น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

'เด็กสุขภาพดี...จุดเริ่มต้นพัฒนาการเรียนรู้ที่ดี'

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เด็กเล็กในช่วงอายุ 1-3 ปี เป็นช่วงที่มีพัฒนาการและการเรียนรู้ที่รวดเร็ว ซึ่งมีความสำคัญมาก ดังนั้นการดูแลลูกน้อยให้มีพัฒนาการต่อเนื่องและไม่ถูกรบกวนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งองค์ประกอบในการสร้างการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ของเด็กเล็กอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญก็คือ "สุขภาพที่ดี" นั่นเอง
ปัจจุบันโรคภัยไข้เจ็บในเด็กยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนน่าวิตก นอกจากโรคไข้เลือดออก และมือเท้าปากที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ยังมีโรคติดต่อร้ายแรงอื่นๆ ที่ต้องระวัง โดยจาก สถิติพบว่าอุบัติการณ์การเสียชีวิตของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลก นับล้านรายนั้นมีสาเหตุการตายที่สำคัญจากโรคติดเชื้อ ซึ่งถือว่าเป็นภัยร้ายที่คุกคามเด็กเล็กทั่วโลก เช่น โรคปอดบ
การจัดประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและลดอุบัติการณ์เด็กเล็กเสียชีวิตจากโรคต่างๆ มาโดยตลอดแต่เป็นที่น่าวิตกว่า สังคมปัจจุบัน คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องพัฒนาการด้านสติปัญญาและความฉลาดของเด็ก จนละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพเด็ก อันที่จริงแล้วอยากให้คุณพ่อคุณแม่ตระหนักว่า "เด็กสุขภาพดี จุดเริ่มต้นพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีของเด็ก" เพราะการที่เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีเป็นเด็กเรียนเก่งได้นั้น ต้องเริ่มจากการมีสุขภาพที่ดีก่อน ดังนั้น พ่อแม่ที่มีเด็กเล็กควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด และควรสร้างภูมิคุ้มกันเบื้องต้นให้ลูกตั้งแต่แรกคลอดด้วยการให้ทารกกินนมแม่ ดูแลสุขภาพและโภชนาการให้ได้รับสารอาหารที่ ครบถ้วน เลี้ยงดูให้เหมาะสมตามวัย สร้างสุขอนามัยที่ดีด้วยการล้างมือ ปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม ให้เด็กพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ และทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ หากเด็กไม่สบายควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และรีบปรึกษากุมารแพทย์ทันที เพื่อช่วยลดโอกาสเสี่ยง โรคท้องร่วง เป็นต้น โดยส่วนมากจะเป็นเด็กๆ ในประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแฟซิฟิก และแอฟริกา เป็นต้น ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา องค์กรแพทย์ในประเทศและในระดับนานาชาติก็ได้มีเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องให้ลูกน้อยได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามตารางวัคซีนแห่งชาติในทุกช่วงอายุ เพราะการป้องกันด้วยวัคซีน เป็นวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากในปัจจุบัน รวมถึงวัคซีนเสริมต่างๆ ที่ช่วยป้องกันโรคติดเชื้อรุนแรงได้ เช่น วัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคติดเชื้อรุนแรงที่เกิดจากเชื้อเอ็นทีเอชไอ และ เชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคร้ายในเด็กเล็ก ที่อาจนำมาซึ่งความพิการและการสูญเสียชีวิตของเด็กได้
โดยเชื้อ 2 ชนิดดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็ก และโรคติดเชื้อรุนแรงอื่นๆ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงในเด็กเล็กจากเชื้อไวรัสโรต้า และวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น



ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง โดย ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

สธ.ห่วงโรคหัวใจตัวการ คร่าชีวิตคนไทย 108 คน / วัน

อธิบดีกรมควบคุมโรคเผยข้อมูลของสมาพันธ์หัวใจโลก พบสถานการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดทั่วโลก มีประชากรเสียชีวิตสูงถึง 17.3 ล้านคนต่อปี ส่วนประเทศไทย ปี 53 มีผู้เสียชีวิต 39,459 คน หรือเฉลี่ยวันละ 108 คน แนะเปลี่ยนพฤติกรรมภายในบ้าน
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยเนื่องในวันหัวใจโลกว่า จากข้อมูลของสมาพันธ์หัวใจโลก พบว่า สถานการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดทั่วโลก มีประชากรเสียชีวิตสูงถึง 17.3 ล้านคนต่อปี ซึ่งมากกว่าประชากรที่เสียชีวิตจากโรคมาลาเรีย HIV/เอดส์ และวัณโรครวมกัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าในปี พ.ศ.2573 (ค.ศ.2030) จะมีการเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็น 23 ล้านคนทั่วโลก และยังพบว่าในแต่ละปีผู้หญิงมากกว่า 8.6 ล้านคนทั่วโลก ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด มีจำนวนมากกว่าผู้หญิงที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง วัณโรค เอดส์ และโรคมาลาเรียรวมกัน สำหรับประเทศไทย ในปี 2553 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 39,459 คน หรือเสียชีวิตวันละ 108 คน 
ทั้งนี้ ข้อมูลในรอบ 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2549-2553) พบว่า อัตราการเสียชีวิตต่อแสนประชากรในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ มีดังนี้ โรคความดันโลหิตสูงจาก 3.8 ในปี 2549 เพิ่มเป็น 3.9 ในปี 2553 โรคหัวใจขาดเลือดจาก 19.4 ในปี 2549 เพิ่มเป็น 20.5 ในปี 2553 โรคหลอดเลือดสมองใหญ่ (อัมพฤกษ์-อัมพาต) จาก 20.6 ในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 27.5 ในปี 2553 จะเห็นได้ว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคทั้งสามโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปี 2555 นี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค มีแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสาธารณสุข ดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมายผู้หญิง ควรจัดกิจกรรมรณรงค์ นิทรรศการ และสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของตัวเอง รู้วิธีป้องกัน รู้อาการเตือนของโรค และการมีพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีสุขภาพหัวใจที่ดี ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อตัวเองและครอบครัว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
2.กลุ่มเป้าหมายเด็ก ควรทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด และคำแนะนำการมีพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีสุขภาพหัวใจที่ดี ที่เหมาะสมกับเด็ก เช่น ใบปลิว โปสเตอร์ หรือโบชัวร์ ที่สอดแทรกความรู้ เนื้อหาที่เข้าใจง่าย ในรูปแบบของภาพการ์ตูน เพื่อให้ความรู้ที่เหมาะสมกับแก่เด็กวัย 7-10 ปี

3.ควรจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการเล่าเรื่องจากประสบการณ์จริงทางเวที หรือการเขียนผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น website, facebook เป็นต้น
4.สนับสนุนส่งเสริมความร่วมมือของเครือข่าย ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยบูรณาการร่วมกันในการดำเนินกิจกรรม เพื่อการเข้าถึงกลุ่มสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม และได้ผลในระยะยาว
นพ.พรเทพ กล่าวว่า ทุกคนสามารถร่วมมือกันป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ดังนี้ การเลือกรับประทานอาหารสุขภาพที่ดีต่อหัวใจ ควรเตรียมอาหารสุขภาพไว้ที่บ้านเสมอ เริ่มจากผลไม้สักชิ้น หรือทำอาหารกลางวันเองไปรับประทานที่ทำงาน หรือที่โรงเรียน การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ และควรกำหนดเวลาดูโทรทัศน์ให้น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน เน้นให้มีกิจกรรมนอกบ้าน เช่น ขี่จักรยาน เล่นในสวน หันมาใช้รถจักรยาน หรือเดินแทนรถยนต์ การไม่สูบบุหรี่ โดยทำให้บ้านเป็นบ้านที่ปลอดบุหรี่ หยุดการสูบบุหรี่เพื่อหัวใจแข็งแรงของทุกคนในครอบครัว และสร้างกฎในบ้านขึ้น เช่น ถ้าใครสูบบุหรี่จะต้องทำงานบ้านเพิ่มขึ้น การรู้ค่าความเสี่ยงของตัวเอง โดยตรวจสุขภาพเบื้องต้นอย่างน้อยปีละครั้ง และควรทราบค่าตัวเลขที่เป็นความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ค่าความดันโลหิต ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด รวมถึงค่ารอบเอวและค่าดัชนีมวลกายของตนเองและคนในครอบครัว และสามารถพัฒนาปรับปรุงวางแผนการดูแลสุขภาพหัวใจของตนเองและคนในครอบครัวได้ โดยเขียนติดไว้ในที่ที่มองเห็นได้ง่ายที่บ้าน เพื่อเป็นการช่วยเตือนความจำอีกด้วย
“โรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถป้องกันได้ โดยทุกฝ่าย ทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน และรัฐบาล จะต้องร่วมมือกันป้องกันและหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค ทั้งทางกายและทางใจ ควรลงมือทำทันทีเพื่ออนาคตสุขภาพหัวใจที่ดีของทุกคน หากประชาชนมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทร 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทร 0-2590-3333” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว.



ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

สธ.พิมพ์คู่มือสุขภาพ 30,000 ฉบับ แจกผู้แสวงบุญชาวไทยร่วมพิธีฮัจญ์

 
 
สธ. พิมพ์คู่มือสุขภาพ ฉบับพกพา 2 ภาษา คือไทยและอังกฤษ จำนวน 30,000 ฉบับ แจกผู้แสวงบุญทุกคน เพื่อดูแลสุขภาพตนเองระหว่างร่วมพิธีฮัจญ์  พร้อมมอบหน้ากากอนามัย จำนวน 30,000 ชิ้น และเจลล้างมือจำนวน 10,000 หลอด เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ โรคอุจจาระร่วง และโรคติดต่ออื่นๆ โดยเฉพาะเฝ้าระวังโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 เป็นพิเศษ
 
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมด้วยนายแพทย์ณรงค์    สหเมธาพัฒน์    ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  และนายแพทย์พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค มอบนโยบายแก่หน่วยพยาบาลไทย ชุดที่ 3 ที่จะออกเดินทางไปดูแลสุขภาพผู้แสวงบุญชาวไทยมุสลิม ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในวันที่ 6 ตุลาคม เวลา 02.55 น. พร้อมมอบหน้ากากอนามัย จำนวน 30,000 ชิ้น และเจลล้างมือจำนวน 10,000 หลอด เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ โรคอุจจาระร่วง และโรคติดต่ออื่นๆ

นายวิทยา กล่าวว่า  กระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งทีมแพทย์พยาบาลไทย จำนวน 4 ทีม รวม 42 คน เดินทางไปดูแลสุขภาพผู้แสวงบุญชาวไทยมุสลิมจำนวนประมาณ 13,000 คนระหว่างร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นเวลา 11 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน - 30 พฤศจิกายน 2555 โดยตั้งหน่วยบริการ รักษาพยาบาล 2 จุด ที่นครเมกกะและมาดีนะห์ ขณะนี้หน่วยพยาบาลไทยได้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่แล้ว 2 ชุด รวม 25 คน มีผู้แสวงบุญเดินทางไปถึงนครมาดีนะห์แล้วประมาณ 9,500 คน และเดินทางเข้าสู่นครเมกกะประมาณ 7,500 คน ซึ่งหน่วยพยาบาลไทยมีความพร้อมในการให้บริการแก่ผู้แสวงบุญชาวไทยมุสลิมเต็มที่ ทั้งด้านบุคลากร อาคารสถานที่ ยาและเวชภัณฑ์ที่ส่งจากประเทศไทยรวมกว่า 100 รายการ

นายวิทยากล่าวต่อว่า ในปีนี้ได้ให้หน่วยแพทย์พยาบาลไทย เฝ้าระวังโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 เป็นกรณีพิเศษ หลังจากองค์การอนามัยโลกได้รายงานมีผู้ติดเชื้อแล้ว 2 ราย จนถึงขณะนี้ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม อย่างไรก็ตาม การที่ประชาชนทั่วโลกมาอยู่รวมกันจำนวนมากอาจเพิ่มความเสี่ยงได้ ได้ให้หน่วยแพทย์เข้มมาตรการคัดกรองและการป้องกันโรค โดยตรวจวัดไข้ผู้ใช้บริการทุกคน หากพบผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจให้ใส่หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก ป้องกันการแพร่เชื้อ ขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยน่าสงสัยแต่อย่างใด 

ขณะเดียวกันได้ให้กรมควบคุมโรคจัดพิมพ์ข้อแนะนำฉบับพกพา 2 ภาษา คือไทยและอังกฤษ จำนวน 30,000 ฉบับ ให้แซะซึ่งเป็นหัวหน้าทีมนำผู้แสวงบุญไปประกอบพิธีฮัจญ์และหน่วยพยาบาลไทยนำไปแจกผู้แสวงบุญทุกคน เพื่อดูแลสุขภาพตนเองระหว่างร่วมพิธีฮัจญ์ และสังเกตอาการผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ ทั้งระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์และเมื่อกลับเข้าประเทศไทย ได้แก่ ไข้ ไอ หายใจเหนื่อย ปวดศีรษะ หรืออื่นๆ ให้พบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบด้วย และได้เปิดสายด่วนกรมควบคุมโรค ให้คำปรึกษาข้อสงสัยที่หมายเลข 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง  

ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นจากหน่วยพยาบาลไทยว่า ขณะนี้สภาพอากาศช่วงกลางวันที่นครเมกกะและนครมาดีนะห์ร้อนมากอุณหภูมิประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส และมีฝุ่นละอองค่อนข้างมาก ทำให้ผู้แสวงบุญมักเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ รองลงมาคือ ปวดเมื่อยจากการเดินเท้าไปประกอบศาสนกิจ อ่อนเพลียจากการเสียเหงื่อ โดยผลการให้บริการของหน่วยพยาบาลไทยตั้งแต่วันที่ 17 จนถึง 30 กันยายน 2555 มีผู้รับบริการ 743 ครั้ง ประกอบด้วยที่หน่วยบริการนครเมกกะ463 ครั้ง และในนครมาดีนะห์ 280 ครั้ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบมากที่สุดคือ ไข้ ปวดศีรษะ ไอ แพ้อากาศ ปวดเมื่อย ได้รับไว้รักษาที่หน่วยพยาบาล 5 ราย และส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลของประเทศซาอุดิอาระเบีย 6 ราย ส่วนใหญ่อ่อนเพลียจากการเดินทางและโรคประจำตัว


ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข 
PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

6 จังหวัดเสี่ยงสูงน้ำท่วมจาก ”พายุ แกมี่” ซักซ้อมแผนความพร้อม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สั่งการ 30 จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วมจากพายุแกมี่ ช่วง 5-8 ตุลาคมนี้ โดยเฉพาะโรงพยาบาล 4 แห่ง ใน  6 จังหวัดเสี่ยงสูงคือ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา จันทบุรี และตราด  ซักซ้อมความพร้อมตามแผนป้องกันสถานพยาบาลไม่ให้น้ำท่วม และการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง  

นายวิทยา  บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป 30 จังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากพายุ แกมี่ (GAEMI) เช่น นครราชสีมา ชัยภูมิ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรีติดตามความพร้อมของพื้นที่ในการรับมือผลกระทบจากพายุแกมี่ในช่วงวันที่ 5-8 ตุลาคม 2555 นี้
นายวิทยากล่าวว่า ในการรับมือครั้งนี้ ได้แบ่งกลุ่ม 30จังหวัดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเสี่ยงสูง มี 6 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา จันทบุรี และตราด มีโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงจะถูกน้ำท่วมสูง 4 แห่ง ได้แก่ 1.รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี  2.รพ.มหาราชนครราชสีมา 3.รพ.ปักธงชัย และ4.รพ.สต.ลาดยาว จ.นครราชสีมา ที่อาจได้รับผลกระทบจากเขื่อนลำพระเพลิง  ซึ่งขณะนี้ ทุกแห่งได้เตรียมการป้องกันสถานพยาบาลไว้แล้ว
2.กลุ่มเฝ้าระวัง มีทั้งหมด 24 จังหวัด  ได้เน้นย้ำให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ วอร์รูมน้ำท่วมที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามประเมินสถานการณ์ เพื่อสั่งการเบื้องต้นและเป็นจุดประสานงานให้การสนับสนุนจังหวัดต่างๆ โดยได้ส่งยาชุดน้ำท่วมและยาตำราหลวงแก่จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมไปแล้ว 218, 500ชุด และเตรียมสำรองยา เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค อาทิยาชุดน้ำท่วม ยาสามัญประจำบ้าน ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า เซรุ่มแก้พิษงู คลอรีน ทรายกำจัดลูกน้ำ รองเท้าบู๊ท ถุงดำ ไว้อย่างเพียงพอ พร้อมให้การสนับสนุนตามที่จังหวัดร้องขอ
ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกระทรวงสาธารณสุขที่เน้นย้ำให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดมี 6 ข้อ ได้แก่ 1.จัดตั้งวอร์รูมจังหวัดเป็นศูนย์สั่งการ ประสานงาน ติดตามกำกับการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย และแก้ไขปัญหาต่างๆในพื้นที่  2.ให้ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพทั้งกายและจิต  3.เตรียมยา เวชภัณฑ์ พาหนะ และเครือข่ายสื่อสาร ทีมแพทย์กู้ชีพ ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ชุดปฏิบัติการแพทย์สนามฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติ หรือทีมเมิร์ท (Medical Emergency Response Team: MERT) พร้อมปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง จัดบริการกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เช่นผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยจิตเวช หญิงตั้งครรภ์  4.ให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพ และการควบคุมป้องกันโรค 5.ให้ป้องกันน้ำท่วมสถานบริการ สำรวจจุดเสี่ยงต่างๆ และสำรองยาเวชภัณฑ์ ให้มีใช้เพียงพอ ปรับแผนบริการประชาชนทุกรูปแบบและแผนการส่งต่อผู้ป่วย โดยให้เจ้าหน้าที่เตรียมป้องกันบ้านเรือนตนเอง อพยพครอบครัวไปอยู่ในที่ปลอดภัย เพื่อลดความห่วงพะวงในการทำงานช่วยเหลือประชาชน และ6.เตรียมการฟื้นฟูหลังน้ำลด สร้างความปลอดภัย ความมั่นใจแก่ประชาชน
ทั้งนี้ ผลจากน้ำท่วมที่ผ่านมาจนถึงวันนี้  มีสถานพยาบาลในสังกัดปิดบริการ 1 แห่ง คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี น้ำเข้าตัวอาคารสูง 60เซนติเมตร ได้ย้ายจุดไปให้บริการในจุดที่ประชาชนมารับบริการสะดวก หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการทุกวัน สรุปมีผู้ป่วยทั้งหมด 41, 649ราย ส่วนใหญ่ปวดศีรษะ น้ำกัดเท้า และไข้หวัด ด้านสุขภาพจิตพบผู้มีความเครียดสูง 139 ราย ซึมเศร้า 64 ราย ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของจิตแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งอสม.ในพื้นที่ 



ที่มา : กระทรวงสาธารณะสุข

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks