น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

7 ความเชื่อคาใจ เกี่ยวกับ "สายตาเอียง"

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

สำหรับหลายๆ คน เรื่อง "สายตา” ยังถือเป็นเรื่อง “เร้นลับ” ที่ยากจะเข้าใจ และยิ่งพูดถึงเรื่อง สายตาเอียง (Astigmatism) ด้วยแล้ว มีคนอีกไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ยังมีความเข้าใจผิด มีคำถามคาใจ รวมถึงมีความเชื่อที่ได้รับการปลูกฝังมาต่างๆ วันนี้จึงมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตา จะมาคลายปัญหาคาใจ แนะนำเคล็ดลับและเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ “สาเหตุ” “การดูแลรักษา” ตลอดจน “การแก้ไข” เรื่องน่าปวดหัวอย่าง สายตาเอียง

7 ความเชื่อคาใจ เกี่ยวกับ "สายตาเอียง"

 

ความเชื่อที่ 1 คนที่ “สายตาเอียง” ต้องใส่แว่นสายตาเพียงอย่างเดียว!

ไม่จริง! อาจมีหลายๆ คนเชื่อว่า แว่นสายตา คือคำตอบเดียวสำหรับผู้มีปัญหาสายตาเอียง แต่ในปัจจุบันมีคอนแทคเลนส์ที่พัฒนาและผลิตขึ้นมาพิเศษสำหรับคนกลุ่มนี้เพื่อแก้ไขค่าสายตาเอียงได้ง่ายและสะดวกสบายขึ้น โดยเฉพาะคอนแทคเลนส์รายวันสำหรับสายตาเอียงที่ไม่เพียงช่วยแก้ไขค่าสายตาเท่านั้น ยังให้ความรู้สึกชุ่มชื้นสบายตา สะดวกสบาย และสะอาดถูกสุขอนามัยในการสวมใส่ เราจึงมั่นใจได้ว่าผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องคอยกังวลกับปัญหาด้านสายตา รวมถึงผลข้างเคียงต่างๆ ทั้งอาการวิงเวียนและอาการปวดศีรษะอีกต่อไปภาพชัด (ค่าสายตาปกติ)

ความเชื่อที่ 2 ปกติแล้วคนเราไม่ “สายตาเอียง” กันง่ายๆ หรอก!

ไม่จริง! จากสถิติพบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีปัญหาสายตา มักมีสายตาเอียง ร่วมอยู่ในค่าสายตาด้วย และที่สำคัญสายตาเอียง ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีค่าสายตาเยอะๆ เท่านั้น สายตาเอียงเป็นอาการทางสายตาชนิดหนึ่ง แตกต่างจากสายตาสั้น หรือสายตายาว อธิบายวิธีสังเกตง่ายๆ คือ ผู้ที่มีสายตาสั้น หรือสายตายาว จะมองเห็นตัวเลข ตัวอักษร ชัดเท่าๆ กันทุกตัว หรือมัวเท่าๆ กันทุกตัว แต่ผู้ที่มีสายตาเอียง จะมองเห็นตัวเลข หรือตัวอักษรบางตัวชัด บางตัวไม่ชัด

ความเชื่อที่ 3 คนที่สายตาเอียง มักเป็นเพราะนอนอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ มากเกินไป!

ไม่จริง! สายตาเอียง คือความผิดปกติของสายตาที่เกิดจากความโค้งของกระจกตาในแต่ละแนวไม่เท่ากัน ซึ่งนับเป็นความผิดปกติทางกายภาพ (ปัจจัยภายใน) และถึงแม้ว่า การนอนอ่านหนังสือ รวมถึงการดูโทรทัศน์ในที่มืดบ่อยเกินไป อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้าของดวงตาเนื่องจากการเพ่งสายตาในระยะเวลานาน แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสายตาเอียงแต่อย่างไร

ความเชื่อที่ 4 คนที่สายตาเอียง จะรู้สึกเวียนหัวง่าย เมื่อดูโทรทัศน์ 3 มิติ ใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ทโฟนมากเกินไป!

จริง! ผู้ที่มีสายตาเอียง มักรู้สึกวิงเวียนง่ายกว่าผู้อื่นเมื่ออ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ที่มีลักษณะ 3 มิติ เนื่องจากผู้ที่มีสายตาเอียงจะไม่สามารถจับภาพที่มีลักษณะเบลอ รวมถึงภาพที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วได้อย่างชัดเจนนักภาพเบลอ (ค่าสายตาเอียง)

ความเชื่อที่ 5 การ “หรี่ตา” คือ อีกหนึ่งสัญญาณ ว่าเราอาจจะมีปัญหา “สายตาเอียง”!

จริง! การหรี่ตา คือสัญญาณของปัญหาหลายอย่าง เพราะนอกจากจะทำให้สาวๆ เสียบุคลิก การหรี่ตาเป็นประจำยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดริ้วรอยก่อนวัย นอกจากนี้ ผู้ที่ชอบหรี่ตาบ่อยๆ อาจกำลังประสบปัญหาสายตาเอียง เนื่องจากผู้ที่สายตาเอียงจะมองเห็นภาพไม่ชัด จึงมักจะพยายามเพ่งสายตาเพื่อปรับโฟกัสของภาพตามธรรมชาติ ด้วยการหรี่ตานั่นเอง

ความเชื่อที่ 6 คนที่มีสายตาเอียงน้อย สามารถทดค่าสายตาได้ โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขสายตาเอียง!

ไม่จริง! หลายคนเชื่อว่าค่าสายตาเอียงเล็กน้อย สามารถแก้ไขได้ด้วยการทดค่าสายตา แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเราใช้สายตามากขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สมาร์ทโฟน หรือดูทีวี ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็สามารถกระตุ้นให้มองเห็นภาพเบลอ และอาจทำให้เริ่มมึนหัวได้

ความเชื่อที่ 7 “สายตาเอียง” ไม่ได้มีผลอะไรมากนักกับชีวิตประจำวัน เราไม่ต้องไปสนใจนักก็ได้!

ไม่จริง! ผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง หากไม่แก้ไข นอกจากจะทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน อาจก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้าสายตา เวียนหัว รวมถึงปวดศีรษะได้ และแน่นอนว่าอาการเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงกับประสิทธิภาพในการทำงานและไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ตลอดจนการเดินทางขับรถ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน ที่สายตาจะไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนนัก



ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks