น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

สธ.สระแก้วเตือน "หญ้าเทวดา" แค่ผักพื้นบ้าน กินมากอันตราย!!!

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สธ.สระแก้วเตือนประชาชน "หญ้าเทวดา"รักษาสารพัดโรค แค่ผักพื้นบ้านเท่านั้น กินมากอันตราย!!!

หญ้าเทวดา

นพ. อัษฏางค์ รวยอาจิณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว ให้สัมภาษณ์ถึงหญ้าเทวดา หรือ หญ้าหยาดน้ำค้าง หรือหญ้ากาบหอยตัวเมีย ว่าหลังจากมีประชาชนจำนวนมาก ไปเก็บหญ้าหยาดน้ำค้าง หรือหญ้ากาบหอยตัวเมีย กลางทุ่งนา ริมถนน สระแก้ว-เขาฉกรรจ์ หมู่ที่ ต. เขาแกรรจ์ ไปต้มกิน โดยมีความเชื่อว่าสามารถรักษาโรคได้มากมายหลายโรคนนั้น ล่าสุด ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลในพื้นว่า ประชาชนที่นำเอาหญ้าดังกล่าว ไปต้มน้ำกินวันละ 2-3 ลิตร ในช่วง 2 วันแรกมีอาการเบาตัว ไม่มีอาการปวดเมื่อย จึงกินติดต่อกัน พอมาวันที่ 3 เริ่มมีอาการไข้สูงมาก เวียนศรีษะ อาเจียน ท้องเสีย มีอาการถ่ายท้องมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน จนต้องรีบส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จึงขอเตือนประชาชนที่นำหญ้าพวกนั้น เป็นเพียงผักพื้นบ้านประเภทหนึ่งเท่านั้น ไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรคตามคำร่ำลือใดใดทั้งสิ้น แล้วยังอาจเกิดอันตรายได้

นพ. สาธารณสุขจังหวัดสระแก้วกล่าวว่า จากการลงตรวจสอบพบว่าเป็นหญ้าชนิดเดียวกับที่เคยเป็นข่าวที่จังหวัด กำแพงเพชรเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้มีนักวิชาการ นักพฤกษศาสตร์ จากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เครือข่ายจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ และมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา ได้ระบุว่าเป็น “หญ้าหยาดน้ำค้างหรือหญ้ากาบหอยตัวเมีย” ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านพบมากในหลายจังหวัด สรรพคุณเด่นคือ ฆ่าเชื้อโรค ลดไข้ ทางภาคอีสานใช้รักษากามโรค หมอพื้นบ้านทางภาคอีสานใช้แก้กลากเกลื้อน ต้มอาบ ฆ่าแบคทีเรีย ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้


ที่มา :หนังสือพิมพ์มติชน

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริมลดน้ำหนัก อาหารเสริมบำรุงผิว 
วิตามินบำรุงสายตา น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ,เสริมความงาม,เสริมสุขภาพ

อันตรายยาชื่อพ้อง มองคล้าย สภาเภสัชกรรมเผยผลสำรวจเบื้องต้น

สภาเภสัชกรรมเผยผลสำรวจเบื้องต้น เกี่ยวกับการรับรู้เรื่องยาในต่างจังหวัด พบว่า 3 ใน 4 หรือร้อยละ 75 ใช้ยาโดยไม่รู้จักชื่อยา ในขณะที่คนกรุงเทพฯ ผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจก็ไม่แตกต่างกัน เผชิญอันตรายกว่าที่คิด เพราะยามีหลายชนิดที่ "ชื่อพ้อง มองคล้าย" เสี่ยงใช้ยาผิดชนิด ผิดขนาด หรือผิดประเภท และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การใช้ยา

ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์ นายกสภาเภสัชกรรมเปิดเผยว่า สภาเภสัชกรรมได้ทำการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องยาของผู้ป่วย โรคเรื้อรัง โดยทำในกลุ่มตัวอย่างที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลใหญ่ 3 แห่งในภาคใต้ และภาคกลาง จำนวนกว่า 1,000 คน เป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ภูมิแพ้ และโรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น โดยร้อยละ 20 ของกลุ่มตัวอย่างมีรายการยาที่ต้องใช้เป็นประจำ 6-10 รายการ แต่จากการสำรวจ พบว่า มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่รู้จักทั้งชื่อยาและสรรพคุณยาที่ตนเองใช้อยู่ ในขณะที่ผู้ป่วยอีกร้อยละ 75 ไม่รู้จักชื่อยา รู้แต่สรรพคุณและวิธีใช้ นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 25 ไม่เคยอ่านฉลากยาก่อนใช้ยา ร้อยละ 86 หยิบยาใช้เอง

จากผลสำรวจเบื้องต้น พบว่าปัจจุบันคนไทยยังให้ความสำคัญกับชื่อยาน้อยมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะชื่อยาเป็นภาษาอังกฤษจำยากไม่คุ้นหู หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องช่วยกันรณรงค์ เพราะการที่ผู้ป่วยไม่รู้จักชื่อยาที่ใช้นั้นอันตรายกว่าที่คิด เนื่องจากยาที่ใช้รักษาอาการหรือโรคเดียวกันมีหลายชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตมีเป็นสิบๆ ชนิด และแต่ละตัวยังมีหลายขนาดความแรง ซึ่งยาแต่ละตัวอาจจะเหมาะกับผู้ป่วยรายหนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยอีกราย หรืออาจมีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยอีกรายทั้งนี้ขึ้นกับสภาวะร่างกายของผู้ป่วย แต่ละคนด้วย

การที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ชื่อยาที่ใช้อยู่ทำให้น่าเป็นห่วง เพราะคนไทยชอบแนะนำยาให้คนใกล้ชิดหรือเพื่อนๆ กันลองใช้ดูเพราะเห็นว่าตนเองใช้ได้ผลดี การบอกเพียงรูปลักษณ์ของยามีโอกาสเสี่ยงที่จะแนะนำยาผิด


ที่มา :หนังสือพิมพ์มติชน


อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริมลดน้ำหนัก อาหารเสริมบำรุงผิว 
วิตามินบำรุงสายตา น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ,เสริมความงาม,เสริมสุขภาพ

ระวังภัยร้ายยุงลาย ระบาดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอันดับต้นๆ

เมื่อย่างเข้าสู่หน้าฝน...โรค ระบาดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น "ไข้เลือดออก" ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ เพราะเมื่อฝนตกก็จะพบเห็นว่ามีน้ำท่วมขังตามที่ต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 ภัยร้ายยุงลาย

แหล่งน้ำเหล่านั้นก็จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงชั้นเยี่ยมเลยทีเดียว บวกกับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวและมีความชื้นสูง ทำให้การแพร่พันธุ์ของเหล่ายุงลายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับภัยร้ายที่คืบคลานเข้ามาสู่ประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็กๆ และเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 15 ปี แม้ว่าไข้เลือดออกจะพบมากในผู้ป่วยที่เป็นเด็กก็ตาม แต่คนทุกเพศทุกวัยก็จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่สามารถติดเชื้อได้ตลอดเวลาเช่นกัน ถ้าทุกคนไม่ได้ระวังตัวให้ดี

การหลีกเลี่ยงการถูกยุงลายกัดในเวลากลางวันสำหรับผู้ใหญ่นั้นดูจะเป็น เรื่องง่าย แต่สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเด็กนั้นดูจะเป็นเรื่องยากเสียเหลือเกิน เพราะเด็กบางคนอาจจะไม่คิดว่าการถูกยุงกัดเพียงเล็กน้อย จะทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ปัจจุบันยังไม่พบวัคซีนที่ป้องกันไข้เลือดออกได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้ทุกคนติดเชื้อไข้เลือดออก โดยการช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง ไม่ให้เกิดการแพร่พันธุ์ของยุงลาย

การปิดภาชนะกักเก็บน้ำด้วยฝาปิด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้าไปวางไข่ หรือการเปลี่ยนน้ำในภาชนะต่างๆ ทุก 7 วัน เพื่อไม่ให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จะเป็นการช่วยขจัดภัยร้ายชนิดนี้มาสู่ทุกคนในครอบครัว และสังคมได้วิธีหนึ่ง มาช่วยกันเถิด


ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง โดยหยกสยาม


อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริมลดน้ำหนัก อาหารเสริมบำรุงผิว 
วิตามินบำรุงสายตา น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ,เสริมความงาม,เสริมสุขภาพ

ผู้ป่วยเบาหวานกับการรับประทานอาหารนอกบ้าน

ปัจจุบันการดาเนินชีวิตและหน้าที่ การงานทาให้หลายคนต้องรับประทานอาหารนอกบ้านเสมอ เช่น ตามร้านอาหารแผงลอย ร้านอาหารขนาดเล็ก ห้องอาหารของบริษัทหรือสถานศึกษา ภัตตาคาร และอาหารฟาสต์ฟูดหรืออาหาร จานด่วน หรือแม้แต่การไปงานเลี้ยงตามโรงแรมต่างๆ การเป็นโรคเบาหวานไม่ได้หมายความว่าจะรับประทานอาหารตามสถานที่เหล่านี้ไม่ ได้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถจะดาเนินชีวิตและรับประทานอาหารได้ตามปกติเหมือนผู้ อื่น เพียงแต่จาเป็นต้องเรียนรู้วิธีการเลือกอาหารอย่างระมัดระวัง

ผู้ป่วยเบาหวานกับการรับประทานอาหารนอกบ้าน

ข้อแนะนาง่ายๆ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานเลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและควบคุม ระดับน้าตาลได้ ในขณะเดียวกันยังอร่อยและมีความสุขกับการรับประทานอาหารนอกบ้าน คือ

1.จำกัดปริมาณอาหารที่ต้องรับประทานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อน้าหนักเกิน

2.ลดปริมาณไขมันในอาหารที่รับประทาน

3.จำกัดการใช้น้าตาลหรืออาหารที่มีน้ำตาล  

4.เพื่อให้การปฏิบัติตนเป็นไปได้ง่าย ผู้ป่วยเบาหวานควรจะเรียนรู้หมวดอาหารแลกเปลี่ยนและสัดส่วนของอาหารเหล่านั้น จากนักโภชนาการ   

อาหารตามร้านมักจะมีไขมันสูงเพราะไขมันจะ เป็นตัวชูรสอาหาร อาหารที่มีรสมันหรือไขมันสูงจะมีรสชาติดีกว่าอาหารที่มีไขมันน้อยกว่า แต่ผู้ป่วยเบาหวานก็สามารถจะอร่อยได้บ้างในบางโอกาส โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงในมื้อใดมื้อหนึ่งของวันนั้น เพื่อที่จะรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงในมื้อที่จะต้องรับประทานอาหารนอก บ้านแต่ปริมาณไขมันที่รับประทานจะต้องไม่เกิน 30% ของพลังงานที่ได้จากอาหารทั้งหมดในวันนั้น

ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน ควรพยายามรับประทาน อาหารให้ตรงเวลา เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้าตาลในเลือดต่า กรณีที่เลยเวลาอาหารมากกว่า 1 ชั่วโมง ควรเลือกรับประทาน ของว่างเล็กน้อย เช่น แอปเปิล 1 ผล หรือฝรั่ง 1 ผล  หรือข้าวโพดต้ม 1 ฝัก หรือขนมปัง 1 แผ่น เป็นต้น





ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks