รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ำเตือนภัยเห็ดป่า ปีนี้พบผู้ป่วยเปิบเห็ดป่าพิษ 400 ราย อายุน้อยที่สุดเพียง 1 เดือน เสียชีวิต 12 ราย เร่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนในการกินเห็ดป่า หากพบผู้ป่วยประเภทนี้ให้รับไว้ในโรงพยาบาลจนกว่าจะหายเป็นปกติทุกราย ย้ำความเชื่อตรวจสอบเห็ดพิษ 4 วิธีเดิมใช้การไม่ได้ผล และเด็กอ่อนกินนมแม่มีสิทธิได้รับพิษเห็ดด้วย
นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝน หลายพื้นที่มีฝนตกชุก ประชาชนในพื้นที่ชนบทโดยเฉพาะแหล่งที่มีพื้นที่ป่าธรรมชาติ มักเข้าไปเก็บเห็ดป่านำมารับประทานในบ้าน หรือนำไปจำหน่าย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยจากการรับประทานเห็ดพิษทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและการป้องกัน พบว่าสถานการณ์ใน ปีนี้น่าเป็นห่วง จำนวนผู้ป่วยจากการรับประทานเห็ดป่าที่มีพิษมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าช่วงปี 2550-2554 โดยตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2555 สำนักระบาดวิทยารายงานทั่วประเทศพบผู้ป่วย 400 ราย มากที่สุดที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เสียชีวิต 12 ราย คิดเป็นอัตราตาย ร้อยละ 3
นายแพทย์สุรวิทย์กล่าวว่า ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยที่สุดพบที่ จ.เพชรบูรณ์ เป็นทารกอายุเพียง 1 เดือน ซึ่งได้รับพิษเห็ด จากการกินนมของแม่ที่รับประทานแกงเห็ดป่าพิษเข้าไป แสดงว่าพิษของเห็ดสามารถผ่านทางน้ำนมได้ ด้วย แต่รายนี้แพทย์ช่วยชีวิตได้ทัน ส่วนผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ผลการสอบสวนโรคทั้งจากผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตพบว่า เกิดมาจากการรับประทานเห็ดป่าพิษตระกูลอะมานิต้า(Amanita)ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติเข้าไป ที่รู้จัก เช่น เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ห่าน เห็ดโม่งโก้ง เห็ดตระกูลนี้จะมีสารอะมาท็อกซิน(Amatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษชนิดร้ายแรงที่สามารถทำให้ตับและไตวายได้ จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ 1.อุบลราชธานี 42 ราย 2.เลย 39 ราย 3.สระบุรี และอุดรธานี จังหวัดละ 25 ราย และ5.นครพนม 21 ราย ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิต 12 ราย อยู่ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน 9 ราย เชียงใหม่ 1 ราย และ เพชรบูรณ์ 2 ราย
นายแพทย์สุรวิทย์กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากเห็ดป่าพิษจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อที่ผิดหรือมีความเข้าใจเรื่องเห็ดป่าที่มีพิษยังไม่ถูกต้อง สรุปได้ 4 ความเชื่อ ได้แก่ 1.คิดว่าเห็ดที่เก็บมาจากที่ที่เคยเก็บมาก่อนหรือเก็บเป็นประจำทุกปีจะไม่มีพิษ 2. เห็ดที่เก็บมามีรอยแมลงหรือรอยสัตว์กัดแทะอยู่แล้วแสดงว่ากินได้ 3. ใช้วิธีการทดสอบเห็ดพิษตามความเชื่อดั้งเดิมและปฏิบัติกันต่อมา เช่น หุงพร้อมกันกับข้าว ต้มกับช้อนเงิน หรือแช่ในน้ำข้าว หากเห็ดไม่เปลี่ยนเป็นสีดำ แสดงว่ากินได้ และ 4. เชื่อว่าการนำเห็ดมาปรุงด้วยความร้อนสูง เช่นต้ม แกง จะสามารถทำลายพิษเห็ดได้ การป่วยและเสียชีวิตแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่กล่าวมา ไม่สามารถพิสูจน์เห็ดพิษได้จริง ทำให้เมื่อรับประทานเห็ดเข้าไปแล้วก็จะมีอาการเจ็บป่วยตามมา หรือบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ดังนั้นเพื่อป้องกันและลดการเสียชีวิตของประชาชน ได้กำชับให้สถานบริการในสังกัดทุกแห่ง หากพบผู้ป่วยจากเห็ดพิษ ให้ผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือนัดเพื่อติดตามอาการทุกวันจนกว่าจะหายเป็นปกติ เนื่องจากเห็ดพิษชนิดร้ายแรงจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนภายใน 24 ชั่วโมงแรก แต่หลังจากผ่าน 24 ชั่วโมงไปแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ การทำงานของตับและไตล้มเหลว ทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา และในพื้นที่ที่มีเห็ดป่าตามธรรมชาติมาวางขายตามตลาด ควรมีการสุ่มตัวอย่างเห็ดป่าเหล่านั้นมาตรวจคัดแยกชนิด และตรวจหาสารพิษเป็นระยะๆในช่วงฤดูกาลที่มีเห็ดของทุกปี เพื่อความปลอดภัยประชาชน
นอกจากนี้ หากมีผู้ป่วยในพื้นที่หรือเคยมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากเห็ดพิษ ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแจ้งเตือน ประชาสัมพันธ์ หรือรณรงค์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการนำเห็ดป่ามารับประทาน ผ่านช่องทางสื่อต่างๆในพื้นที่ เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว หรือกระดานแจ้งข่าวสารตามหมู่บ้าน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายจากการกินเห็ดป่า ไม่ควรเก็บเห็ดป่ามารับประทาน โดยเฉพาะเห็ดที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมรีคล้ายไข่ เช่น เห็ดไข่ห่าน เห็ดโม่งโก้ง เห็ดระโงก หรือเห็ดระงากที่ยังเป็นดอกอ่อน เพราะเห็ดสกุลนี้ ขณะเป็นดอกอ่อนจะมีลักษณะเหมือนกันหมด ทำให้ยากต่อการคัดแยกว่าชนิดไหนเป็นเห็ดพิษ ขอให้หญิงแม่ลูกอ่อนที่ให้นมบุตรไม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงจากเห็ดป่า เพราะหากเป็นเห็ดพิษ เด็กที่ดูดนมแม่จะได้รับสารพิษของเห็ดทางน้ำนมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้หากรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นเห็ดป่าเข้าไป แล้วมีอาการผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที แจ้งประวัติการกินเห็ดให้เจ้าหน้าที่ทราบด้วย เพื่อที่จะสามารถให้การดูแลอย่างถูกวิธี
นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝน หลายพื้นที่มีฝนตกชุก ประชาชนในพื้นที่ชนบทโดยเฉพาะแหล่งที่มีพื้นที่ป่าธรรมชาติ มักเข้าไปเก็บเห็ดป่านำมารับประทานในบ้าน หรือนำไปจำหน่าย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยจากการรับประทานเห็ดพิษทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและการป้องกัน พบว่าสถานการณ์ใน ปีนี้น่าเป็นห่วง จำนวนผู้ป่วยจากการรับประทานเห็ดป่าที่มีพิษมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าช่วงปี 2550-2554 โดยตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2555 สำนักระบาดวิทยารายงานทั่วประเทศพบผู้ป่วย 400 ราย มากที่สุดที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เสียชีวิต 12 ราย คิดเป็นอัตราตาย ร้อยละ 3
นายแพทย์สุรวิทย์กล่าวว่า ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยที่สุดพบที่ จ.เพชรบูรณ์ เป็นทารกอายุเพียง 1 เดือน ซึ่งได้รับพิษเห็ด จากการกินนมของแม่ที่รับประทานแกงเห็ดป่าพิษเข้าไป แสดงว่าพิษของเห็ดสามารถผ่านทางน้ำนมได้ ด้วย แต่รายนี้แพทย์ช่วยชีวิตได้ทัน ส่วนผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ผลการสอบสวนโรคทั้งจากผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตพบว่า เกิดมาจากการรับประทานเห็ดป่าพิษตระกูลอะมานิต้า(Amanita)ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติเข้าไป ที่รู้จัก เช่น เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ห่าน เห็ดโม่งโก้ง เห็ดตระกูลนี้จะมีสารอะมาท็อกซิน(Amatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษชนิดร้ายแรงที่สามารถทำให้ตับและไตวายได้ จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ 1.อุบลราชธานี 42 ราย 2.เลย 39 ราย 3.สระบุรี และอุดรธานี จังหวัดละ 25 ราย และ5.นครพนม 21 ราย ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิต 12 ราย อยู่ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน 9 ราย เชียงใหม่ 1 ราย และ เพชรบูรณ์ 2 ราย
นายแพทย์สุรวิทย์กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากเห็ดป่าพิษจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อที่ผิดหรือมีความเข้าใจเรื่องเห็ดป่าที่มีพิษยังไม่ถูกต้อง สรุปได้ 4 ความเชื่อ ได้แก่ 1.คิดว่าเห็ดที่เก็บมาจากที่ที่เคยเก็บมาก่อนหรือเก็บเป็นประจำทุกปีจะไม่มีพิษ 2. เห็ดที่เก็บมามีรอยแมลงหรือรอยสัตว์กัดแทะอยู่แล้วแสดงว่ากินได้ 3. ใช้วิธีการทดสอบเห็ดพิษตามความเชื่อดั้งเดิมและปฏิบัติกันต่อมา เช่น หุงพร้อมกันกับข้าว ต้มกับช้อนเงิน หรือแช่ในน้ำข้าว หากเห็ดไม่เปลี่ยนเป็นสีดำ แสดงว่ากินได้ และ 4. เชื่อว่าการนำเห็ดมาปรุงด้วยความร้อนสูง เช่นต้ม แกง จะสามารถทำลายพิษเห็ดได้ การป่วยและเสียชีวิตแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่กล่าวมา ไม่สามารถพิสูจน์เห็ดพิษได้จริง ทำให้เมื่อรับประทานเห็ดเข้าไปแล้วก็จะมีอาการเจ็บป่วยตามมา หรือบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ดังนั้นเพื่อป้องกันและลดการเสียชีวิตของประชาชน ได้กำชับให้สถานบริการในสังกัดทุกแห่ง หากพบผู้ป่วยจากเห็ดพิษ ให้ผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือนัดเพื่อติดตามอาการทุกวันจนกว่าจะหายเป็นปกติ เนื่องจากเห็ดพิษชนิดร้ายแรงจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนภายใน 24 ชั่วโมงแรก แต่หลังจากผ่าน 24 ชั่วโมงไปแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ การทำงานของตับและไตล้มเหลว ทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา และในพื้นที่ที่มีเห็ดป่าตามธรรมชาติมาวางขายตามตลาด ควรมีการสุ่มตัวอย่างเห็ดป่าเหล่านั้นมาตรวจคัดแยกชนิด และตรวจหาสารพิษเป็นระยะๆในช่วงฤดูกาลที่มีเห็ดของทุกปี เพื่อความปลอดภัยประชาชน
นอกจากนี้ หากมีผู้ป่วยในพื้นที่หรือเคยมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากเห็ดพิษ ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแจ้งเตือน ประชาสัมพันธ์ หรือรณรงค์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการนำเห็ดป่ามารับประทาน ผ่านช่องทางสื่อต่างๆในพื้นที่ เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว หรือกระดานแจ้งข่าวสารตามหมู่บ้าน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายจากการกินเห็ดป่า ไม่ควรเก็บเห็ดป่ามารับประทาน โดยเฉพาะเห็ดที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมรีคล้ายไข่ เช่น เห็ดไข่ห่าน เห็ดโม่งโก้ง เห็ดระโงก หรือเห็ดระงากที่ยังเป็นดอกอ่อน เพราะเห็ดสกุลนี้ ขณะเป็นดอกอ่อนจะมีลักษณะเหมือนกันหมด ทำให้ยากต่อการคัดแยกว่าชนิดไหนเป็นเห็ดพิษ ขอให้หญิงแม่ลูกอ่อนที่ให้นมบุตรไม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงจากเห็ดป่า เพราะหากเป็นเห็ดพิษ เด็กที่ดูดนมแม่จะได้รับสารพิษของเห็ดทางน้ำนมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้หากรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นเห็ดป่าเข้าไป แล้วมีอาการผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที แจ้งประวัติการกินเห็ดให้เจ้าหน้าที่ทราบด้วย เพื่อที่จะสามารถให้การดูแลอย่างถูกวิธี
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น