ฝ่ายพัฒนามาตรฐานและวิจัยทางระบาด
วิทยาโรคติดต่อ สำนักระบาดวิทยา รายงานสถานการณ์โรคมือเท้าปากในประเทศไทย
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 25 กรกฎาคม 2555 พบว่ามีผู้ป่วยแล้ว 17,656 ราย
เสียชีวิต 2 ราย ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และพบมากในเพศชาย
ภูมิภาคที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ ภาคเหนือ รองลงมา คือ ภาคใต้ ภาคกลาง
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยมากที่สุด 5
อันดับแรก คือ พะเยา เชียงราย ภูเก็ต ระยอง และสุราษฎร์ธานี
โดยสองสัปดาห์ล่าสุด ตั้งแต่วันที่ 8-21 กรกฎาคม 2555 พบผู้ป่วยจำนวน 2,829
ราย ซึ่งขณะนี้ ยังมีการระบาดในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
และคาดว่าจะยังคงมีการระบาดของโรคต่อไปอีกประมาณ 6-8 สัปดาห์
อย่างไรก็ตามทางกระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า โรคมือ เท้า ปาก
เป็นโรคที่เกิดขึ้นทุกปีในประเทศไทย และไม่ใช่โรคร้ายแรง
ถึงกระนั้นก็อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรศึกษา และทำความรู้จักโรคนี้ให้ดี
เพื่อจะได้เฝ้าระวัง และป้องกัน ก่อนที่จะกลายเป็นโรคอันตรายร้ายแรง
สาเหตุของโรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสลำไส้
หรือเรียกภาษาทางการแพทย์ว่า เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)
โดยพบการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เมื่อปี พ.ศ.2500 กับเด็กในเมืองโตรอนโต
ประเทศแคนาดา โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ และยังมีตุ่มน้ำใสๆในช่องปาก มือ
และเท้า
การแพร่ระบาดของโรคสามารถติดต่อกันได้โดยง่าย
โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย
โดยติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง ทั้งทางจมูก, ลำคอ,
และน้ำจากในตุ่มใส ซึ่งอาจติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ หรือการไอ
จามรดกันก็ได้ นอกจากนี้เชื้อโรคจะอยู่ในอุจจาระของผู้ป่วย
และจะแพร่กระจายได้มากที่สุดในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ
และจะยังคงพบเชื้อในอุจจาระต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์
เชื้อเอนเทอโรไวรัสตัวนี้สามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้
และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน
จึงทำให้แพร่เชื้อได้อยู่จนกว่ารอยโรคจะหายไป อย่างไรก็ตาม
โรคนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่สัตว์ หรือจากสัตว์สู่คนได้
สังเกตุอย่างไรว่าใครติดเชื้อ ในระยะฟักตัวซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3-6 วัน
ผู้ติดเชื้อจะมีไข้ต่ำๆ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวอยู่ประมาณ 1-2 วัน
จากนั้นจะเริ่มเจ็บปาก ไม่ยอมทานอาหาร มีตุ่มแดงที่เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม
โดยตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส รอบแผลจะอักเสบแดง
ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น จากนั้นจะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน)
ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า บางทีอาจพบที่ก้น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ด้วย
ในเด็กทารกอาจพบกระจายทั่วตัวได้ ทั้งนี้อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน
7-10 วัน โดยทิ้งรอยแผลเป็นให้เห็น
อย่างไรก็ตาม โรคมือ เท้า ปาก อาจแสดงอาการในหลายระบบ ได้แก่
ระบบทางเดินหายใจ มีอาการเหมือนไข้หวัด ไอ มีน้ำมูกใส เจ็บคอ,
อาการทางผิวหนัง, ระบบประสาท อาการเยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ,
ระบบทางเดินอาหาร มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำเล็กน้อย ปวดหัว อาเจียน,
อาการทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ และสุดท้ายอาการทางหัวใจ
สามารถเกิดอาการกล้ามเนื้อ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้
ซึ่งอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
หากผู้ป่วยเกิดผื่น ตุ่ม ที่มือ เท้า และปากนานเกิน 3 วัน
รวมถึงมีอาการซึมตามมา ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
เพราะอาการซึมเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เชื้อกำลังเข้าสู่สมองแล้ว
และหากปล่อยไว้ไม่รักษา เชื้อจะเข้าสู่สมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ
จนทำให้หัวใจล้มเหลว และเกิดน้ำท่วมปอดจนเสียชีวิตได้
การรักษาโรคมือ เท้า ปาก หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน
โรคนี้สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน เป็นโรคที่ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ
เพราะสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส
จึงต้องใช้ภูมิคุ้มกันของตัวเองต่อสู้กับเชื้อโรค
โดยแพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ หลังจากการติดเชื้อ
ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค แต่ก็อาจเกิดโรคมือ เท้า ปาก
ซ้ำได้จากเอนเทอโรไวรัสตัวอื่นๆ ดังนั้น
หากผู้ปกครองสังเกตุเห็นลูกหลานมีอาการภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม
อาเจียนบ่อยๆ หอบ แขนขาอ่อนแรง ไม่ยอมรับประทานอาหารและน้ำ
ควรนำไปพบแพทย์ทันที
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก แต่สามารถป้องกันได้
โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี รักษาความสะอาด หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อยๆ
โดยเฉพาะหลังการขับถ่าย และก่อนรับประทานอาหาร ใช้ช้อนกลาง
และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ที่สำคัญ
ต้องแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคออกจากกลุ่มเพื่อนๆ ในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก
ไม่ให้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และต้องทำความสะอาดพื้น
ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น ตลอดจนเสื้อผ้า ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
สามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก
ได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดและค้นหาราย
ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
www.ddc.moph.go.th และ
http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/index.php
และหากต้องการสื่อเพื่อการรณรงค์การเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก
สามารถติดต่อขอรับได้ที่ ศูนย์สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
bit.ly//thaihealth-media หรือ นางสาวศิริภรณ์ โยจินา 02-298-0500 ต่อ 1245
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI
คลิปตัวอย่าง PG&P
FEED PG&P