สสส.ชูกลุ่มชาวบ้านสทิงพระ สร้างร้านครัวใบโหนด ต้นแบบความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่น สำรวจพบเยาวชนไม่รู้จักผักพื้นบ้าน ชาวบ้านละทิ้งการเกษตร ปัญหาสารเคมีเพียบ ก่อนเร่งรณรงค์โภชนาการอาหารปลอดภัย ลดสารเคมีสร้างเกษตรอินทรีย์ อนุรักษ์ผักพื้นบ้านกว่า 100ชนิดสำเร็จ เตรียมขยายพื้นที่นำร่องอาหารปลอดภัยในเขตเมืองให้ได้ 10แห่งทั่วประเทศ
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้จัดการแผนงานความมั่นคงทางอาหาร โดยการสนับสนุนของสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการฟื้นฟูคาบสมุทรสทิงพระ และร้านอาหารท้องถิ่น “ครัวใบโหนด” ในอ.สิงหนคร จ.สงขลา ถือเป็นชุมชนต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งการสร้างต้นแบบการจัดการระบบอาหารสุขภาวะมีความสำคัญอย่างยิ่งแผนงาน ความมั่นคงทางอาหาร จึงได้ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ได้สำรวจสภาพปัญหาในพื้นที่พบว่าเกษตรกรบาง ส่วนละทิ้งภาคการเกษตร ในขณะที่ผู้ที่ยังทำการเกษตรอยู่ก็มีการใช้สารเคมีอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ พืชผักพื้นบ้านเริ่มสูญหายไปจากพื้นที่จึงมีการรณรงค์ให้เกษตรกรในพื้นที่ หันมาฟื้นฟูการผลิตอาหารเพื่อคนในคาบสมุทร ให้ความสำคัญการทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้นทำให้ปัจจุบันมีเกษตรกรหันมาทำเกษตร อินทรีย์กว่า 20 ราย ฟื้นฟูสูตรอาหารท้องถิ่น และได้รวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้าน พันธุ์ข้าวในพื้นที่ได้กว่า 100ชนิด ซึ่งพืชผักปลอดสารพิษเหล่านี้ได้จัดส่งให้ร้านครัวใบโหนดซึ่งเป็นร้านอาหาร ที่คนในชุมชนร่วมกันก่อตั้งขึ้น
“ครัวใบโหนด มีหลักการคือ ครัวชุมชนเพื่อคนทั้งมวล จัดสร้างขึ้นจากกองทุนของชาวบ้านเองซึ่งมีสมาชิก 200คน ถือเป็นธุรกิจเพื่อชุมชนอย่างหนึ่ง เป็นเหมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคทำให้ประชาชนในพื้นที่หัน มาให้ความสำคัญการรักษาและสร้างความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่นโดยผ่านการทำ กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การให้ความรู้ตั้งแต่ต้นทางการผลิตคือเกษตรกร มาถึงอาหารบนโต๊ะที่นำภูมิปัญญาพื้นบ้านของปราชญ์ชาวบ้านมารวมไว้ เช่น การทำเมนูพื้นบ้านด้วยผักพื้นบ้านประเภทต่างๆ ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์ผักพื้นบ้านไปด้วยในตัว” นายวิฑูรย์กล่าว
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า สสส. ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยสนับสนุนให้ทุกคนสามารถเข้า ถึงการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการ และปลอดภัยโดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงานที่สำคัญคือ ต้องคำนึงถึงระบบห่วงโซ่อาหารตั้งแต่กระบวนการผลิต การกระจายอาหารโดยมีตลาดอาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย พร้อมทั้งการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพซึ่ง ดำเนินการครอบคลุมทั้งชุมชน เขตเทศบาล เขตเมือง โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กสถานประกอบการ ตลาด และร้านอาหาร โดยตั้งเป้าภายใน 1ปีสามารถสร้างพื้นที่นำร่องด้านอาหารปลอดภัยในเขตเมืองให้ได้ 10 แห่งทั่วประเทศและมีชุมชนที่จัดการความมั่นคงทางอาหารโดยการผลิตเมล็ดพันธุ์ พืช ทำประมงเกษตรปลอดภัย อย่างน้อยอีก 20 แห่งทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคซึ่งถือเป็นหนึ่ง ปัจจัยเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วนหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ที่เป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ของการเสียชีวิตของคนไทย
ที่มา : สำนักข่าว สสส.
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P