น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

เคล็ดลับเลือกอาหารว่างให้เด็ก กินดีไม่อ้วน

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555


อาหารว่างแบบไหนเหมาะกับเด็กวัยกำลังโต พิจารณาง่ายๆ จาก 3 หลัก หากเลือกไม่ดีทำลายสุขภาพทางอ้อม ระวัง!..เด็กอ้วน เบาหวาน ภูมิแพ้
เด็กกับอาหารว่างหรือขนมของกินเล่นจุบจิบ ดูจะเป็นของคู่กัน ดังนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครองจึงต้องรู้หลักเลือกอาหารว่างที่ถูกต้องให้ลูกกิน หากเลือกได้เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงลูกเป็นโรคอ้วน เบาหวาน ขาดสารอาหาร และภูมิแพ้ได้
หลักเลือกอาหารว่างที่ดีสำหรับเด็ก ครั้งนี้ขอโฟกัสไปที่เด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี หรือระดับประถมศึกษา วัยที่กำลังเจริญเติบโตที่ควรวางรากฐานโภชนาการให้ดี โดยสุมนมาลย์ ดวงสูงเนิน ผจก.ฝ่ายการตลาดธุรกิจไอศกรีมเนสท์เล่ บอกว่าอาหารว่างที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควร "หวานกำลังดี" มีน้ำตาลเป็นส่วนประผสมไม่เกิน 3 ช้อนชา หรือ 12 กรัม "ใช้สีธรรมชาติ" หรือใส่สีผสมอาหารจากธรรมชาติที่ปลอดภัยผ่านการรับรองจากอย. และ "โภชนาการเหมาะสม" คือ ให้พลังงานน้อยกว่า 150 กิโลแคลอรี
ส่วนคำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย แนะว่า เด็กวัยดังกล่าว ควรกินอาหารว่างไม่เกินวันละ 2 มื้อ แต่ละมื้อของอาหารว่างควรให้พลังงานไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน หรือ 100-150 กิโลแคลอรี (ความต้องการพลังงานของเด็กวัยนี้ คือ 1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน)
ด้าน เภสัชกรทวีทรัพย์ เหลืองนทีเทพ ผจก.ฝ่ายโภชนาการเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี บอกอีกว่า เด็กวัยกำลังโตนี้ ร่างกายของพวกเขามีความต้องการพลังงานและโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อใช้สำหรับการทำกิจกรรมและการเรียนรู้ ดังนั้น การกินอาหารแค่ 3 มื้อหลักอาจไม่เพียงพอ จึงไม่ควรห้ามเด็กๆ กินขนมหรือของว่าง เพราะเด็กกระเพาะเล็ก แต่หิวบ่อย เนื่องจากใช้พลังงานเยอะ การห้ามของว่างแล้วให้เน้นกินมื้อหลักมากๆ กลับทำให้กระเพาะคราก เสี่ยงอ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังไม่ควรปลูกฝังให้เด็กกินอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสหวาน เพราะเป็นปัจจัยทำให้เป็นโรคอ้วน เบาหวาน และภูมิแพ้ได้
หนึ่งในเมนูอาหารว่างที่เด็กส่วนใหญ่ชอบกิน หนีไม่พ้นน้ำแข็งใส ซึ่งเภสัชกรทวีทรัพย์ บอกว่า ถ้าพ่อแม่ทำให้ลูกกินเองควรคุมความหวาน อย่าให้หวานมาก และควรเติมผลไม้ที่ลูกชอบเข้าไปด้วย ส่วนที่ซื้อจากร้านค้า อาจต้องซื้อในขนาดที่เล็ก ถ้าจะให้ดีควรชิมก่อน หากหวานมากควรเลี่ยง
อีกเมนูอาหารยอดฮิตก็คือ แซนวิช เภสัชกรทวีทรัพย์ แนะให้เลือกใช้ขนมปังโฮลเกรนแทนขนมปังขาว เพื่อให้ได้เส้นใยอาหารเสริมการทำงานของระบบขับถ่าย ส่วนเนื้อสัตว์ใส่เพื่อให้ได้โปรตีนก็เลือกที่ติดมันน้อย ขณะที่ผักก็ควรใส่ แต่ไม่ควรใช้ผักออกรสขมชัด เช่น ผักกาด เนื่องจากเด็กรับรสขมได้ดี แนะนำเป็นแครอทลวกสุก ดีกว่าแครอทสด เพราะแบบสุกร่างกายจะดูดซึมสารอาหารจากแครอทได้ดีกว่า
ไม่อยากทำลายสุขภาพเด็กทางอ้อม อย่ามองข้ามการเลือกอาหารว่างที่เหมาะสมให้กับเขา


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริมลดน้ำหนัก อาหารเสริมบำรุงผิว 
วิตามินบำรุงสายตา น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ,เสริมความงาม,เสริมสุขภาพ

คนไทยป่วยโรคหัวใจพุ่งกว่าปีละ 1.7 หมื่นราย


แพทย์ชี้คนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจกว่าปีละ 1.7 หมื่นราย ครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายเฉียบพลัน เหตุพฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยน กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ขาดออกกำลัง พักผ่อนน้อย

คนไทยป่วยโรคหัวใจพุ่งกว่าปีละ 1.7 หมื่นราย

นพ.สุขุม กาญจนพิมาย รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ กล่าวกรณีนายธราวุธ นพจินดา ผู้สื่อข่าวสายกีฬาเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ว่า โรคหัวใจถือเป็นโรคทางพันธุกรรม แม้จะไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย จากการตรวจสอบประวัติพบว่าพี่ชายของนายธราวุธก็เสียชีวิตด้วยโรคเดียวกัน แต่นายธราวุธ มีอาการโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน และเคยเป็นอัมพฤกษ์ร่วมด้วย โอกาสที่จะเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันจึงมีมากขึ้น 

นพ.สุขุม กล่าวต่อว่า คนไทยเป็นโรคหัวใจเยอะมาก ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือหลังวัยหมดประจำเดือน โดยแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 17,000 ราย ประมาณครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ทั้งนี้เป็นเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป  นิยมรับประทานอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ น้ำหนักตัวเกิน ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ทำงานหนักและพักผ่อนไม่เพียงพอ อีกทั้งยังละเลยการตรวจสุขภาพ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าปกติ 3-4 เท่า ดังนั้นจึงอยากให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง โรคกระเพราะ ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ต้องกลัวการเป็นโรค และต้องรู้จักอาการของตัวเอง อย่าปล่อยให้อาการรุนแรง

“ที่น่าเป็นห่วงคืออาการลวงทำให้ผู้ป่วยคิดว่าเป็นอาการของโรคอื่น เช่น จุกเสียด  ปวดกราม ปวดไหล่ข้างซ้าย อาการเหล่านี้อาจสัมพันธ์กับอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเพราะหัวใจมีเส้นเลือดและเส้นประสาทกระจายไปทั่ว และที่น่ากลัวกว่าคือไม่แสดงอาการเลย โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นเบาหวาน ดังนั้นหากมีอาการแน่นหน้าอก จุกเหมือนมีอะไรมากดทับจนทำอะไรไม่ได้นานประมาณ 5 นาที ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที” นพ.สุขุม กล่าว

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริมลดน้ำหนัก อาหารเสริมบำรุงผิว 
วิตามินบำรุงสายตา น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ,เสริมความงาม,เสริมสุขภาพ

กทม.เผยพื้นที่มลภาวะเป็นพิษ เข้มสนง.เขตตรวจควัน


กทม.เผยพื้นที่ผจญฝุ่น-มลภาวะเป็นพิษ เข้ม สนง.เขตตรวจควันดำ-ห่วงเด็ก-สูงวัยกลุ่มเสี่ยง

 กทม.เผยพื้นที่ผจญฝุ่น-มลภาวะเป็นพิษ เข้มสนง.เขตตรวจควันดำ-ห่วงเด็ก-สูงวัยกลุ่มเสี่ยง

นายเกรียงพล พัฒนรัฐ รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม.เปิดเผยว่า กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง (กจอ.) สำนักสิ่งแวดล้อมได้ติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในเขต กทม. ระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. ที่ผ่านมา สถานีตรวจรับคุณภาพอากาศและเสียงแบบถาวร จำนวน 21สถานี พบว่า บริเวณพื้นที่ริมถนนมีฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5ไมครอน, 10ไมครอน และก๊าซโอโซน เกินมาตรฐาน ในบางพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยที่ประกอบด้วยสารมลพิษอื่นๆ ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์

มีพื้นที่ดังนี้ บริเวณการเคหะชุมชนดินแดง ตรวจวัดได้ 12.6 - 86.3ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. เกินมาตรฐาน 50ไมโครกรัม 16ครั้ง จากการตรวจวัด 61ครั้ง, ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10ไมครอน ตรวจวัดได้ 9.9 - 285.5ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. ซึ่งมาตรฐานห้ามเกิน 120ไมโครกรัม พบเกินมาตรฐาน 28ครั้ง จากการตรวจวัด 449ครั้ง บริเวณสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ เขตราชเทวี สวนป่าวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง เขตพระโขนง และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เขตปทุมวัน

สำหรับก๊าซโอโซน ค่าเฉลี่ย 1ชั่วโมง ตรวจวัดได้ 0.0 - 158.1ส่วนในพันล้านส่วน ซึ่งมาตรฐานไม่เกิน 100ส่วนในพันล้านส่วน เกินมาตรฐาน 9ครั้ง จากการตรวจวัด 4,989ครั้ง พบสำนักงานเขตราชเทวี เขตราชเทวี และกรมการขนส่งทางบก เขตจตุจักร มีปัญหามากที่สุด

สำนักสิ่งแวดล้อม จึงเร่งรัดให้สำนักงานเขตดังกล่าวเข้มงวดการตรวจจับรถควันดำ เพิ่มความถี่ในการล้างถนน พร้อมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชน ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบได้ง่าย ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่นอกอาคารเป็นเวลานานและงดการออกกำลังกายนอกอาคาร 

เตือนบริโภค'หน่อไม้ดิบ' เสี่ยงรับไซยาไนด์อันตรายถึงชีวิต


กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนบริโภค “หน่อไม้ดิบ” ปริมาณมาก เสี่ยงรับไซยาไนด์ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ อันตรายถึงชีวิต 

เตือนบริโภค'หน่อไม้ดิบ' เสี่ยงรับไซยาไนด์อันตรายถึงชีวิต

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เฝ้าระวังการบริโภคอาหารของประชาชนทั่วประเทศ พบว่า หน่อไม้เป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภคมาก

ล่าสุดมีการโฆษณาชวนเชื่ออ้างว่าหน่อไม้บงหวานสามารถทานดิบได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงเตือนประชาชนที่นิยมบริโภคหน่อไม้ดิบหรือหน่อไม่ ที่ยังปรุงไม่สุก อาจได้รับพิษจากสารไซยาไนด์ ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อย สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมาก สารไซยาไนด์จะจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดง (hemoglobin) แทนที่ออกซิเจนทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน หมดสติและอาจทำให้เสียชีวิตได้

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้กำหนดให้ค่า ADI (Acceptable Daily Intake) หรือปริมาณสารที่ร่างกายรับได้ สำหรับสารไซยาไนด์เฉลี่ยที่ร่างกายรับได้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งจากการสำรวจครั้งนี้ พบว่าปริมาณไซยาไนด์เฉลี่ยที่คนไทยได้รับใกล้เคียงค่า ADI แต่ในกลุ่มที่ผู้บริโภคบริโภคหน่อไม้ในปริมาณมากเกินไปจะทำให้มีปริมาณสูงกว่าค่าADI กำหนดถึง 1.8 เท่า

นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กล่าวว่า การบริโภคหน่อไม้ที่ต้มสุกจะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการได้รับสารไซยาไนด์ แต่หากอุณหภูมิและระยะเวลาในการต้มไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถลดปริมาณสารชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนที่จะนำหน่อไม้ไปบริโภคควรปรุงให้สุก ด้วยการต้มหน่อไม้ในน้ำเดือดนานอย่างน้อย 10 นาที ซึ่งสามารถลดปริมาณสารไซยาไนด์ลงได้ถึงร้อยละ 90.5


บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks