น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

"อาวุธร้าย" ทำลายปอด | PG&P

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สูบบุหรี่ นอกจากจะเผาเงินยังเผาไฟเข้าสู่ร่างกายเพราะบุหรี่เป็นอาวุธร้ายทำให้ปอดอักเสบและเกิดการอุดกั้นจนร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

 โรคปอดอุดกั้น

ความพิเศษของ "โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง" (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) คือเป็นกลุ่มโรคที่มักจะถูกมองข้ามหรือไม่ได้รับการวินิจฉัยและเป็นสาเหตุ การตายอันดับ 5 ของโลก ที่อาจจะขยับขึ้นเป็นอันดับ 3 ในอีก 18 ปีข้างหน้าหรือปี 2573 อีกด้วย

ย้อนกลับไปในปี 2548 มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนผู้เสียชีวิตรวมทุกสาเหตุทั่วโลก ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ในอีก 10 ปีข้างหน้า นอกเสียจากว่าจะมีการจัดการป้องกัน และรณรงค์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะพฤติกรรมสูบบุหรี่ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักของโรค

"โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น จะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบเรื้อรัง ซึ่งทำให้โครงสร้างของหลอดลมเปลี่ยนไปจนแคบลง จากการสูดเอาสารพิษต่างๆ เช่น ควันบุหรี่หรือสารเคมี มีผลให้อาการอักเสบแพร่ขยายออกไปก้วางยิ่งขึ้น" ศ.พญ.สุมาลี เกียรติบุญศรี หน่วยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์อธิบาย

ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แต่ ศ.พญ.สุมาลี ย้ำว่าไม่ได้หมายความว่าการสูบบุหรี่ที่จะเป็นเหตุใหญ่เพียงอย่างเดียว ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เลยหรือเลิกสูบมานานแล้วก็อาจล้มป่วยจากโรคนี้ได้เช่นกัน

ปอดอุดกั้นเรื้อรังถือเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ ประกอบด้วย โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพองผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น จะมีอาการหายใจติดขัดหอบ ไอเรื้อรัง เหนี่อยง่ายและมีเสมหะมาก

จากการสำรวจระบาดวิทยาและผลกระจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในทวีปเอเชีย โดยบริษัททาเคดา ฟาร์มาซูติคอล ถือเป็นการสำรวจขนาดใหญ่เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นครั้งแรกของเอเชีย ซึ่งครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างกว่า 100,00 ครัวเรือนในจีน ฮ่องกง อินโดนีเชีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม จะเห็นได้ว่าความชุกของโรคอยู่ในกลุ่มคนวัย 40 ปีขึ้นไป คิดเป็นประมาณร้อยละ 6

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า 1 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในระดับรุนแรง

รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพิ่มเติมว่าในประเทศไทย ร้อยละ 61 ของผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจจำนวน 214 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้ไปพบแพทย์แล้ว เนื่องจากมีอาการของโรคและอาการกำเริบต่างๆ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่มีโอกาสเจ็บป่วยสูง เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีมลพิษทางอากาศอยู่รอบตัว

คนกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ ไอ มีเสมหะ แพทย์แนะนำให้เข้ารับการตรวจสอบสภาพปอดอยู่สม่ำเสมอ เพื่อจะได้ตรวจหาอาการของโรคพบแต่เนิ่นๆ และรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยการใช้ยาพ่น ยากิน สิ่งสำคัญคือ ต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงที่จะไปสัมผัสกับสารพิษโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ร่วมกับการออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร

การตรวจสมรรถภาพปอด (Spirometr)

การตรวจสมรรถภาพของปอด คือการตรวจวัดอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอดด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) เพื่อบ่งชี้ถึงการเสื่อมของปอด

ก่อนตรวจ ผู้เข้าทดสอบไม่ควรออกกำลังกายก่อนมาตรวจอย่างน้อย 30 นาที ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดบริเวณอกและท้อง เลี่ยงการทานอาหารจนอิ่มมากก่อนตรวจ 2 ชั่วโมง งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยโรคหืดต้องหยุดยาขยายหลอดลมก่อนตรวจ

วิธีทดสอบ เริ่มจากยืนตัวตรงตามสบาย จากนั้นหนีบจมูก แล้วหายใจเข้าจนเต็มที่อมกระบอกเครื่องเป่า และปิดปากให้แน่นไม่ให้มีลมรั่วออกภายนอก เมื่อหายใจออกมาต้องหายใจออกให้เร็วและแรงอย่างเต็มที่กว่าจะไม่มีอากาศออก จากปอดอีก ซึ่งควรจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 วินาที

จากนั้น จะวัดจำนวนของอากาศที่วัดได้เมื่อหายใจออกหรือ (FVC: Forced Vital Capacity) และตรวจหาความผิดปกติ ซึ่งอาจจะเป็นมีการอุดกั้นของหลอดลม ความยืดหยุ่นของปอดลดลง หรือมีความผิดปกติทั้ง 2 อย่างรวมกัน ซึ่งต้องครวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อรักษาต่อไป







ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดย ลาลินีย์ ทันพิลา

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

ไข่แดงก่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ไม่แพ้บุหรี่ | PG&P

วารสารทางวิชาการ “โรคหลอดเลือดแดงแข็ง” ของสหรัฐฯ รายงานทางออนไลน์ว่า หากกินไข่แดงมากๆ อาจจะทำให้เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้เร็วขึ้น ไม่แพ้กับการสูบบุหรี่
ดร.เดวิด สเปนซ์ มหาวิทยาลัยเวสเติร์น ของแคนาดา ได้ ศึกษาโดยสำรวจจากคนไข้ชาวแคนาดาอายุเฉลี่ย 61.5 ปี นับไม่ต่ำกว่า 1,200 ราย พบว่า การกินไข่แดงเป็นประจำ จะเร่งให้เกิดคราบไขมันอุดตันหลอดเลือดแดงได้ง่ายขึ้น เหมือนกับการสูบบุหรี่ การเป็นดังกล่าวนับเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคลมอัมพาตและหัวใจวายได้
คณะนักวิจัยได้กล่าวว่า ปกติคราบไขมันจะจับผนังหลอดเลือดตามความยาวเรื่อยไป ตั้งแต่อายุล่วงเข้า 40 ปี และยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากสูบบุหรี่ และกินไข่แดง เคยมีการศึกษาพบว่า ผู้ที่กินไข่แดงอาทิตย์ละ 3 ฟองขึ้นไป จะมีคราบไขมันมากกว่าคนที่กินไม่เกินกว่าอาทิตย์ละ 2 ฟอง เรื่องนี้ยังไม่ขึ้นอยู่กับเพศ ไขมันในเลือด ความดันโลหิต ดัชนีมวลกายและการเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
ดร.เดวิดได้แนะนำให้ทำการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อพิจารณา รวมถึงการออกกำลังและขนาดโตของพุงประกอบด้วย แต่ได้ย้ำว่า ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ควรจะหลีกเลี่ยงกับการกินไข่แดงประจำไว้


ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

22 ก.ย.วันรณรงค์โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวโลก | PG&P

ชมรมโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวฯ เผยสถิติผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังทั่วโลกมีประมาณ 1-2 รายต่อประชากร 1 แสนคน  เตรียมจัดวันรณรงค์โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวโลก 22 ก.ย.นี้

22 ก.ย.วันรณรงค์โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวโลก

ศ.พญ.แสงสุรีย์ จูฑา ประธานชมรมโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์แห่งประเทศไทย (Thai CML Working Group) เปิด เผยว่า ในปี 2555 นี้ ทางชมรมฯ ได้ร่วมกับกลุ่มตัวแทนผู้ป่วยภายใต้ Thai CML Patient Group ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML และประชาสัมพันธ์งาน "วันโรคมะเร็ง เม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์แห่งโลก"หรือ World Awareness Day 2012 อย่างเป็นทางการในประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้ป่วย CML ทั่วโลก ที่กำหนด ให้วันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันแห่งการรณรงค์โรค CML โดยทางชมรมจะจัดงานขึ้น ในวันที่ 22 กันยายนนี้ เวลา 10.00-11.30 น. ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ทั้งนี้ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ ทางการแพทย์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด และไม่ได้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งจากสถิติผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง หรือ CML ทั่วโลกมีประมาณ 1-2 รายต่อประชากร 1 แสนคน โดยโรคนี้จะมีการสร้างเม็ดเลือดขาวที่สูงผิดปกติ โดยสามารถทราบได้จากการตรวจสุขภาพทั่วไป สำหรับอาการที่พบได้แก่ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง น้ำหนักลด คลำเจอก้อนที่ชายโครงซ้าย หรือผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ



         

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

ร่างกายผู้ชายเปราะบางยิ่งกว่าผู้หญิง เป็นเบาหวานแบบที่ 2 ได้ง่ายกว่ากัน | PG&P

นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ของอังกฤษ ค้นพบว่า ผู้ชายจะเป็นโรคเบาหวานแบบที่ 2 ได้ง่ายกว่าผู้หญิง เพราะร่างกายสู้โรคโดยธรรมชาติได้น้อยกว่ากัน

 ร่างกายผู้ชายเปราะบางยิ่งกว่าผู้หญิง เป็นเบาหวานแบบที่ 2 ได้ง่ายกว่ากัน

พวกเขาพบว่า บุรุษเพศที่อ้วนน้อยกว่าสตรี ทั้งที่ดัชนีมวลกายต่ำกว่าก็เป็นได้ สงสัยว่าอาจเป็นเพราะแหล่งสะสมของไขมันอยู่ต่างที่กัน อาจมีส่วนสำคัญ ด้วยเหตุว่าผู้ชายจะมีไขมันสะสมอยู่ที่ตับและแถวรอบเอว ในขณะที่ของสตรีจะอยู่แถวใต้ผิวหนัง แถวโคนขาและสะโพก ซึ่งส่อว่าผู้หญิงคงต้องมีไขมันสะสม เป็นปริมาณมากกว่าเพศตรงกันข้าม จึงจะเป็นอันตรายถึงขีดจะเป็นโรค

โรคเบาหวานแบบที่ 2 เกิดจากมีน้ำตาลในเลือดมากเกิน เนื่องจากร่างกายขาดความสามารถที่จะควบคุมปริมาณน้ำตาลไว้ได้ เป็นเหตุให้อวัยวะต่างๆพากันเสื่อมสภาพ

นักวิจัยได้สรุปความเห็นว่า จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บุรุษตามดินแดนหลายส่วนของโลก พากันป่วยเป็นเบาหวาน เกินหน้าผู้หญิงไปตามๆกัน







ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมบุหรี่ แนวทางปกป้องสังคมไทยพ้นพิษภัยยาสูบ | PG&P

“บุหรี่” ตัวการร้ายก่อโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดลม ปัจจัยหลักที่ทำให้ประชาชนไทยเสียชีวิตจากการบริโภคยาสูบปีละกว่า 42,000 คน และสูญเสียเงินในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมหาศาล เชื่อว่าหลายคนต้องทราบพิษสงของมันดี แม้กระทั่งตัวผู้สูบเอง
ท่ามกลางกระแสณรงค์ต่อต้านการบริโภคยาสูบอย่างต่อเนื่อง โดยภาคประชาสังคมและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง แต่อัตราการบริโภคยาสูบของคนไทยกลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง และเยาวชน ซึ่งพบว่าเยาวชนเริ่มสูบบุหรี่ที่อายุน้อยลง จากเริ่มสูบประจำเมื่ออายุเฉลี่ย 18.5 ปี เป็น 17.4 ปี แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำการตลาดของกลุ่มธุรกิจยาสูบ ที่สามารถโฆษณายาสูบเข้าถึงตัวผู้หญิงและเยาวชนได้ง่ายและใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ในขณะที่กฎหมายการควบคุมยาสูบของไทยไม่ได้รับการบังคับใช้อย่างจริงจัง อีกทั้งล้าสมัยตามไม่ทันการตลาดรูปแบบใหม่ๆ  จึงต้องพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานให้สามารถควบคุมสถานการณ์การบริโภค ยาสูบให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการแก้ปัญหาไม่สามารถจะทำได้โดยองค์กรใด องค์กรหนึ่ง ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จับมือ กระทรวงสาธารณสุข, มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่, ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ และองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัด ประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 11 เรื่อง “การแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ”ขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้
นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานในงาน กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำขวัญรณรงค์ในวันงดสูบบุหรี่โลกว่า “จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบ” เพื่อส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยได้ร่วมกันรณรงค์เปิดโปงแนวทางกลยุทธ์การตลาด และสร้างกลไกป้องกันการแทรกแซงของอุตสาหกรรมบุหรี่ ให้สังคมได้รู้เท่าทันเพื่อปกป้องเยาวชนและประชาชนไทยจากยาสูบ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบฉบับใหม่ เพื่อใช้แทน 2 ฉบับเดิม ซึ่งใช้มานาน 20 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 คือ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และพ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยผนวกให้เป็นฉบับเดียวและปรับบทบัญญัติให้มีความทันสมัย ทันต่อกลยุทธ์การตลาดของบริษัทบุหรี่ และผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ๆ ที่ออกสู่ท้องตลาด
นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้พูดถึงสถานการณ์การแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบในประเทศไทย ว่า อุตสาหกรรมยาสูบได้ใช้ความพยายามทุกวิถีทางในการขัดขวางการควบคุมยาสูบในทุก ระดับ โดยรัฐและภาคีเครือข่ายต้องตื่นตัวที่จะต่อกรกับสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งประเทศไทยเองได้ลงนามในกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ อันเป็นอนุสัญญาว่าด้วยสุขภาพฉบับแรก ที่จัดทำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อร่วมเป็นภาคีผลักดันกฎหมายควบคุมยาสูบโลก ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมยาสูบก็พัฒนายุทธวิธีในการค้าขึ้นด้วยเช่นกัน โดยองค์การอนามัยโลกเรียกยุทธวิธีนี้ว่า “การแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ” ซึ่งลึกเร้นและรุกหนักขึ้นเป็นลำดับ
“กลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่นำมาใช้เพื่อแทรกแซงให้นโยบายควบคุมยาสูบ ทุกระดับอ่อนแอ มีทั้ง การสืบความลับเพื่อประเมินและกำกับฝ่ายควบคุมยาสูบและแนวโน้มทางสังคม การประชาสัมพันธ์เอสร้างความนิยมต่อธุรกิจยาสูบ การให้ทุนกลุ่มการเมืองในการเลือกตั้ง หรือในการดำเนินการกฎหมายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจยาสูบ ตลอดจนการแทรกแซงการกำหนดและการปฏิบัติตามนโยบายทั้งด้านสาธารณสุขและด้าน อื่นที่มีผลต่อการควบคุมยาสูบ นอกจากนั้นอุตสาหกรรมยาสูบยังใช้การจักกิจกรรมในรูปแบบองค์กรธุรกิจเพื่อ สังคม หรือ ซีเอสอาร์เพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับธุรกิจดังกล่าว รวมถึง การสร้างภาพว่าอยู่ข้างกลุ่มปกป้องเยาวชนจากการใช้ยาสูบ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่คนในสังคมควรตระหนักคือการรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของ บริษัทยาสูบเหล่านี้ และร่วมกันเป็นหูเป็นตา เพื่อเปิดโปงกระบวนการดังกล่าว”
นพ.ประกิตกล่าวอีกว่า การยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบต้องอาศัยพลังจากทุกภาคส่วนตอบโต้การแทรกแซงของ อุตสาหกรรมยาสูบ โดยรัฐบาลต้องดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และตอบโต้กลยุทธ์ มีการบริหารการควบคุมยาสูบอย่างโปร่งใส และกำหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพ  เช่น จำกัดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานรัฐกับธุรกิจยาสูบ ห้ามเจ้าหน้าที่และองค์กรรับเงินสนับสนุน เพื่อป้องกันประโยชน์แอบแฝงที่เอื้อต่อธุรกิจยาสูบ รวมทั้งไม่ควรอนุญาตให้โรงงานยาสูบ ผลิตยาสูบราคาถูก ซึ่งพุ่งเป้าไปที่เยาวชนและกลุ่มคนรายได้น้อย ส่งผลให้มีจำนวนผู้สูบบุหรี่มากขึ้น
ด้าน ผศ.ดร.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า นอกจากการแทรกแซงด้วยกลวิธีต่างๆ แล้ว อุตสาหกรรมยาสูบยังใช้ภาคประชาสังคม เป็นองค์กรบังหน้า เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมให้แก่ตนเองอีกด้วย อาทิ ชมรม/สมาคมนักสูบ ที่มักอ้างเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของผู้สูบ, การให้ทุนสนับสนุนสถาบันวิจัยบุหรี่และนักวิจัย บิดเบือนและแย้งผลการวิจัยข้อเสียของบุหรี่, การใช้กลุ่มสมาคมผู้ปลูกยาสูบเป็นเครื่องมือเคลื่อนไหวชะลอการขึ้นภาษี และพันธมิตรทางธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมยาสูบ เช่นธุรกิจบันเทิง ภาพยนตร์ ท่องเที่ยว และสื่อมวลชนบางกลุ่มอีกด้วย
เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมยาสูบมีอิทธิพล และอำนาจมหาศาล อีกทั้งใช้กลยุทธ์การตลาดที่แนบเนียนแยบยล หลอกล่อให้ผู้ที่ไม่รู้เท่าทัน จนทำให้จำนวนนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกัน จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้ง อุตสาหกรรมยาสูบ พร้อมทั้งติดอาวุธทางปัญญาแก่เยาวชนไม่ให้ติดกับดักสินค้าแห่งความตายนี้
สูบบุหรี่ เสพความตาย พ่นพิษร้ายสู่คนใกล้ชิด 

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks