อันตรายจากน้ำตาลที่เราคุ้นเคยกัน
อยู่ก็เช่น โรคฟันผุ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
โดยเฉพาะโรคฟันผุ น้ำตาลซูโครสเป็นตัวการสำคัญ การบริโภคน้ำตาลปริมาณสูงๆ
เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุ
โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่การดูแลรักษาฟันด้วยตัวเองยังไม่มีประสิทธิภาพพอ
โรคอ้วน การรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงเกินความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะนำพลังงานที่เหลือไปสะสมเก็บไว้ในรูปของไขมันทำให้น้ำหนักเพิ่ม ขึ้นและทำให้อ้วนได้ ถึงแม้ว่าการเกิดโรคอ้วนจะเกิดจากอาหารจำพวกไขมันมากว่าน้ำตาลก็ตาม
โรคเบาหวาน น้ำตาลไม่ได้เป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคเบา หวานแต่น้ำตาลเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน การรับประทานน้ำตาลที่มากเกินความต้องการ อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ส่วนฟรุกโตสที่แต่เดิมเชื่อว่า ฟรุกโตสอันตรายน้อยกว่ากลูโคสนั้นอาจต้องทำความเข้าใจใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าการสลายฟรุกโตสเกิดขึ้นที่ตับเท่านั้น ซึ่งการรับประทานในปริมาณที่สูงอาจก่อให้เกิดโรคตับแข็งได้เช่นเดียวกับ แอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ฟรุกโตสยังลดความสามารถในการจับของอินซูลินกับตัวจับที่ผิวเซลล์ ทำให้ต้องสร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น ดังนั้นฟรุกโตสน่าจะไม่ปลอดภัยกับผู้ป่วยโรคเบาหวานนัก
ส่วนน้ำตาลกับโรคหัวใจ พบ ว่า การรับประทานน้ำตาลปริมาณสูงเพียงอย่างเดียวไม่ทำให้เกิดโรคหัวใจ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ เป็นผลทางอ้อมของการรับประทานน้ำตาลเกิน เกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและตามด้วยหัวใจขาดเลือด ได้
จากข้อมูลน้ำตาลกับโรคต่างๆ ข้างต้น การเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับตนเองนั้น คงต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน ปัจจุบันอาหารที่ปราศจากน้ำตาลมีวางขายให้เลือกซื้อมากมายเป็นทางเลือกที่ดี ของผู้บริโภคที่ไม่ต้องการน้ำตาล แต่เราก็ควรทำความเข้าใจกับคำว่า ปราศจากน้ำตาล หรือ Sugar Free ไว้บ้าง
ข้อกล่าวอ้าง ปราศจากน้ำตาล ไม่มีน้ำตาล Sugar Free, Without Sugar, Free of Sugar, Zero, No Sugar, Sugarless การจะใช้คำกล่าวอ้างได้ อาหารนั้นต้องมีปริมาณน้ำตาลทั้งโมโนและไดแชคคาไรด์น้อยกว่า 0.5 กรัมต่อปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง และต่อปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แสดงบนฉลาก ดังนั้น เวลารับประทานควรคำนึงถึงหนึ่งหน่วยบริโภคด้วย บางครั้งผู้บริโภคเห็นว่าไม่มีน้ำตาล ทานเท่าไรก็ได้ ซึ่งไม่จริงเลย นอกจากนั้นอาหารประเภทนี้มักเติมสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนี้ยังคงแบ่งเป็น 2 ประเภท ที่ผู้บริโภคต้องนำไปร่วมพิจารณาก่อนการตัดสินใจเลือกด้วย
สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่ กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ มอลทิทอล (Maltitol) ชอร์บิทอล (Sorbitol) ไซลิทอล (Xylitol) อีรีธริทอล (Erythritol) ซึ่งกลุ่มนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน
สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส (Sucralose) สตีเวีย (Stevia) เป็นสารสกัด จากหญ้าหวาน แอสปาแตม (Aspartame) อะซิซัลเฟม-เค (Acesulfame K) แซคคารีน (Saccharin) ที่เราเรียกกันว่า ขัณฑสกร สารให้ความหวานกลุ่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรค เบาหวาน
นอกจากนี้ สารให้ความหวานแทนน้ำตาลกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล (Sorbitol) ไซลิทอล (Xylitol) ซึ่งมักเติมในลูกอม หมากฝรั่ง ช่วยป้องกันฟันผุ แคลอรีน้อยแต่หากรับประทานมากเกินอาจทำให้ท้องร่วงได้จึงต้องระวังโดยเฉพาะ ในเด็ก
ผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานคงต้องรอบคอบในการเลือกรับประทานมากกว่า ใครๆ นอกจากเลือกอาหารที่ปราศจากน้ำตาลและสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานแล้ว ควรเลือกอาหารที่ดูดซึมอย่างช้าๆ ด้วย ตัวอย่างอาหารในกลุ่มนี้ ได้แก่ พวกถั่วต่างๆ แอปเปิ้ล ส้ม องุ่น โยเกิร์ต ไขมันต่ำ ขนมปังผสมผลไม้ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน และพาสต้า
ผู้บริโภคที่รักสุขภาพควรเลือก ซื้อและรับประทานให้ตรงกับความต้องการของร่างกาย และควรรับประทานอาหารให้หลากหลายเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า โดย ศุภชัย พัฒนาภา, ฉัตรพร คล้ายแก้ว ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
โรคอ้วน การรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงเกินความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะนำพลังงานที่เหลือไปสะสมเก็บไว้ในรูปของไขมันทำให้น้ำหนักเพิ่ม ขึ้นและทำให้อ้วนได้ ถึงแม้ว่าการเกิดโรคอ้วนจะเกิดจากอาหารจำพวกไขมันมากว่าน้ำตาลก็ตาม
โรคเบาหวาน น้ำตาลไม่ได้เป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคเบา หวานแต่น้ำตาลเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน การรับประทานน้ำตาลที่มากเกินความต้องการ อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ส่วนฟรุกโตสที่แต่เดิมเชื่อว่า ฟรุกโตสอันตรายน้อยกว่ากลูโคสนั้นอาจต้องทำความเข้าใจใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าการสลายฟรุกโตสเกิดขึ้นที่ตับเท่านั้น ซึ่งการรับประทานในปริมาณที่สูงอาจก่อให้เกิดโรคตับแข็งได้เช่นเดียวกับ แอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ฟรุกโตสยังลดความสามารถในการจับของอินซูลินกับตัวจับที่ผิวเซลล์ ทำให้ต้องสร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น ดังนั้นฟรุกโตสน่าจะไม่ปลอดภัยกับผู้ป่วยโรคเบาหวานนัก
ส่วนน้ำตาลกับโรคหัวใจ พบ ว่า การรับประทานน้ำตาลปริมาณสูงเพียงอย่างเดียวไม่ทำให้เกิดโรคหัวใจ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ เป็นผลทางอ้อมของการรับประทานน้ำตาลเกิน เกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและตามด้วยหัวใจขาดเลือด ได้
จากข้อมูลน้ำตาลกับโรคต่างๆ ข้างต้น การเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับตนเองนั้น คงต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน ปัจจุบันอาหารที่ปราศจากน้ำตาลมีวางขายให้เลือกซื้อมากมายเป็นทางเลือกที่ดี ของผู้บริโภคที่ไม่ต้องการน้ำตาล แต่เราก็ควรทำความเข้าใจกับคำว่า ปราศจากน้ำตาล หรือ Sugar Free ไว้บ้าง
ข้อกล่าวอ้าง ปราศจากน้ำตาล ไม่มีน้ำตาล Sugar Free, Without Sugar, Free of Sugar, Zero, No Sugar, Sugarless การจะใช้คำกล่าวอ้างได้ อาหารนั้นต้องมีปริมาณน้ำตาลทั้งโมโนและไดแชคคาไรด์น้อยกว่า 0.5 กรัมต่อปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง และต่อปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แสดงบนฉลาก ดังนั้น เวลารับประทานควรคำนึงถึงหนึ่งหน่วยบริโภคด้วย บางครั้งผู้บริโภคเห็นว่าไม่มีน้ำตาล ทานเท่าไรก็ได้ ซึ่งไม่จริงเลย นอกจากนั้นอาหารประเภทนี้มักเติมสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนี้ยังคงแบ่งเป็น 2 ประเภท ที่ผู้บริโภคต้องนำไปร่วมพิจารณาก่อนการตัดสินใจเลือกด้วย
สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่ กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ มอลทิทอล (Maltitol) ชอร์บิทอล (Sorbitol) ไซลิทอล (Xylitol) อีรีธริทอล (Erythritol) ซึ่งกลุ่มนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน
สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส (Sucralose) สตีเวีย (Stevia) เป็นสารสกัด จากหญ้าหวาน แอสปาแตม (Aspartame) อะซิซัลเฟม-เค (Acesulfame K) แซคคารีน (Saccharin) ที่เราเรียกกันว่า ขัณฑสกร สารให้ความหวานกลุ่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรค เบาหวาน
นอกจากนี้ สารให้ความหวานแทนน้ำตาลกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล (Sorbitol) ไซลิทอล (Xylitol) ซึ่งมักเติมในลูกอม หมากฝรั่ง ช่วยป้องกันฟันผุ แคลอรีน้อยแต่หากรับประทานมากเกินอาจทำให้ท้องร่วงได้จึงต้องระวังโดยเฉพาะ ในเด็ก
ผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานคงต้องรอบคอบในการเลือกรับประทานมากกว่า ใครๆ นอกจากเลือกอาหารที่ปราศจากน้ำตาลและสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานแล้ว ควรเลือกอาหารที่ดูดซึมอย่างช้าๆ ด้วย ตัวอย่างอาหารในกลุ่มนี้ ได้แก่ พวกถั่วต่างๆ แอปเปิ้ล ส้ม องุ่น โยเกิร์ต ไขมันต่ำ ขนมปังผสมผลไม้ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน และพาสต้า
ผู้บริโภคที่รักสุขภาพควรเลือก ซื้อและรับประทานให้ตรงกับความต้องการของร่างกาย และควรรับประทานอาหารให้หลากหลายเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า โดย ศุภชัย พัฒนาภา, ฉัตรพร คล้ายแก้ว ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P