั้นการกินที่ดีควรกินกระเทียมบดหรือเคี้ยวให้ละเอียด

 หัวหอม จะหอมแดงหรือหอมใหญ่ได้ทั้งสิ้น การกินจะช่วยให้ร่างกายได้สารสำคัญ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายได้จากสารแอนตี้ออกซิแดนต์กลุ่มซัลเฟอร์ และเคอซิทิน (Quercitin) กินแล้วช่วยลดการอักเสบจากการติดเชื้อได้ รำข้าวโอ๊ต (Oat bran) เพราะมีสารช่วยเสริมภูมิ เบต้า กลูแคน (Beta glucan) สูง ส่วนอื่นของข้าวโอ๊ตก็มีสารนี้แต่น้อยกว่า ช่วยในการสร้างเซลล์ฆ่าเชื้อโดยธรรมชาติ (Natural killer cell) และเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ ให้มีมากขึ้น

 ส้มและเสาวรส มีสารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) สูง การกินสดหรือดื่มน้ำคั้นจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ จากการที่มีทั้งวิตามินซีและสารเฮสเปอริดินในปริมาณที่เข้มข้น ยังช่วยป้องกันเส้นเลือดจากริดสีดวงและเส้นเลือดขอดด้วย องุ่น โดยเฉพาะองุ่นสีดำเข้ม มีการศึกษาว่าน้ำองุ่นสดสามารถไล่ไวรัสจำพวกเริมและงูสวัดได้ อีกทั้งสารสกัดจากเมล็ดองุ่นยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและติดเชื้อตามส่วน ต่างๆ ของร่างกาย ช่วยให้ผิวพรรณสดใสขึ้นได้

 นพ.กฤษดาย้ำว่า แม้จะมีอาหารต้านไวรัสตามที่แนะนำแล้ว แต่สุดท้ายก็ขอให้ทุกท่านอย่าลืมว่าการจะพาตัวหนีห่างจากไวรัสอันตรายที่ได้ จากการสัมผัสนั้นก็คือหลักสะอาด โดยเฉพาะการล้างมือให้ดี หนีจากที่ติดเชื้อ และไม่เบื่อออกกำลังกาย ส่วนใหญ่แล้วเชื้อพวกนี้ก็เหมือนคนที่ชอบสังคม คือชอบอยู่ในที่คนเยอะๆ มีคนพลุกพล่านเป็นชุมนุมชนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนอนุบาล, สถานเลี้ยงเด็ก, ตลาดสด, โรงหนัง, รถสาธารณะ หรือว่าจะตามบ้านบอล เครื่องเล่นของเด็กๆ ก็ต้องเช็กให้ดี



        



ที่มา:หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

สธ.แนะปชช.ใช้ 5 ป.ปราบยุงลาย ลดไข้เลือดออก

สธ.พบ ปี 2555 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 21,289 ราย ภาคกลางป่วยมากสุด กำชับ สสจ.ทั่วประเทศคุมเข้ม ชูตำบลน้ำดิบ จ.ลำพูน ตัวอย่างชุมชนควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการจนไม่มีผู้ป่วย แนะประชาชนใช้มาตรการ 5 ป.ปราบยุงลาย

สธ.แนะปชช.ใช้ 5 ป.ปราบยุงลาย ลดไข้เลือดออก

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังนำคณะสื่อมวลชนดูงานการควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยยังน่าเป็นห่วง เพราะเป็นช่วงอากาศร้อนสลับกับฝนตก ทำให้เกิดน้ำขังบริเวณพื้นที่ต่างๆ และกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ ส่งผลให้ช่วงนี้ประชาชนอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกง่ายและมีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้น สธ.จึงได้แจ้งแนวทางไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกแห่ง ดังนี้ 1.ทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากจำเป็นให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการในระดับจังหวัดหรือพื้นที่ทันที 2.เร่งรัดการลดจำนวนผู้ป่วยตาย ด้วยการจัดตั้งเครือข่ายให้คำปรึกษาด้านรักษาพยาบาลและส่งต่ออย่างรวดเร็ว และ 3.ตัดวงจรการระบาดของโรค ด้วยการป้องกันควบคุมโรคให้เร็วขึ้น

นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า สธ.ได้ออกมาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออก 5 ด้าน ดังนี้ 1.การเฝ้าระวังควบคุมโรคในทันทีที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2.ป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำหรือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน 3.การเข้าถึงบริการต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อลดการป่วยตาย 4.การสื่อสารความเสี่ยงต้องชัดเจนและทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานให้ความสำคัญและเกิดความร่วมมือ และ 5.การร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งทั้ง 5 มาตรการดังกล่าว ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่จากทุกภาคส่วนและประชาชนดำเนินการอย่างจริงจังและต่อ เนื่อง เพื่อลดจำนวนการป่วยตายจากโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่

นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ในส่วนกรมควบคุมโรค ได้มีมาตรการเข้มข้นในเรื่องนี้ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกที่อาจจะเกิดขึ้น โดยกำชับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ ประสานกับ สสจ. เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ลงพื้นที่เพื่อควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมสนับสนุนการดำเนินการทุกด้าน เช่น ทีมสอบสวนโรค ทีมปฏิบัติการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย ทรายกำจัดลูกน้ำ ยาทากันยุง และสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดยุงลายเพื่อลดปริมาณยุงลายให้มากที่สุด

ด้าน นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปัจจุบันของไทย พบว่า จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-12 กรกฎาคม 2555) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน 21,289 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 33.33 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต จำนวน 24 ราย เมื่อแยกเป็นรายภาคที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ ภาคกลาง ผู้ป่วย 8,046 ราย เสียชีวิต 7 ราย รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ป่วย 5,396 ราย เสียชีวิต 7 ราย ภาคใต้ ผู้ป่วย 4,590 ราย เสียชีวิต 5 ราย และภาคเหนือ ผู้ป่วย 3,257 ราย เสียชีวิต 5 ราย ตามลำดับ

"ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด มีดังนี้ มากที่สุดคือ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ป่วย 294 ราย รองลงมาจังหวัดแพร่ 251 ราย เชียงราย 243 ราย น่าน 59 ราย ลำปาง 52 ราย พะเยา 50 ราย ลำพูน 13 ราย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน 12 ราย รวม 8 จังหวัด จำนวนผู้ป่วย 974 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิตเลย และหากพิจารณาตามอัตราป่วย พบว่า จังหวัดที่มีอัตราป่วยน้อยที่สุดคือ จังหวัดลำพูน คิดเป็นอัตราป่วย 3.21 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราป่วยทั้งประเทศ 10 เท่า" นพ.วิชัย กล่าว

นพ.วิชัย กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับกรณีศึกษาการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งเกิดจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและความเชื่อมั่นในศักยภาพของ ตนเอง จนเกิดนักวิจัยชุมชนขึ้น และจับมือกันเพื่อร่วมกันสร้าง “หมู่บ้านอยู่ดี มีสุข และปลอดไข้เลือดออก” รวมถึงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ดำเนินการใน 6 หมู่บ้าน เป็นเวลา 3 ปีมาแล้ว แต่เดิมพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสถิติการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง แต่หลังจากดำเนินงานตามโครงการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายด้วยวิถีพื้นบ้าน การจัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด การเรียนรู้การสอบสวนโรค และมีการขยายการดูแลสุขภาพจาก อสม. สู่ ชาวบ้าน อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง มีการร่วมมือกันทำงานแบบบูรณาการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และลดการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของคนในชุมชนลงจำนวนมาก จนปัจจุบันตั้งแต่ต้นปี 2555 เป็นต้นมา ยังไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแม้แต่รายเดียว ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของคนในชุมชนตำบลน้ำดิบ

“ขอให้ประชาชนปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วย 5 ป.ปราบยุงลาย ได้แก่ ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง และปฏิบัติจนเป็นนิสัย อาทิ ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์ของยุง และปฏิบัติตนเองจนเป็นนิสัย หากประชาชนสามารถทำตามมาตรการดังกล่าว จะสามารถช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลงได้ ” นพ.วิชัย กล่าว







ที่มา : หนังสือพิมพ์  ASTV ผู้จัดการออนไลน์

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

สธ.ตั้งเป้า "มือเท้าปาก" ตายเป็นศูนย์ ป่วยไม่เกิน 1.8 หมื่นราย

สธ.มั่นใจคุมมือเท้าปากได้ดีกว่า หวัด 2009 พร้อมตั้งเป้าการตายต้องเป็นศูนย์ และผู้ป่วยต้องไม่เกิน 18,000 คน ส่วนข่าวลือเด็กตายต้องรอผลพิสูจน์อีกครั้ง เชื่อหลัง ส.ค.สถานการณ์จะดีขึ้น เตือนผู้ใหญ่สามารถป่วยมือเท้าปากได้ แต่เปอร์เซ็นต์การเกิดน้อย ต้องรักษาความสะอาดเช่นกัน

สธ.ตั้งเป้า "มือเท้าปาก" ตายเป็นศูนย์ ป่วยไม่เกิน 1.8 หมื่นราย

วันนี้ (19 ก.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าว ว่า สธ.ได้มีการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับกุมารแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และผู้อำนวยการโรงพยาบาลแต่ละจังหวัดทั่วประเทศเพื่อหารือเกี่ยวกับ สถานการณ์โรคมือเท้าปาก โดยได้ทำการหารือกันใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.สถานการณ์โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่พบตามฤดูกาลซึ่งเมื่อสิ้นสุดเดือนสิงหาคม สถานการณ์ก็จะดีขึ้น ดังนั้นช่วงนี้เราจึงควรเตรียมความพร้อมและให้ความรู้กับผู้ปกครองเป็นหลัก 2.รีบหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ และหากพบเด็กป่วยมีอาการต้องสงสัยก็ให้ส่งเด็กกลับบ้านและทำความสะอาด โรงเรียน และ 3.หามาตรการลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยคือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตน้อยที่สุด โดยเมื่อปี 2554 พบผู้ป่วย 18,000 คน และเสียชีวิต 6 คน แต่ปีนี้ 2555 พบผู้ป่วยประมาณ 13,000 คน แต่จะพยายามให้การตายเป็นศูนย์ และตั้งเป้ายอดผู้ป่วยไม่เกิน 18,000 คน

นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า โรคมือเท้าปากอาจเกิดในผู้ใหญ่ได้ แต่ก็เป็นเปอร์เซ็นต์น้อยเนื่องจากโรคนี้ 90% เกิดขึ้นในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยาพบว่า สถานการณ์โรคนั้นเป็นการแพร่กระจายตามฤดูกาลซึ่งมันมาสอดคล้องกับผู้ป่วย 2 เรื่อง คือ เรื่องของเชื้อและระบบการดูแลรักษา ซึ่งโรคมือเท้าปากก็มีมากว่า 10 ปีแล้ว แต่เชื้อไม่รุนแรงและประชาชนก็เข้าถึงการบริการได้ดีระบบในการดูแลผู้ป่วย ของโรงพยาบาลก็ดี ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายในการควบคุมโรคนี้คือในระดับอนุบาล และศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กที่ต้องดูแลเรื่องความสะอาด ซึ่งตอนนี้ภาคอีสานและภาคกลางพบการระบาดมากสุด โดยทาง สธ.มั่นใจว่าสามารถคุมสถานการณ์ได้ไม่เหมือนตอนที่ไข้หวัด 2009 ระบาดใหม่ๆ ที่เราไม่รู้อะไรเลย แต่โรคมือเท้าปากเรารู้หมดว่าเชื้อจะเข้าทางปากออกทางอุจจาระ ดังนั้นถ้าเรารักษาความสะอาดกินร้อนช้อนกลางก็จะช่วยลดการระบาดได้

นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีการเสียชีวิตของเด็กที่โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานีนั้น สาเหตุการตายเบื้องต้นแพทย์ยืนยันว่า ไม่ได้เกิดจากโรคมือเท้าปาก แต่ก็ต้องรอผลพิสูจน์อีกครั้ง ซึ่งต้องรออีก 5 วันถึงจะรู้ผลอย่างละเอียด โดยเชื้อไวรัสโรคมือเท้าปากในปีนี้ คือค็อกซากี จะเป็นเชื้อที่มีผลในการทำลายระบบกล้ามเนื้อหัวใจ แต่สำหรับเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 จะมีผลต่อการทำลายระบบประสาท ซึ่งเชื้อที่พบในไทยทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามคนที่เคยป่วยแล้วก็ไม่ควรประมาทเนื่องจากสามารถกลับมาเป็นได้ อีก หากไม่รักษาความสะอาด ทั้งนี้แม้แต่พ่อแม่ผู้ปกครองเองก็ควรรักษาความสะอาดเพราะมีโอกาสเป็นได้ เหมือนกันถึงแม้ว่าจะมีโอกาสน้อยก็ตามแต่ก็ไม่ควรประมาท







ที่มา :หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks