น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

7 ความเชื่อคาใจ เกี่ยวกับ "สายตาเอียง"

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

สำหรับหลายๆ คน เรื่อง "สายตา” ยังถือเป็นเรื่อง “เร้นลับ” ที่ยากจะเข้าใจ และยิ่งพูดถึงเรื่อง สายตาเอียง (Astigmatism) ด้วยแล้ว มีคนอีกไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ยังมีความเข้าใจผิด มีคำถามคาใจ รวมถึงมีความเชื่อที่ได้รับการปลูกฝังมาต่างๆ วันนี้จึงมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตา จะมาคลายปัญหาคาใจ แนะนำเคล็ดลับและเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ “สาเหตุ” “การดูแลรักษา” ตลอดจน “การแก้ไข” เรื่องน่าปวดหัวอย่าง สายตาเอียง

7 ความเชื่อคาใจ เกี่ยวกับ "สายตาเอียง"

 

ความเชื่อที่ 1 คนที่ “สายตาเอียง” ต้องใส่แว่นสายตาเพียงอย่างเดียว!

ไม่จริง! อาจมีหลายๆ คนเชื่อว่า แว่นสายตา คือคำตอบเดียวสำหรับผู้มีปัญหาสายตาเอียง แต่ในปัจจุบันมีคอนแทคเลนส์ที่พัฒนาและผลิตขึ้นมาพิเศษสำหรับคนกลุ่มนี้เพื่อแก้ไขค่าสายตาเอียงได้ง่ายและสะดวกสบายขึ้น โดยเฉพาะคอนแทคเลนส์รายวันสำหรับสายตาเอียงที่ไม่เพียงช่วยแก้ไขค่าสายตาเท่านั้น ยังให้ความรู้สึกชุ่มชื้นสบายตา สะดวกสบาย และสะอาดถูกสุขอนามัยในการสวมใส่ เราจึงมั่นใจได้ว่าผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องคอยกังวลกับปัญหาด้านสายตา รวมถึงผลข้างเคียงต่างๆ ทั้งอาการวิงเวียนและอาการปวดศีรษะอีกต่อไปภาพชัด (ค่าสายตาปกติ)

ความเชื่อที่ 2 ปกติแล้วคนเราไม่ “สายตาเอียง” กันง่ายๆ หรอก!

ไม่จริง! จากสถิติพบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีปัญหาสายตา มักมีสายตาเอียง ร่วมอยู่ในค่าสายตาด้วย และที่สำคัญสายตาเอียง ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีค่าสายตาเยอะๆ เท่านั้น สายตาเอียงเป็นอาการทางสายตาชนิดหนึ่ง แตกต่างจากสายตาสั้น หรือสายตายาว อธิบายวิธีสังเกตง่ายๆ คือ ผู้ที่มีสายตาสั้น หรือสายตายาว จะมองเห็นตัวเลข ตัวอักษร ชัดเท่าๆ กันทุกตัว หรือมัวเท่าๆ กันทุกตัว แต่ผู้ที่มีสายตาเอียง จะมองเห็นตัวเลข หรือตัวอักษรบางตัวชัด บางตัวไม่ชัด

ความเชื่อที่ 3 คนที่สายตาเอียง มักเป็นเพราะนอนอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ มากเกินไป!

ไม่จริง! สายตาเอียง คือความผิดปกติของสายตาที่เกิดจากความโค้งของกระจกตาในแต่ละแนวไม่เท่ากัน ซึ่งนับเป็นความผิดปกติทางกายภาพ (ปัจจัยภายใน) และถึงแม้ว่า การนอนอ่านหนังสือ รวมถึงการดูโทรทัศน์ในที่มืดบ่อยเกินไป อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้าของดวงตาเนื่องจากการเพ่งสายตาในระยะเวลานาน แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสายตาเอียงแต่อย่างไร

ความเชื่อที่ 4 คนที่สายตาเอียง จะรู้สึกเวียนหัวง่าย เมื่อดูโทรทัศน์ 3 มิติ ใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ทโฟนมากเกินไป!

จริง! ผู้ที่มีสายตาเอียง มักรู้สึกวิงเวียนง่ายกว่าผู้อื่นเมื่ออ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ที่มีลักษณะ 3 มิติ เนื่องจากผู้ที่มีสายตาเอียงจะไม่สามารถจับภาพที่มีลักษณะเบลอ รวมถึงภาพที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วได้อย่างชัดเจนนักภาพเบลอ (ค่าสายตาเอียง)

ความเชื่อที่ 5 การ “หรี่ตา” คือ อีกหนึ่งสัญญาณ ว่าเราอาจจะมีปัญหา “สายตาเอียง”!

จริง! การหรี่ตา คือสัญญาณของปัญหาหลายอย่าง เพราะนอกจากจะทำให้สาวๆ เสียบุคลิก การหรี่ตาเป็นประจำยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดริ้วรอยก่อนวัย นอกจากนี้ ผู้ที่ชอบหรี่ตาบ่อยๆ อาจกำลังประสบปัญหาสายตาเอียง เนื่องจากผู้ที่สายตาเอียงจะมองเห็นภาพไม่ชัด จึงมักจะพยายามเพ่งสายตาเพื่อปรับโฟกัสของภาพตามธรรมชาติ ด้วยการหรี่ตานั่นเอง

ความเชื่อที่ 6 คนที่มีสายตาเอียงน้อย สามารถทดค่าสายตาได้ โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขสายตาเอียง!

ไม่จริง! หลายคนเชื่อว่าค่าสายตาเอียงเล็กน้อย สามารถแก้ไขได้ด้วยการทดค่าสายตา แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเราใช้สายตามากขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สมาร์ทโฟน หรือดูทีวี ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็สามารถกระตุ้นให้มองเห็นภาพเบลอ และอาจทำให้เริ่มมึนหัวได้

ความเชื่อที่ 7 “สายตาเอียง” ไม่ได้มีผลอะไรมากนักกับชีวิตประจำวัน เราไม่ต้องไปสนใจนักก็ได้!

ไม่จริง! ผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง หากไม่แก้ไข นอกจากจะทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน อาจก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้าสายตา เวียนหัว รวมถึงปวดศีรษะได้ และแน่นอนว่าอาการเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงกับประสิทธิภาพในการทำงานและไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ตลอดจนการเดินทางขับรถ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน ที่สายตาจะไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนนัก



ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

'มะเดื่อดิน'รากเป็นยา | PG&P


"มะเดื่อดิน" นอกจากผลกินได้แล้ว ส่วนรากมีสรรพคุณทางสมุนไพรด้วย
คนสมัยก่อนนิยมนำมาแก้ประดงเป็นเม็ดผดผื่นคันตามผิวหนัง แก้ลมพิษ แก้พิษภายใน แก้ตับไตพิการ บำรุงกำลัง ขับโลหิตระดู และขับปัสสาวะด้วย
เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE ลำต้นชอบเลื้อยพาดพันไม้อื่น ลำต้นสีน้ำตาล มีตุ่มที่เป็นช่องอากาศ ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว
- ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้าม ก้านใบยาวราว 5-7 ซม. รูปทรงของใบเป็นขอบขนานกว้าง 2-5 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบโคนใบมน ขอบใบเรียบ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ผิวใบด้านบนและล่างมีขนประปราย
- ดอก ออกเป็นช่อ ตามโคนต้น โคนกิ่งยาว  5-10 ซม. มีกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเล็กน้อย ดอกตูมบิดงอ โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด เวลาดอกบานมี 5 แฉก กลีบดอกสีขาว
- ผล เป็นช่อแน่นเป็นพวง รูปทรงกลมผลอ่อนสีเขียวสดรสฝาดอมเปรี้ยว เมื่อแก่สีม่วงแต้มขาวรสหวาน ด้านในมีเมล็ดรูปขอบขนาน
ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ดหรือตอนกิ่ง ชอบอากาศชื่น พบมาในป่าเบญจพรรณ


ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก


PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

แคดเมียมในคะน้า

คะน้า เป็นพืชผักที่นิยมรับประทานทั่วไปโดยบริโภคส่วนของใบและลำต้น เป็นผักที่ติดอันดับในเรื่องของคุณประโยชน์ ในคะน้า 1 ต้น มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 186.92 ไมโครกรัม/100 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด

แคดเมียมในคะน้า

นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้เกิดความชุ่มชื้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์

คะน้า เป็นผักที่เกษตรกรสามารถปลูกได้ทั้งปี มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น แต่สิ่งที่ต้องระวังนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของแคดเมียมที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดิน

เนื่องจากแคดเมียมเป็นโลหะหนักที่พบได้ในอุตสาหกรรมการย้อมผ้า การผลิตกระดาษ รวมถึงหมึกพิมพ์ การปล่อยของเสียของโรงงานเหล่านี้ในดินและแหล่งน้ำธรรมชาติ

อาจทำให้แคดเมียมปนเปื้อนในผักคะน้าได้ ถ้าเกษตรกรนำน้ำเหล่านั้นมารดผัก เห็นอย่างนี้คนที่ชอบรับประทานอาหารที่มีผักแกล้มเป็นก้านคะน้าควรต้องระวัง เพราะเมื่อร่างกายได้รับแคดเมียมจากการทานอาหารที่ปนเปื้อนแคดเมียมเข้าไปในปริมาณต่ำ แคดเมียมจะเข้าไปสะสมในไตและจะเป็นพิษต่อไต แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากจะถูกไหลเวียนเข้าไปยังตับและถูกสะสมในตับ

วันนี้สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างผักคะน้าที่จำหน่ายในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของแคดเมียม

ผลการวิเคราะห์วันนี้ พบว่ามีผักคะน้า 1 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน และเกินค่ามาตรฐานโคเด็กซ์ที่กำหนดให้พบได้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ทางที่ดีหลีกเลี่ยงการทานผักชนิดเดิมๆซ้ำๆ ควรทานผักและอาหารให้หลากหลายเพื่อความปลอดภัย







ที่มา: หนังสือพิมพืไทยรัฐ
PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

เรื่องน่ารู้ 'ต้อกระจก'

ต้อกระจก คือ สภาวะการขุ่นมัวและแข็งตัว ของเลนส์ตา ทำให้แสงผ่านไปยังประสาทตาได้น้อยลง สายตาจะมัวลงเรื่อยๆ ตามความขุ่นทึบของเลนส์ตา

เรื่องน่ารู้ 'ต้อกระจก'

อาการของโรคต้อกระจก คือ มองเห็นภายในลักษณะคล้ายควันหรือหมอกบัง ซึ่งหากปล่อยต้อกระจกทิ้งไว้นาน เลนส์จะสุกเห็นตาดำตรงกลางมีสีขาว ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอาการปวดตาอย่างรุนแรงและลุกลามเป็นต้อหินหรือม่านตาอักเสบถ้ารักษาไม่ทัน อาจสูญเสียการมองเห็นในที่สุด

สาเหตุของโรค เกิดจากการเสื่อมสภาพตามอายุขัย (มักเกิดระหว่าง 50-60 ปี) อุบัติเหตุ, พิษจากสารเคมี, กรรมพันธุ์ เกิดจากยาบางชนิด เช่น คอติโดสเตอรอยด์  เกิดจากโรคตาบางชนิด เช่น ม่านตาอักเสบ, เบาหวานขึ้นตา, เบาหวาน, ต้อหิน, ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดตา และเกิดจากแสงแดด แสง X-rays, เกิดตามหลัง ภาวะที่มีท้องร่วงรุนแรง, ภาวะขาดน้ำ, ขาดอาหาร การรักษาโรคต้อกระจก

กรณีไม่ผ่าตัด ส่วนใหญ่ต้อกระจกในระยะเริ่มแรก อาจแก้สายตาให้มองเห็นดีขึ้นโดยการใส่แว่น หรือแว่นขยาย ยังไม่พบว่ามียาที่ทำให้เลนส์ตาขุ่นกลับมาใสได้ ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปกติจะสามารถช่วยชะลอเลนส์ให้ขุ่นช้าลงได้

กรณีผ่าตัด จักษุแพทย์จะพิจารณาจากระยะของเลนส์ตา ที่ขุ่นว่ามากน้อยเพียงใด และพิจารณาจาก อาการตามัว ถ้าเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หรือกิจวัตรประจำวันก็ควรได้รับการผ่าตัดรักษา

การชะลอการเกิดต้อกระจก ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด โดยสวมแว่นกันแดด หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ตา

การผ่าตัดต้อกระจกมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้างและเย็บแผล  และการผ่าตัดโดยการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (การผ่าตัดทั้ง 2 วิธี ใช้หยอดยาชา และฉีดยาชาก่อนผ่าตัด) ก่อนการผ่าตัดควรปฏิบัติอย่างไร 1.ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวให้กินยาตามปกติ ยกเว้นบางรายที่แพทย์แจ้งให้งดก่อนผ่าตัด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด 2. หนึ่งวันก่อนผ่าตัดควรสระผมให้สะอาด งดแต่งหน้า และ 3.ไม่ต้องงดอาหาร (กรณีแพทย์สั่ง)



ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์ชีวิตและสุขภาพ โดย นพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์
PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks