น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

เหล้า-บุหรี่ ตัวการภาระโรค | PG&P

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คนในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพเป็นอย่างมาก การศึกษาภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย เป็นการวิเคราะห์การสูญเสียด้านสุขภาพ โดยวัดความสูญเสียทางสุขภาพทีมีหน่วยเป็นปีสุขภาวะที่สูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควรหรือจากการบาดเจ็บ ความพิการจากปัญหาสุขภาพต่างๆ

ในวงการแพทย์และวิจัยเป็นที่รู้จักกันดีกับหน่วยวัดนี้ที่ชื่อ “DALYs : Disability Adjusted Lift Years” ถ้าเรียกให้ง่ายๆ คือปีสุขภาพดีที่สูญเสียไปนั่นเอง

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการดำเนินการศึกษาพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย มีผลการสำรวจที่น่าสนใจ

ภาระโรคและสุขภาพของประชาชนไทยปี 52

ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจกับคำว่า “ภาระโรค” ว่าหมายถึงอะไร

การป่วยและการเสียชีวิต เป็นดัชนีบอกขนาดปัญหาสุขภาพที่คุ้นเคยมานาน ทั้งนี้ความสูญเสียทางสุขภาพยังมีความพิการระดับต่างๆ อยู่ด้วย โรคบางโรคทำให้เสียชีวิตโดยไม่มีระยะเวลาป่วยหรือพิการยาวนาน บางโรคไม่ทำให้เสียชีวิต และมีระยะเวลาป่วยหรือพิการหลายสิบปี ความสูญเสียทางสุขภาพนี้รวมเรียกว่าเป็นภาระโรค (Burden of disease)

ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคฯ ได้จัดสำรวจภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทยจะมีขึ้นทุกๆ 5 ปี โดยทีมวิจัยจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)   ซึ่งปี 2552 เป็นการสำรวจครั้งที่ 3 และจะมีการสำรวจครั้งที่ 4 ในปี 2557

ทพญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ นักวิจัยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)   ทพญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ นักวิจัยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)   กล่าวว่า จากการศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เป็นสาเหตุของภาระโรคและการบาดเจ็บของปี 2552 พบว่าปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ของการสูญเสียปีสุขภาวะ  เพศชายมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 15.7 จากยาสูบร้อยละ 11.3 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 6.2 การไม่สวมหมวกนิรภัยร้อยละ 5.9 และภาวะคลอเลสเตอรอลสูงร้อยละ 3.1 ส่วนเพศหญิงมาจากดัชนีมวลกายสูง (อ้วน) ร้อยละ 7.7 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 6 การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยร้อยละ 5.4 ภาวะโคเลสเตอรอลสูงร้อยละ 3.3 และ การสูบบุหรี่ร้อยละ 2.2 ทั้งนี้การศึกษาภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงเชื่อมโยงกับอันดับโรคนั้นมีความสำคัญมาก หากสามารถลดปัจจัยเสี่ยงก็จะสามารถลดภาระโรคที่จะตามมาได้ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สัมพันธ์กับโรคต่างๆ ในอันดับต้นๆ หลายโรค เช่น โรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร และโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น สำหรับอายุคาดเฉลี่ยของประชากรไทยอยู่ที่ 70 กว่าปีขณะที่ค่าเฉลี่ยปีสุขภาพดีจะมีอัตราน้อยกว่านี้

“จากผลวิจัยที่ออกมาทำให้เห็นว่า เพศชายเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มสุรา สูญเสียปีสุขภาวะดีจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอันดับต้นๆ ทำให้เห็นความเสี่ยงของผู้ชายในช่วงวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-29 ปี ที่มีการดื่มเหล้า ซึ่งหลังจากนี้เราก็จะทำการศึกษาต่อถึงภาระที่หลีกเลี่ยงได้ เราจะป้องกันความสูญเสียได้จากการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น เราลดความดันโลหิตของประชากรไทยเฉลี่ยไปได้ก็จะทำให้ลดภาระโรคได้เท่าไหร่ ซึ่งหากเราได้ในส่วนนี้ก็จะใช้ในการนำประชาสัมพันธ์ต่อประชากรต่อไปได้ว่าโอกาสการลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคนั้นต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง”

จะเห็นว่าในผู้ชายน่าจะลดการตายก่อนวัยอันควรได้มากจากปัจจัยเสี่ยงที่จะสามารถป้องกันการดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการลดความสูญเสียของผู้ชาย แต่ผู้หญิงก็ต้องเน้นเรื่องการทำให้น้ำหนักพอดี ทั้งการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร

หากเทียบกับปี 2547 ซึ่งเป็นการสำรวจในครั้งแรกกับปี 2552 นั้น ทพญ.กนิษฐาบอกว่า ความจริงแล้วจะสามารถเทียบได้ในบางส่วน เช่น การเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ นั้น มีอัตราลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีการใช้ยาต้านไวรัสขณะที่ก็ยังมีความสูญเสียทางด้านสุขภาพอยู่ที่ไม่ได้มาจากการเสียชีวิต สำหรับเรื่องการติดสุรานั้นมีผลใกล้เคียงกัน แต่การเกิดโรคเรื้อรังนั้นแน่นอนว่ามีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเพิ่มตามอายุของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความเสี่ยงการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป มีเครื่องทุ่นแรงมากขึ้น ทำให้ขาดออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามหากเทียบกับทั่วโลก สัดส่วนการเกิดโรคก็คล้ายคลึงกับทั่วโลกคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาใหญ่ แต่อุบัติเหตุก็ยังสูง ขณะที่ประเทศเจริญแล้วในส่วนนี้จะลดลง แต่ไปเพิ่มในส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น การบริโภคอาหาร ไขมันและคอเลสเตอรอล เป็นต้น

อย่างไรก็ตามแม้ผลสำรวจจะออกมาในปีนี้ หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะมีทิศทางอย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะนำผลวิจัยที่ได้รับไปพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ และการสร้างการตระหนักรู้ของประชากรไทยให้เห็นถึงความสำคัญของการมีสุขภาวะที่ดีในทุกด้าน เพื่อให้อยู่ปีสุขภาพดีที่สูญเสียไปลดลง

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks