น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

สธ.แนะปชช.ใช้ 5 ป.ปราบยุงลาย ลดไข้เลือดออก

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สธ.พบ ปี 2555 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 21,289 ราย ภาคกลางป่วยมากสุด กำชับ สสจ.ทั่วประเทศคุมเข้ม ชูตำบลน้ำดิบ จ.ลำพูน ตัวอย่างชุมชนควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการจนไม่มีผู้ป่วย แนะประชาชนใช้มาตรการ 5 ป.ปราบยุงลาย

สธ.แนะปชช.ใช้ 5 ป.ปราบยุงลาย ลดไข้เลือดออก

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังนำคณะสื่อมวลชนดูงานการควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยยังน่าเป็นห่วง เพราะเป็นช่วงอากาศร้อนสลับกับฝนตก ทำให้เกิดน้ำขังบริเวณพื้นที่ต่างๆ และกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ ส่งผลให้ช่วงนี้ประชาชนอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกง่ายและมีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้น สธ.จึงได้แจ้งแนวทางไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกแห่ง ดังนี้ 1.ทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากจำเป็นให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการในระดับจังหวัดหรือพื้นที่ทันที 2.เร่งรัดการลดจำนวนผู้ป่วยตาย ด้วยการจัดตั้งเครือข่ายให้คำปรึกษาด้านรักษาพยาบาลและส่งต่ออย่างรวดเร็ว และ 3.ตัดวงจรการระบาดของโรค ด้วยการป้องกันควบคุมโรคให้เร็วขึ้น

นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า สธ.ได้ออกมาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออก 5 ด้าน ดังนี้ 1.การเฝ้าระวังควบคุมโรคในทันทีที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2.ป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำหรือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน 3.การเข้าถึงบริการต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อลดการป่วยตาย 4.การสื่อสารความเสี่ยงต้องชัดเจนและทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานให้ความสำคัญและเกิดความร่วมมือ และ 5.การร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งทั้ง 5 มาตรการดังกล่าว ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่จากทุกภาคส่วนและประชาชนดำเนินการอย่างจริงจังและต่อ เนื่อง เพื่อลดจำนวนการป่วยตายจากโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่

นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ในส่วนกรมควบคุมโรค ได้มีมาตรการเข้มข้นในเรื่องนี้ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกที่อาจจะเกิดขึ้น โดยกำชับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ ประสานกับ สสจ. เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ลงพื้นที่เพื่อควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมสนับสนุนการดำเนินการทุกด้าน เช่น ทีมสอบสวนโรค ทีมปฏิบัติการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย ทรายกำจัดลูกน้ำ ยาทากันยุง และสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดยุงลายเพื่อลดปริมาณยุงลายให้มากที่สุด

ด้าน นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปัจจุบันของไทย พบว่า จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-12 กรกฎาคม 2555) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน 21,289 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 33.33 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต จำนวน 24 ราย เมื่อแยกเป็นรายภาคที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ ภาคกลาง ผู้ป่วย 8,046 ราย เสียชีวิต 7 ราย รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ป่วย 5,396 ราย เสียชีวิต 7 ราย ภาคใต้ ผู้ป่วย 4,590 ราย เสียชีวิต 5 ราย และภาคเหนือ ผู้ป่วย 3,257 ราย เสียชีวิต 5 ราย ตามลำดับ

"ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด มีดังนี้ มากที่สุดคือ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ป่วย 294 ราย รองลงมาจังหวัดแพร่ 251 ราย เชียงราย 243 ราย น่าน 59 ราย ลำปาง 52 ราย พะเยา 50 ราย ลำพูน 13 ราย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน 12 ราย รวม 8 จังหวัด จำนวนผู้ป่วย 974 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิตเลย และหากพิจารณาตามอัตราป่วย พบว่า จังหวัดที่มีอัตราป่วยน้อยที่สุดคือ จังหวัดลำพูน คิดเป็นอัตราป่วย 3.21 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราป่วยทั้งประเทศ 10 เท่า" นพ.วิชัย กล่าว

นพ.วิชัย กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับกรณีศึกษาการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งเกิดจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและความเชื่อมั่นในศักยภาพของ ตนเอง จนเกิดนักวิจัยชุมชนขึ้น และจับมือกันเพื่อร่วมกันสร้าง “หมู่บ้านอยู่ดี มีสุข และปลอดไข้เลือดออก” รวมถึงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ดำเนินการใน 6 หมู่บ้าน เป็นเวลา 3 ปีมาแล้ว แต่เดิมพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสถิติการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง แต่หลังจากดำเนินงานตามโครงการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายด้วยวิถีพื้นบ้าน การจัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด การเรียนรู้การสอบสวนโรค และมีการขยายการดูแลสุขภาพจาก อสม. สู่ ชาวบ้าน อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง มีการร่วมมือกันทำงานแบบบูรณาการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และลดการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของคนในชุมชนลงจำนวนมาก จนปัจจุบันตั้งแต่ต้นปี 2555 เป็นต้นมา ยังไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแม้แต่รายเดียว ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของคนในชุมชนตำบลน้ำดิบ

“ขอให้ประชาชนปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วย 5 ป.ปราบยุงลาย ได้แก่ ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง และปฏิบัติจนเป็นนิสัย อาทิ ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์ของยุง และปฏิบัติตนเองจนเป็นนิสัย หากประชาชนสามารถทำตามมาตรการดังกล่าว จะสามารถช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลงได้ ” นพ.วิชัย กล่าว







ที่มา : หนังสือพิมพ์  ASTV ผู้จัดการออนไลน์

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks