น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมบุหรี่ แนวทางปกป้องสังคมไทยพ้นพิษภัยยาสูบ | PG&P

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

“บุหรี่” ตัวการร้ายก่อโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดลม ปัจจัยหลักที่ทำให้ประชาชนไทยเสียชีวิตจากการบริโภคยาสูบปีละกว่า 42,000 คน และสูญเสียเงินในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมหาศาล เชื่อว่าหลายคนต้องทราบพิษสงของมันดี แม้กระทั่งตัวผู้สูบเอง
ท่ามกลางกระแสณรงค์ต่อต้านการบริโภคยาสูบอย่างต่อเนื่อง โดยภาคประชาสังคมและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง แต่อัตราการบริโภคยาสูบของคนไทยกลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง และเยาวชน ซึ่งพบว่าเยาวชนเริ่มสูบบุหรี่ที่อายุน้อยลง จากเริ่มสูบประจำเมื่ออายุเฉลี่ย 18.5 ปี เป็น 17.4 ปี แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำการตลาดของกลุ่มธุรกิจยาสูบ ที่สามารถโฆษณายาสูบเข้าถึงตัวผู้หญิงและเยาวชนได้ง่ายและใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ในขณะที่กฎหมายการควบคุมยาสูบของไทยไม่ได้รับการบังคับใช้อย่างจริงจัง อีกทั้งล้าสมัยตามไม่ทันการตลาดรูปแบบใหม่ๆ  จึงต้องพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานให้สามารถควบคุมสถานการณ์การบริโภค ยาสูบให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการแก้ปัญหาไม่สามารถจะทำได้โดยองค์กรใด องค์กรหนึ่ง ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จับมือ กระทรวงสาธารณสุข, มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่, ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ และองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัด ประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 11 เรื่อง “การแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ”ขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้
นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานในงาน กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำขวัญรณรงค์ในวันงดสูบบุหรี่โลกว่า “จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบ” เพื่อส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยได้ร่วมกันรณรงค์เปิดโปงแนวทางกลยุทธ์การตลาด และสร้างกลไกป้องกันการแทรกแซงของอุตสาหกรรมบุหรี่ ให้สังคมได้รู้เท่าทันเพื่อปกป้องเยาวชนและประชาชนไทยจากยาสูบ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบฉบับใหม่ เพื่อใช้แทน 2 ฉบับเดิม ซึ่งใช้มานาน 20 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 คือ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และพ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยผนวกให้เป็นฉบับเดียวและปรับบทบัญญัติให้มีความทันสมัย ทันต่อกลยุทธ์การตลาดของบริษัทบุหรี่ และผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ๆ ที่ออกสู่ท้องตลาด
นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้พูดถึงสถานการณ์การแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบในประเทศไทย ว่า อุตสาหกรรมยาสูบได้ใช้ความพยายามทุกวิถีทางในการขัดขวางการควบคุมยาสูบในทุก ระดับ โดยรัฐและภาคีเครือข่ายต้องตื่นตัวที่จะต่อกรกับสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งประเทศไทยเองได้ลงนามในกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ อันเป็นอนุสัญญาว่าด้วยสุขภาพฉบับแรก ที่จัดทำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อร่วมเป็นภาคีผลักดันกฎหมายควบคุมยาสูบโลก ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมยาสูบก็พัฒนายุทธวิธีในการค้าขึ้นด้วยเช่นกัน โดยองค์การอนามัยโลกเรียกยุทธวิธีนี้ว่า “การแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ” ซึ่งลึกเร้นและรุกหนักขึ้นเป็นลำดับ
“กลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่นำมาใช้เพื่อแทรกแซงให้นโยบายควบคุมยาสูบ ทุกระดับอ่อนแอ มีทั้ง การสืบความลับเพื่อประเมินและกำกับฝ่ายควบคุมยาสูบและแนวโน้มทางสังคม การประชาสัมพันธ์เอสร้างความนิยมต่อธุรกิจยาสูบ การให้ทุนกลุ่มการเมืองในการเลือกตั้ง หรือในการดำเนินการกฎหมายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจยาสูบ ตลอดจนการแทรกแซงการกำหนดและการปฏิบัติตามนโยบายทั้งด้านสาธารณสุขและด้าน อื่นที่มีผลต่อการควบคุมยาสูบ นอกจากนั้นอุตสาหกรรมยาสูบยังใช้การจักกิจกรรมในรูปแบบองค์กรธุรกิจเพื่อ สังคม หรือ ซีเอสอาร์เพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับธุรกิจดังกล่าว รวมถึง การสร้างภาพว่าอยู่ข้างกลุ่มปกป้องเยาวชนจากการใช้ยาสูบ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่คนในสังคมควรตระหนักคือการรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของ บริษัทยาสูบเหล่านี้ และร่วมกันเป็นหูเป็นตา เพื่อเปิดโปงกระบวนการดังกล่าว”
นพ.ประกิตกล่าวอีกว่า การยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบต้องอาศัยพลังจากทุกภาคส่วนตอบโต้การแทรกแซงของ อุตสาหกรรมยาสูบ โดยรัฐบาลต้องดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และตอบโต้กลยุทธ์ มีการบริหารการควบคุมยาสูบอย่างโปร่งใส และกำหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพ  เช่น จำกัดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานรัฐกับธุรกิจยาสูบ ห้ามเจ้าหน้าที่และองค์กรรับเงินสนับสนุน เพื่อป้องกันประโยชน์แอบแฝงที่เอื้อต่อธุรกิจยาสูบ รวมทั้งไม่ควรอนุญาตให้โรงงานยาสูบ ผลิตยาสูบราคาถูก ซึ่งพุ่งเป้าไปที่เยาวชนและกลุ่มคนรายได้น้อย ส่งผลให้มีจำนวนผู้สูบบุหรี่มากขึ้น
ด้าน ผศ.ดร.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า นอกจากการแทรกแซงด้วยกลวิธีต่างๆ แล้ว อุตสาหกรรมยาสูบยังใช้ภาคประชาสังคม เป็นองค์กรบังหน้า เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมให้แก่ตนเองอีกด้วย อาทิ ชมรม/สมาคมนักสูบ ที่มักอ้างเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของผู้สูบ, การให้ทุนสนับสนุนสถาบันวิจัยบุหรี่และนักวิจัย บิดเบือนและแย้งผลการวิจัยข้อเสียของบุหรี่, การใช้กลุ่มสมาคมผู้ปลูกยาสูบเป็นเครื่องมือเคลื่อนไหวชะลอการขึ้นภาษี และพันธมิตรทางธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมยาสูบ เช่นธุรกิจบันเทิง ภาพยนตร์ ท่องเที่ยว และสื่อมวลชนบางกลุ่มอีกด้วย
เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมยาสูบมีอิทธิพล และอำนาจมหาศาล อีกทั้งใช้กลยุทธ์การตลาดที่แนบเนียนแยบยล หลอกล่อให้ผู้ที่ไม่รู้เท่าทัน จนทำให้จำนวนนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกัน จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้ง อุตสาหกรรมยาสูบ พร้อมทั้งติดอาวุธทางปัญญาแก่เยาวชนไม่ให้ติดกับดักสินค้าแห่งความตายนี้
สูบบุหรี่ เสพความตาย พ่นพิษร้ายสู่คนใกล้ชิด 

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks