น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

วิธีสังเกตยาเสื่อมสภาพ | PG&P

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

วิธีสังเกตยาเสื่อมสภาพ

ในปัจจุบันยาเป็นหนึ่งใน ปัจจัย 4 ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย แต่บางครั้งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ถ้าหากเราใช้ยาไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ซึ่งปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยคือปัญหายาเสื่อมคุณภาพ เกิดจากการที่คนไทยมียาสะสมไว้ที่บ้านเกินความจำเป็น ประมาณ 3 - 4 เท่าของยาที่ควรมี ทั้งยาที่ได้รับมาจากโรงพยาบาล หรือคลินิกแล้วกินไม่หมด ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อย ที่เลือกกินยาที่เหลืออยู่ในบ้านมากกว่าออกไปหาหมอ เมื่อมีอาการเจ็บป่วย แต่ที่เสี่ยงอันตราย คือ ยาทุกชนิดมีวันหมดอายุ ซึ่งหมายถึงยาที่หมดประสิทธิภาพในการรักษาแล้ว ถ้าหากกินยาเสื่อมคุณภาพโดยไม่รู้ตัว อาจเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิต

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ได้ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสังเกตยาเสื่อมสภาพว่า ยาเสื่อมสภาพเป็นยาที่เปลี่ยนสภาพไป ทำให้ไม่เกิดผลในการรักษาที่ดี หรืออาจเป็นอันตรายอย่างรุนแรงต่อผู้ใช้ได้ การ เสื่อมสภาพของยาอาจสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในตัวยา ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การเสื่อมสภาพของยาที่พบกันบ่อยๆ เช่น ยาน้ำแขวนตะกอน ได้แก่ ยาคาลาไมน์ ที่เป็นยาแก้ผดผื่นคัน ยาน้ำลดกรดที่มีจำหน่ายในหลายชื่อ เมื่อตั้งทิ้งไว้จะสังเกตเห็นว่ามีการแยกชั้นเกิดขึ้น แต่เมื่อเขย่าขวดยาจะกลับมาเป็นเนื้อเดียวกันได้ แสดงว่ายาไม่เสื่อม วิธี สังเกตง่ายๆ สำหรับยาน้ำแขวนตะกอนว่าเสื่อมหรือไม่ คือให้เขย่าขวดแรงๆ หากยาไม่กลับมาเป็นเนื้อเดียวกันหรือตะกอนยังเกาะแน่นที่ก้น แสดงว่ายาเสื่อมแล้วให้ทิ้งไป

นอกจากนี้ ยาน้ำบางประเภท เช่น ทิงเจอร์ ยาธาตุน้ำแดง ยาแก้ไอน้ำดำ ยาน้ำแผนโบราณ ยาน้ำสตรี เป็นต้น ยาเหล่านี้มักมีตะกอนเบาๆ ของตัวยาที่เป็นสมุนไพร หรือสารสกัดของสมุนไพรแขวนลอยอยู่ ส่งผลให้มีลักษณะขุ่น ไม่ใส เป็นลักษณะของยาไม่ใช่ยาเสื่อม ซึ่งยาเหล่านี้ การดูตะกอนอาจบอกไม่ได้ว่า ยาเสื่อมหรือไม่ ต้องสังเกต สี กลิ่น หรือรสเปลี่ยนไปจากเดิม แต่ยาน้ำบางประเภทที่แต่เดิมเป็นยาน้ำใส เช่น ยาน้ำขับลมเด็ก หรือยาน้ำเชื่อม หากเก็บไว้แล้วพบว่ามีตะกอนเกิดขึ้น หรือขุ่น เหมือนมีเยื่อเบาๆ ลอยอยู่ หรือสี กลิ่น รสเปลี่ยนไป แสดงว่า ยาเสื่อมสภาพหรือยาเสียแล้ว ให้ทิ้งทันที

ในส่วนของวิธีสังเกตการเสื่อมคุณภาพของยาประเภท อื่นๆ ได้แก่ ยาเม็ด เม็ดยาจะมีลักษณะเยิ้ม เม็ดแตก ชื้น บิ่น เปลี่ยนสี ถ้ามีการเสื่อมสภาพจะมีผลึกใสกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเกิดขึ้นบนเม็ดยาหรือในขวด ยาแคปซูลจะมีลักษณะแตกออกจากกัน บวม ชื้น หรือสีของยาที่อยู่ภายในแคปซูลเปลี่ยนไป หรือมีสีเข้มขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อไตเป็นอย่างมาก ยาขี้ผึ้ง ยาครีม จะมีลักษณะเนื้อยาเยิ้ม เหลว แยกชั้น กลิ่น สี เปลี่ยนไปจากเดิม ยาหยอดตาที่เสื่อมสภาพจะมีลักษณะขุ่นหรือตกตะกอนของตัวยา หรือเปลี่ยนสีไป จากเดิมที่เคยใช้

ดังนั้น ก่อนใช้ยาใดๆ จึงควรดูวันหมดอายุ และสังเกตสภาพยาว่าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะนอกจากจะรักษาไม่หายแล้ว ยังเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจให้ทิ้งไป และเพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง




ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks