น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

วิจัยพบ โยคะช่วยลดเครียดแม่ตั้งครรภ์

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิจัยพบ โยคะช่วยลดเครียดแม่ตั้งครรภ์
              
เป็นสิ่งที่พูดกันปากต่อปากมานาน ว่าการเล่นโยคะนั้นมีผลดีหลายประการสำหรับว่าที่คุณแม่ แต่วันนี้ มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่ออกมาเผยเป็นครั้งแรกว่า การเล่นโยคะนั้นสามารถช่วยลดความเครียดให้กับหญิงมีครรภ์ได้จริง และยังช่วยให้พวกเธอมีพลังใจในการต่อกรกับอุปสรรคนานาชนิดมากขึ้นด้วย
เพราะการเกิดความเครียดในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อสุขภาพของ ว่าที่คุณแม่ เนื่องจากความเครียดอาจทำให้พวกเธอและลูกน้อยในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดปัญหา สุขภาพต่าง ๆ มากมาย เช่น น้ำหนักทารกแรกคลอดน้อยกว่าเกณฑ์ เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ตลอดจนการเครียดจนไม่สามารถรับมือกับสิ่งที่ตามมาหลังคลอดได้ นั่นจึงเป็นเหตุให้นักวิจัยหลายสำนักพากันมองหาแนวทางบรรเทาความเครียดใน ว่าที่คุณแม่ตั้งครรภ์กันมานาน ทั้งการใช้ยา ฯลฯ
ล่าสุดก็ได้พบว่า การเล่นโยคะ (ด้วยท่าที่ปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์) นั้นสามารถช่วยให้จิตใจสงบ และทำให้พวกเธอรู้สึกมีพลังใจมากขึ้นด้วย
มาเรีย มูซิก หัวหน้าคณะวิจัยเผยว่า "เราเคยได้ยินว่า การให้หญิงมีครรภ์เล่นโยคะสามารถลดความเครียดให้กับว่าที่คุณแม่ได้ แต่ยังไม่เคยมีการวิจัยว่า กระบวนการใดของการเล่นโยคะที่ส่งผลช่วยลดความเครียดให้หญิงมีครรภ์ งานวิจัยของเราจึงได้เข้ามารับหน้าที่หาคำตอบในเรื่องนี้ และเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่เผยว่า โยคะสามารถช่วยให้จิตใจสงบได้ และอาจนำโยคะมาเป็นทางเลือกในการบำบัด"
จากการทดสอบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 12 - 26 สัปดาห์ และมีสัญญาณของการเกิดภาวะซึมเศร้าให้มาเข้าร่วมคลาสโยคะเพื่อความสงบของ จิตใจ สำหรับหญิงมีครรภ์เป็นเวลานาน 90 นาทีพบว่า พวกเธอสามารถต่อกรกับความเครียดได้มากขึ้นและมีพลังใจมากขึ้น
ทั้งนี้ ปัญหาทางด้านจิตใจในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น การเกิดภาวะซึมเศร้า เครียด วิตกกังวลนั้นอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพมากมาย ปัจจัยของการเกิดภาวะซึมเศร้าในระหว่างตั้งครรภ์อาจมาจากการเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมน แรงกดดันทางสังคม รวมถึงความคาดหวังจากคนรอบข้างที่มีต่อผู้เป็นแม่ ผลก็คือ อาจทำให้ผู้เป็นแม่กลายเป็นคนฉุนเฉียวง่าย เครียด และไม่สามารถรับมือกับความรู้สึกแย่ ๆ เหล่านั้นได้
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ภาวะซึมเศร้าอาจส่งผลต่อสุขภาพของทั้งแม่และเด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น อาจทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด หรือมีปัญหาในการเลี้ยงลูกหลังคลอดได้
"โชคไม่ดีที่จำนวนผู้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีนั้นมีไม่มากนัก ส่วนคนที่รักษาไม่ทันก็ยิ่งทำให้ตนเองและลูกน้อยเสี่ยงมากขึ้น" มาเรีย มูซิกกล่าว
นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานชี้ว่า ผู้หญิงไม่รู้สึกสบายใจกับการรักษาแบบดั้งเดิมนัก การใช้เทคนิคใหม่ ๆ เช่น การใช้สมุนไพร หรือการใช้วิธีทำให้ผ่อนคลาย จะเหมาะกับผู้หญิงมากกว่า


ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

"แผนสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ" เพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้หญิงทั่วประเทศ

เปิดตัวแล้วที่ภาคเหนือเป็นภาคแรก สำหรับเวทีแนะนำแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศที่จ.เชียงใหม่ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การรวมตัวกันของภาคีเครือข่ายกว่า 30 องค์กรที่มาจากหลายจังหวัดอาทิเชียงใหม่เชียงรายลำปางแม่ฮ่องสอนและลำพูน แสดงให้เห็นว่าแผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯได้รับความสนใจและความเชื่อมั่นเพราะ เกิดจากความตั้งใจของสสส. ที่อยากเห็นผู้หญิงทุกคนได้รับความเป็นธรรมในเรื่องเพศการใช้ชีวิตในสังคม ได้อย่างปกติโดยไม่ถูกทำร้ายทั้งด้านร่างกายและจิตใจและให้ความสำคัญใน เรื่องที่ผู้หญิงจะได้รอบรู้และหันมาเป็นผู้ร่วมสร้างความตระหนักเพื่อทำให้ ผู้หญิงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
กิจกรรมที่จัดขึ้นภายในงานเปิดตัวแผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ ดังกล่าวประกอบด้วยการแนะนำตัวภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมขับเคลื่อนกับสสส.  โดยคุณวราภรณ์ แช่มสนิท ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะ ได้ชี้แจงเรื่องความเป็นธรรมในเรื่องเพศแนวทางที่แผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯชี้ ชวนให้ผู้หญิงกลุ่มต่างๆ ได้เห็นความสำคัญของการเข้าถึงสุขภาวะเรียกร้องให้สังคมต้องมีความเสมอภาค และเป็นธรรมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะความเป็นธรรมทางเพศในมุมที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน
"ดังนั้นการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะของผู้หญิงจึงจำเป็นที่ภาคส่วนต่างๆใน สังคมจะต้องร่วมมือกันสร้างเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจ และการเมืองให้เอื้อต่อการสนับสนุนความเป็นธรรมทางเพศและความเป็นธรรมด้าน อื่นๆโดยคำนึงถึงสถานการณ์และความจำเป็นในชีวิตที่แตกต่างหลากหลายของผู้ หญิงกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยากลำบาก" ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ กล่าวตอนหนึ่ง
คุณวราภรณ์ยังเล่าต่ออีกว่า แผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ ที่กำลังเริ่มขับเคลื่อนนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมศักยภาพความเข้มแข็งของ ผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศให้สามารถขับ เคลื่อนงานได้อย่างมีพลังโดยเน้นยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 3 ด้านหลักคือการจัดการความรู้ด้านยุทธศาสตร์การทำงานสานพลังบุคคลและองค์กร ที่ทำงานในประเด็นสุขภาวะผู้หญิงฯและการพัฒนาและสนับสนุนงานสื่อสารสาธารณะ ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ
ในวันเปิดตัวดังกล่าวทีมแผนงานได้จัดกิจกรรมกลุ่มย่อยระดมสมองโดยในช่วง แรกมีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันเป้าหมายการทำงานขององค์กรที่ตนเองสังกัดหลักการ สำคัญและเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการทำงานความ สำเร็จและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายโดยมีภาคีภาคส่วนต่างๆ เข้ามาช่วยกันอภิปรายและแลกเปลี่ยนโดยมีการประมวลผลแล้วนำมาวิเคราะห์ผลร่วม กันอีกครั้ง กิจกรรมต่อมาเป็นการจัดกลุ่มย่อยของแต่ละจังหวัดและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ที่เกี่ยวกับผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ คาดหวังจะได้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนต่อไป
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ได้ที่ห้อง 410 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170  ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนนี้ - มิ.ย.56 แผนงานจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างแกนนำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะผู้ หญิงและความเป็นธรรมทางเพศติดต่อขอรายละเอียดหลักสูตรและใบสมัครเข้าร่วมการ อบรมได้ที่คุณน้ำทิพย์เกตุสัมพันธ์ผู้ประสานงานแผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ โทรศัพท์ 081-736-6532  โทรสาร 02-441-9977  อีเมลล์ womenwellbeingprogram@gmail.com เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึง 3 สัปดาห์ก่อนวันแรกของการอบรมแต่ละครั้ง
จึงขอเชิญชวนบุคคลและองค์กรที่สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมหรือร่วมขับเคลื่อน งานโดยเปิดกว้างรับองค์กรในภาคส่วนต่างๆทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ซึ่งมีผู้หญิงเป็นผู้รับบริการหรือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญอยู่แล้วสามารถ เข้าร่วมขับเคลื่อนพัฒนาแผนงานนี้ให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ถ้าต้องการเห็นผู้หญิงทุกกลุ่มได้รับความเป็นธรรมสามารถใช้ชีวิตในสังคม ได้อย่างปกติสุข ไม่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ เชิญท่านตัดสินใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมไทย ร่วมกับแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สสส. เพื่อร่วมกันสานฝันให้เป็นจริงในเร็ววัน


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด 

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

สธ.เตือนฝนนี้แนวโน้มฉี่หนูระบาดหนัก

หน้าฝนนี้!! ฉี่หนูมีแนวโน้มระบาดหนัก รายงานล่าสุดพบเสียชีวิตแล้ว 27 ราย สธ. เตือนประชาชนต้องรู้จักดูแลตัวเองเพราะโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ในขณะที่ คร.เดินหน้าพาสื่อลงพื้นที่ จ.ชัยนาท ดูความสำเร็จในการควบคุมป้องกันโรคฉี่หนู สามารถลดผู้ป่วยได้มากกว่า 3 เท่าตัวจาก 11 รายในปี 54 พบแค่ 3 รายในปี 55 และมีอัตราตายเป็นศูนย์ ทั้งๆ ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วประเทศ อัตราป่วย-ตายโรคฉี่หนูในปี 55 นี้ มีแนวโน้มสูงขึ้น

สธ.เตือนฝนนี้แนวโน้มฉี่หนูระบาดหนัก

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว ว่า ในช่วงหน้าฝนของทุกๆ ปีมักพบว่ามีโรคระบาดหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะช่วงนี้ที่พบว่าโรคฉี่หนูเริ่มระบาดอย่างหนักในหลายพื้นที่ สถานการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 พบมีผู้ป่วยโรคฉี่หนู 1,779 ราย เสียชีวิตถึง 27 ราย

หากแยกผู้ป่วยโรคฉี่หนูออกเป็นรายภาค พบว่าภาคใต้เป็นภาคที่พบผู้ป่วยมากที่สุดประมาณ 5.96 ต่อแสนประชากร ในขณะที่ภาคอีสานพบ 4.68 ต่อแสนประชากร ภาคเหนือพบ 1.55 ต่อแสนประชากร และภาคกลางพบ 0.30 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยโรคฉี่หนูสูงสุด 5 อันดับแรกคือ ระนอง พังงา พัทลุง สุรินทร์และศรีสะเกษ ผู้ป่วยจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง พบในสัดส่วน 1 : 0.26 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดอยู่ที่ระหว่าง 35-44 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.57 ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 58.5 จะประกอบอาชีพเกษตร เมื่อเปรียบเทียบอัตราการตายระหว่างโรคฉี่หนูกับโรคมือเท้าปากพบว่าโรคฉี่ หนูตายประมาณ 2 คนต่อ 100 คน ในขณะที่โรคมือเท้าปากตายประมาณ 2 คนต่อ 10,000 คน

เนื่องจากโรคฉี่หนูยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หลักสำคัญจึงอยู่ที่ประชาชนต้องรู้จักที่จะดูแลและป้องกันตนเอง เพื่อลดโอกาสสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำขัง โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวน และกลุ่มเสี่ยงที่สุขภาพอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคฉี่หนูได้ง่าย จึงได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูก ต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคฉี่หนู โดยผ่านสื่อช่องทางต่างๆ รวมทั้งการลงพื้นที่ดำเนินแนวทางเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคฉี่หนูทั้งก่อนการระบาดและเมื่อมีการระบาดเกิดขึ้น

ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว ขณะลงพื้นที่จังหวัดชัยนาทนำทีมสื่อมวลชน ศึกษาดูงานควบคุมป้องกันโรคฉี่หนูของชุมชนตำบลหาดอาษาว่า หากจัดอันดับอัตราป่วยโรคฉี่หนูในระดับภาค จะพบว่าภาคกลางเป็นพื้นที่ที่พบอัตราป่วยน้อยที่สุด ขณะนี้ภาพรวมของผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคฉี่หนูในพื้นที่รับผิดชอบของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดสระบุรี มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 11 ราย แบ่งเป็น อ่างทอง 1 ราย,สิงห์บุรี 1 ราย,ลพบุรี 3 ราย,สระบุรี 3 ราย และชัยนาทซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาดูงานในครั้งนี้มีผู้ป่วย 3 ราย และไม่พบผู้เสียชีวิต โดยผู้ป่วยที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาคือกลุ่มอายุ 25-34 ปี และเป็นเพศชายทั้งหมด เดือนที่พบผู้ป่วยคือ เดือน ม.ค.55,มี.ค.55 ,เม.ย.55 เดือนละ 1 ราย

ถึงแม้พื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วประเทศ การระบาดของโรคฉี่หนูมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่กลับพบว่าอัตราผู้ป่วยที่ จ,ชัยนาท ปี 2555 ลดลงจากปี 2554 กว่า 3 เท่าตัว จาก 11 ราย พบแค่ 3 ราย และตั้งแต่ พ.ค.-ส.ค.55 ที่เป็นช่วงของฤดูฝนก็ยังไม่มีผู้ป่วยโรคฉี่หนูอีกเลย ทั้งๆ ที่ปี 2554 ที่ผ่านมา ชัยนาทเป็นจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยโรคฉี่หนูมากเป็นอันดับ 1 ของภาคกลาง แสดงให้เห็นว่ามาตรการป้องกันควบคุมโรคฉี่หนูของจังหวัดชัยนาทสามารถดำเนิน การได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลหาดอาษา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ที่ไม่พบผู้ป่วยโรคฉี่หนูมากว่า 3 ปีแล้ว เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจาก สคร.2 ภายใต้การดูแลของ ดร.นพ.ปรีชา เปรมปรี ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมโรคที่ 2 จ.สระบุรี มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 ในเรื่องของการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์เฉพาะในการป้องกันควบคุมโรคฉี่ หนู โดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานมีการจัดตั้งกลุ่ม เผ้าระวังสุขภาพ ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ มีระบบระบาดวิทยาที่ดี มีการสร้างและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคฉี่หนู แก่ประชาชนในพื้นที่ เน้นที่การควบคุมป้องกันโรคโดยผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ในพื้นที่ เช่น หอกระจายข่าว เสียงตามสาย การประชุม ฯลฯ อย่างสม่ำเสมอ สอดแทรกความรู้เรื่องการป้องกันโรคฉี่หนูทุกครั้งที่มีการประชุมในพื้นที่ เช่น การประชุม อสม. การประชุมชาวบ้าน ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจแก่กลุ่มเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ให้กำจัดหนู โดยเฉพาะหนูพุกใหญ่ที่เป็นพาหะนำโรค ทั้งในบ้านและเรือกสวนไร่นา โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นหลัก เช่น กับดัก บ่วง แร้ว หลุมดัก มีการพัฒนาศักยภาพทีม SRRT ครอบคลุมถึงระดับตำบล ให้อสม.ค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยในระดับหมู่บ้าน เฝ้าระวังเชิงรุกในพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงสูง หรือพื้นที่ที่เคยมีผู้ป่วย โดยอาศัยข้อมูลทางระบาดวิทยาในการพยากรณ์แนวโน้มการระบาดของโรค และประสานความร่วมมือกับ ผู้นำชุมชน อบต. สุขาภิบาล เทศบาล เกษตรตำบลในพื้นที่ เมื่อพบมีการระบาดของโรค ฯลฯ

อย่างไรก็ตามโรคฉี่หนูสามารถป้องกันได้โดย 1.กำจัดหนู 2.สวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ท ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า 3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค 4.หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในที่ที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ 5.หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปล่อยค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด 6.หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำ หรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานานๆ 7.รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่ หรือย่ำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อโรคฉี่หนูหรือหากมีปัญหา หรือต้องการคำแนะนำใดๆ ติดต่อได้ที่สายด่วน โทร.1422 อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวปิดท้าย







ที่มา : กลุ่มเผยแพร่ สำนักงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks