น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

อันตรายยาชื่อพ้อง มองคล้าย สภาเภสัชกรรมเผยผลสำรวจเบื้องต้น

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สภาเภสัชกรรมเผยผลสำรวจเบื้องต้น เกี่ยวกับการรับรู้เรื่องยาในต่างจังหวัด พบว่า 3 ใน 4 หรือร้อยละ 75 ใช้ยาโดยไม่รู้จักชื่อยา ในขณะที่คนกรุงเทพฯ ผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจก็ไม่แตกต่างกัน เผชิญอันตรายกว่าที่คิด เพราะยามีหลายชนิดที่ "ชื่อพ้อง มองคล้าย" เสี่ยงใช้ยาผิดชนิด ผิดขนาด หรือผิดประเภท และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การใช้ยา

ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์ นายกสภาเภสัชกรรมเปิดเผยว่า สภาเภสัชกรรมได้ทำการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องยาของผู้ป่วย โรคเรื้อรัง โดยทำในกลุ่มตัวอย่างที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลใหญ่ 3 แห่งในภาคใต้ และภาคกลาง จำนวนกว่า 1,000 คน เป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ภูมิแพ้ และโรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น โดยร้อยละ 20 ของกลุ่มตัวอย่างมีรายการยาที่ต้องใช้เป็นประจำ 6-10 รายการ แต่จากการสำรวจ พบว่า มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่รู้จักทั้งชื่อยาและสรรพคุณยาที่ตนเองใช้อยู่ ในขณะที่ผู้ป่วยอีกร้อยละ 75 ไม่รู้จักชื่อยา รู้แต่สรรพคุณและวิธีใช้ นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 25 ไม่เคยอ่านฉลากยาก่อนใช้ยา ร้อยละ 86 หยิบยาใช้เอง

จากผลสำรวจเบื้องต้น พบว่าปัจจุบันคนไทยยังให้ความสำคัญกับชื่อยาน้อยมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะชื่อยาเป็นภาษาอังกฤษจำยากไม่คุ้นหู หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องช่วยกันรณรงค์ เพราะการที่ผู้ป่วยไม่รู้จักชื่อยาที่ใช้นั้นอันตรายกว่าที่คิด เนื่องจากยาที่ใช้รักษาอาการหรือโรคเดียวกันมีหลายชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตมีเป็นสิบๆ ชนิด และแต่ละตัวยังมีหลายขนาดความแรง ซึ่งยาแต่ละตัวอาจจะเหมาะกับผู้ป่วยรายหนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยอีกราย หรืออาจมีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยอีกรายทั้งนี้ขึ้นกับสภาวะร่างกายของผู้ป่วย แต่ละคนด้วย

การที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ชื่อยาที่ใช้อยู่ทำให้น่าเป็นห่วง เพราะคนไทยชอบแนะนำยาให้คนใกล้ชิดหรือเพื่อนๆ กันลองใช้ดูเพราะเห็นว่าตนเองใช้ได้ผลดี การบอกเพียงรูปลักษณ์ของยามีโอกาสเสี่ยงที่จะแนะนำยาผิด


ที่มา :หนังสือพิมพ์มติชน


อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริมลดน้ำหนัก อาหารเสริมบำรุงผิว 
วิตามินบำรุงสายตา น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ,เสริมความงาม,เสริมสุขภาพ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks