น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

ยายกับหลาน ช่องว่างต่างวัย

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จากเหตุกระทบกระทั่ง ยาย-หลาน ที่จบลงด้วยความรุนแรงและชีวิต สะท้อนสภาพปัญหาสังคมไทยของ คนสองวัย ที่ต้องมาอยู่ด้วยกันตามลำพังด้วย สภาพความจำเป็นของครอบครัว

ยายกับหลาน ช่องว่างต่างวัย

ไม้ ที่ยายหยิบมาตีหลานมีที่มาจากหลากหลายปัญหา ทางออกในเรื่องนี้ควรเป็นเช่นไร ใครต้องเข้ามาช่วยเยียวยา

เพราะยังมีคนเฒ่าคนแก่และเด็กไทยหลายคนที่ตกอยู่ในภาวะความกดดันเช่นเดียวกับ ยาย และ หลานชาย ผู้จากไป

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

เป็นเรื่องน่าเสียใจ ทุกอย่างเมื่อถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่ามีคนที่สูญเสียทุกฝ่าย เสียลูกที่รัก หรือเสียหลานที่ครั้งหนึ่งเคยดูแลผูกพันกันมาก แต่ละคนยังสูญเสียสถานะทางสังคมและความไว้วางใจต่อกัน

การดูแลจิตใจผู้เป็นแม่เองในกรณีนี้มี 2 ประเด็น คือการช่วยให้แม่ปรับตัวจากการสูญเสียลูกชาย อีกส่วนหนึ่งคือการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมอารมณ์โกรธและการคลี่คลายปัญหา ที่ขาดสติของยาย กลไกตรงนี้ต้องใช้ความสามารถด้านจิตใจระดับหนึ่ง และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและเครือญาติด้วย

ขั้นตอนนี้การจะก้าวข้ามไปได้แม่ต้องสงบเยือกเย็น ควรแยกแยะว่ายายซึ่งเป็นแม่ของตัวเองเคยสั่งสอนดูแลหลาน มองความผูกพันเชิงเครือญาติและยึดเป็นหลัก ยายอาจมีข้อจำกัดตรงวิธีคิด การจัดการ เกิดความกดดันและการปะทะกันของความรู้สึก การยอมรับการปรับปรุงพฤติกรรมกลไกนี้ต้องใช้เวลา

ยายเองที่เลี้ยงหลานมากับมือ ทำไปเพื่อระบายความโกรธหรือลดความคับข้องใจ คนที่อยู่ในภาวะแบบยายอาจเสียใจหรือทุกข์ใจไม่แพ้กัน

กรณีนี้อาจมีหลายปัญหาที่เป็นเงื่อนปมซับซ้อนในครอบครัว เช่น เรื่องเศรษฐกิจ ฐานะทางครอบครัว ความเครียด ความกดดันในการดำรงชีวิต หากถูกเร้าจากปัญหาทางโรงเรียน ทั้งหลาน แม่ ยาย ต่างมีปัญหาอารมณ์

ยังมีหลายครอบครัวที่น่าห่วงใย ซึ่ง ณ วันนี้ต่างกันตรงที่ไม่ได้พลั้งมือทำร้ายถึงชีวิต แต่อาจล่อแหลมต่อพฤติกรรมเหล่านี้ ซึ่งยังเดินมาไม่ถึง ต้องเพิ่มความเข้าอกเข้าใจ มีทักษะการคลี่คลายปัญหา ควบคุมอารมณ์และเข้าใจช่วงวัยของกันและกัน

ครูยุ่น มนตรี สินทวิชัย เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก

เด็กขาดทั้งพ่อและแม่ เมื่อยายดูแลเด็กแต่ช่องว่างระหว่างยายกับเด็กห่างกันมาก ห่างกันโดยไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ห่างกันด้วยภาวะปัญหา เมื่อไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เด็กก็โหยหา

เด็กอายุ 13 ปี ส่วนยาย 55 ปี มีความห่างกันเรื่องอายุ ต่างคนต่างมีความคาดหวัง เด็กก็หวังว่ายายจะมาทดแทนบางจุดของพ่อแม่ได้ ส่วนยายก็หวังว่าหลานที่เลี้ยงดูมาไม่น่าจะนำความเดือดร้อนมาให้ แต่กลับผิดหวังเมื่อต่างคนต่างมีเงื่อนไข

นอกจากนี้ ความไม่ชัดเจน ความรุนแรงในการลงโทษถูกนำมาเลือกใช้ลงโทษเด็กเสมอ บางภาวะอารมณ์ของความรู้สึกทำให้ขาดความยับยั้ง

อุทาหรณ์สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ปรากฏการณ์ที่รุนแรงไม่เหมาะสำหรับเด็กและนำมาแก้ปัญหา มีโอกาสพลั้งพลาดได้เสมอเมื่อบวกกับความรู้สึกและภาวะแวดล้อมภายในของคน

ในประเทศไทยยังมีปัญหานี้อีกมาก และมีคนอีกเยอะแยะที่อยู่ในภาวะเดียวกับยายหรือคล้ายคลึงกับยายที่เอาหลาน ไม่อยู่ โดยเฉพาะเด็กที่ถูกทอดทิ้งจากพ่อแม่ เวลามีปัญหาก็ไม่มีทางออก

หากมีคนมาแชร์ปัญหาเรื่องหลานให้ยาย อาจไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง หรือถ้าติดต่อพ่อแม่เด็กได้ ต้องเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหา น่าจะมีองค์กรหรือหน่วยงานที่ให้คำปรึกษายายหรือช่วยเหลือเขาได้ ความรุนแรงไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยเฉพาะกับวัยรุ่นและเด็กที่กำลังก้าวสู่ วัยรุ่น

สิ่งที่เราขาดคือเมื่อเด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ หรือ แม้เด็กอยู่กับพ่อแม่ เวลาเด็กประสบปัญหาหรือคนเลี้ยงดูถึงทางตัน ควรมีกลไกเข้าไปช่วยเหลือให้คำปรึกษา หรือมีองค์กรของรัฐเข้าไปดูแลเด็ก เยี่ยมเยือน เป็นที่ปรึกษา กลไกเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับเด็ก แต่บ้านเรายังขาด

ปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชนในขณะนี้เราได้แต่วิพากษ์และนินทาเด็กว่าเด็ก วัยรุ่นสมัยนี้มีพฤติกรรมทางเพศมั่วเซ็กซ์ ติดเกม รุนแรง ติดเพื่อน ในรูปแบบเก็บข้อมูลหรือวิจัย

ก่อนที่เด็กเป็นแบบนี้ เรามีเครื่องมือกลไกที่ช่วยเหลือเด็กและคนเลี้ยงดูเด็กหรือไม่ อย่างน้อยที่สุดความรู้ในการเลี้ยงดูเด็ก การแก้ปัญหาเด็กควรกระจายไปอยู่ใกล้มือที่สุด เข้าถึงง่าย สำหรับคนที่มีกำลังอาจซื้อหาคู่มือหนังสือ หรือปรึกษานักจิตวิทยา

มีเด็กที่กำลังอยู่ในชะตากรรมแบบนี้ และยายที่อยู่ในภาวะแบบนี้อีกเยอะ สำหรับเด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เด็กกำพร้า หรือกรณีพ่อแม่เอาเด็กไม่อยู่ บางทีเด็กก็อยากมีคนเข้าไปคลี่คลายปัญหา

ทั้งคนเลี้ยงและเด็กต้องการบุคคลหรือวิธีการที่ช่วยคลี่คลายปัญหา หากมีบริการของภาครัฐ หน่วยงานให้คำปรึกษา เหตุการณ์เหล่านี้จะคลี่คลายและลดลง

สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผอ.มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

การทำร้ายจนถึงแก่ชีวิตแสดงให้เห็นถึงการไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หากพิจารณาจากอายุของยาย 55 ปี แม่ของเด็กอายุ 38 ปี แสดงว่ายายมีลูกตอนอายุ 17 ปี ในขณะนั้นคงอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องดิ้นรนและดูแลรับผิดชอบลูกที่เกิดมา และมีวุฒิภาวะที่หยุดการพัฒนาตั้งแต่เป็นแม่คน จึงมีปัญหาในเรื่องการควบคุมตนเอง

ลักษณะเด็กวัยนี้อาจมีความก้าวร้าว เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเพศทำงานสูง ผู้ใหญ่จึงต้องมีหน้าที่ขัดเกลา หากเลี้ยงไม่ไหวก็ควรให้แม่มารับตัวเด็กไป

คดีนี้เป็นคติสอนใจสำหรับพ่อแม่ของเด็กได้ดีว่า ก่อนจะผลักลูกให้เป็นภาระของคนอื่น ควรตรวจสอบให้ดีก่อนว่าบุคคลที่จะเลี้ยงดูลูกนั้นมีนิสัยใจคออย่างไร เคยมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงหรือไม่ เพราะความคิดที่ว่าการเป็นปู่ย่าตายายแล้วจะไม่ทำอะไรเด็กถือเป็นความคิดที่ ไม่ถูกต้อง หรือหากไปฝากเลี้ยงแล้วควรเข้าไปสนใจไยดีชีวิตของเด็กบ้าง

ขณะนี้มีหลายล้านคนมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขควรให้ความสำคัญและเพิ่มบทบาทของกรมสุขภาพจิต จัดสรรทรัพยากรบุคคลให้เพียงพอ

อารีวรรณ จตุทอง ทนายความทำงานด้านประเด็นผู้หญิง

กรณีที่เกิดขึ้นสะท้อนชัดเจนถึงความรุนแรงในครอบครัว และเห็นได้ว่าไม่ว่าชายหรือหญิงก็ก่อความรุนแรงได้เหมือนกัน

ประเด็นสำคัญคือ สาเหตุของการใช้ความรุนแรงไม่ใช่เกิดจากบุคคลอื่นเท่านั้น แต่เกิดจากตัวผู้ใช้ความรุนแรงเองด้วย กรณีนี้ทราบว่ายายเคยมีคดีฆ่าสามีตัวเองเมื่อหลายปีก่อน ซึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ศาลสามารถใช้อำนาจส่งตัวผู้กระทำความรุนแรงเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูเยียวยา ได้ นับเป็นนวัตกรรมที่นำบทลงโทษทางอาญามาผนวกกับการแก้ปัญหาที่รากเหง้าของการ ใช้ความรุนแรง

กรณีของยายหลานไม่รู้ว่าสาเหตุที่นำไปสู่ความรุนแรงคืออะไร ทำไมการโต้เถียงจึงผิดวิสัยของครอบครัวโดยปกติ ต้องกลับไปดูพฤติกรรมการสั่งสอนในครอบครัว

บางคนยังมีความอดทนต่ำ จึงใช้ความรุนแรงที่เกินขอบเขตจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บ

ปัญหาคือกระบวนการยุติธรรมมักดำเนินการฝ่ายเดียว โดยไม่นำเข้าสู่กระบวนการบำบัดเยียวยา ซึ่งปัจจุบันศาลสามารถสั่งให้นำผู้กระทำผิดมาบำบัดเยียวยาได้ จะทำให้ครอบครัวกลับมาสงบสุขมากขึ้น ไม่เช่นนั้นผู้ก่อความรุนแรงก็ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทางออกคือกระบวนการยุติธรรม และกระบวนการทางสาธารณสุขต้องทำงานร่วมกัน

ส่วนแม่ของเด็กซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบทางจิตใจนั้น จำเป็นต้องได้รับการเยียวยาจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเช่นเดียวกัน จะได้เรียนรู้วิธีคลายทุกข์ และป้องกันไม่ให้ก่อความรุนแรงในอนาคต







ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks