น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

สธ.ห่วงโรคหัวใจตัวการ คร่าชีวิตคนไทย 108 คน / วัน

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อธิบดีกรมควบคุมโรคเผยข้อมูลของสมาพันธ์หัวใจโลก พบสถานการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดทั่วโลก มีประชากรเสียชีวิตสูงถึง 17.3 ล้านคนต่อปี ส่วนประเทศไทย ปี 53 มีผู้เสียชีวิต 39,459 คน หรือเฉลี่ยวันละ 108 คน แนะเปลี่ยนพฤติกรรมภายในบ้าน
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยเนื่องในวันหัวใจโลกว่า จากข้อมูลของสมาพันธ์หัวใจโลก พบว่า สถานการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดทั่วโลก มีประชากรเสียชีวิตสูงถึง 17.3 ล้านคนต่อปี ซึ่งมากกว่าประชากรที่เสียชีวิตจากโรคมาลาเรีย HIV/เอดส์ และวัณโรครวมกัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าในปี พ.ศ.2573 (ค.ศ.2030) จะมีการเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็น 23 ล้านคนทั่วโลก และยังพบว่าในแต่ละปีผู้หญิงมากกว่า 8.6 ล้านคนทั่วโลก ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด มีจำนวนมากกว่าผู้หญิงที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง วัณโรค เอดส์ และโรคมาลาเรียรวมกัน สำหรับประเทศไทย ในปี 2553 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 39,459 คน หรือเสียชีวิตวันละ 108 คน 
ทั้งนี้ ข้อมูลในรอบ 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2549-2553) พบว่า อัตราการเสียชีวิตต่อแสนประชากรในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ มีดังนี้ โรคความดันโลหิตสูงจาก 3.8 ในปี 2549 เพิ่มเป็น 3.9 ในปี 2553 โรคหัวใจขาดเลือดจาก 19.4 ในปี 2549 เพิ่มเป็น 20.5 ในปี 2553 โรคหลอดเลือดสมองใหญ่ (อัมพฤกษ์-อัมพาต) จาก 20.6 ในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 27.5 ในปี 2553 จะเห็นได้ว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคทั้งสามโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปี 2555 นี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค มีแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสาธารณสุข ดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมายผู้หญิง ควรจัดกิจกรรมรณรงค์ นิทรรศการ และสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของตัวเอง รู้วิธีป้องกัน รู้อาการเตือนของโรค และการมีพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีสุขภาพหัวใจที่ดี ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อตัวเองและครอบครัว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
2.กลุ่มเป้าหมายเด็ก ควรทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด และคำแนะนำการมีพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีสุขภาพหัวใจที่ดี ที่เหมาะสมกับเด็ก เช่น ใบปลิว โปสเตอร์ หรือโบชัวร์ ที่สอดแทรกความรู้ เนื้อหาที่เข้าใจง่าย ในรูปแบบของภาพการ์ตูน เพื่อให้ความรู้ที่เหมาะสมกับแก่เด็กวัย 7-10 ปี

3.ควรจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการเล่าเรื่องจากประสบการณ์จริงทางเวที หรือการเขียนผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น website, facebook เป็นต้น
4.สนับสนุนส่งเสริมความร่วมมือของเครือข่าย ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยบูรณาการร่วมกันในการดำเนินกิจกรรม เพื่อการเข้าถึงกลุ่มสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม และได้ผลในระยะยาว
นพ.พรเทพ กล่าวว่า ทุกคนสามารถร่วมมือกันป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ดังนี้ การเลือกรับประทานอาหารสุขภาพที่ดีต่อหัวใจ ควรเตรียมอาหารสุขภาพไว้ที่บ้านเสมอ เริ่มจากผลไม้สักชิ้น หรือทำอาหารกลางวันเองไปรับประทานที่ทำงาน หรือที่โรงเรียน การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ และควรกำหนดเวลาดูโทรทัศน์ให้น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน เน้นให้มีกิจกรรมนอกบ้าน เช่น ขี่จักรยาน เล่นในสวน หันมาใช้รถจักรยาน หรือเดินแทนรถยนต์ การไม่สูบบุหรี่ โดยทำให้บ้านเป็นบ้านที่ปลอดบุหรี่ หยุดการสูบบุหรี่เพื่อหัวใจแข็งแรงของทุกคนในครอบครัว และสร้างกฎในบ้านขึ้น เช่น ถ้าใครสูบบุหรี่จะต้องทำงานบ้านเพิ่มขึ้น การรู้ค่าความเสี่ยงของตัวเอง โดยตรวจสุขภาพเบื้องต้นอย่างน้อยปีละครั้ง และควรทราบค่าตัวเลขที่เป็นความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ค่าความดันโลหิต ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด รวมถึงค่ารอบเอวและค่าดัชนีมวลกายของตนเองและคนในครอบครัว และสามารถพัฒนาปรับปรุงวางแผนการดูแลสุขภาพหัวใจของตนเองและคนในครอบครัวได้ โดยเขียนติดไว้ในที่ที่มองเห็นได้ง่ายที่บ้าน เพื่อเป็นการช่วยเตือนความจำอีกด้วย
“โรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถป้องกันได้ โดยทุกฝ่าย ทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน และรัฐบาล จะต้องร่วมมือกันป้องกันและหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค ทั้งทางกายและทางใจ ควรลงมือทำทันทีเพื่ออนาคตสุขภาพหัวใจที่ดีของทุกคน หากประชาชนมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทร 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทร 0-2590-3333” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว.



ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks