น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

คร.เร่งรณรงค์ป้องกันวัณโรค ลดอัตราเสียชีวิตไม่เกิน 5% ในปี59

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า  WHO จัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง ซึ่งในปี 2554 สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย มีความชุก คือ 182/100,000 ประชากร หรือประมาณ 130,000 ราย
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง ซึ่งในปี 2554 WHOได้คาดประมาณสถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย มีความชุก คือ 182/100,000 ประชากร หรือประมาณ 130,000 ราย มีอัตราอุบัติการณ์การเกิดวัณโรครายใหม่ คือ 137/100,000 ประชากร หรือประมาณ 94,000 ราย และอัตราตาย 16/100,000 ประชากร หรือประมาณ 11,000 ราย และรวมถึงผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในแต่ละปีของประเทศไทย มีจำนวน 1,920 ราย
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า การดำเนินงานควบคุมวัณโรคในประเทศไทยได้มีมานานแล้ว โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เห็นได้จากหลักฐานสำคัญที่ปรากฏมาจนทุกวันนี้คือ บทความเกี่ยวกับวัณโรคชื่อ “โรคทุเบอร์คุโลสิส” ที่ได้ทรงสนพระทัยและนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2463 และได้มีพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ถึงหลวงนิตย์ เวชช์วิศิษฐ์ มีพระราชปรารภตอนหนึ่งว่า “TB มีมากเต็มที และไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะไม่มีโรงพยาบาลพิเศษหรือ Sanatorium สำหรับรักษารายที่ไม่หนักนัก การเรื่อง TB นั้นทำให้ฉันสนใจมาก อยากให้มี Anti TB Society” ด้วยสำนึกและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ เนื่องในโอกาสวันมหิดล วันที่ 24 กันยายน 2555 กรมควบคุมโรค จึงมีกิจกรรมและดำเนินการเพื่อเร่งรัดงานวัณโรคอย่างต่อเนื่อง โดยคาดหวังที่จะลดความรุนแรงและป้องกันการแพร่ระบาดของวัณโรคให้มากที่สุด
จากผลการดำเนินงานในปี 2553 พบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะพบเชื้อ มีอัตราความสำเร็จในการรักษาร้อยละ 87 และพบปัญหาการเสียชีวิตร้อยละ 7 และขาดยาร้อยละ 3 ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2552 ที่มีอัตราความสำเร็จในการรักษาร้อยละ 85 การเสียชีวิตร้อยละ 8 และขาดยาร้อยละ 5 เนื่องจากในปีดังกล่าว สธ.มีนโยบายเร่งรัดการดำเนินงานด้านวัณโรคอย่างเข้มข้น โดยมีกิจกรรมเพื่อเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก วินิจฉัยและรักษาให้เร็ว มีการพัฒนาคุณภาพกลวิธีการรักษาด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยง (DOT) โดยมีพี่เลี้ยงทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตขณะผู้ป่วยกลืนยา เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรครับประทานยาสม่ำเสมอและครบถ้วน เป็นการป้องกันเชื้อวัณโรคดื้อยาด้วย โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญ คือ ลดการเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 5 ลดการขาดยาเป็นศูนย์ ภายในปี 2559 โดยขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนดำเนินการตามกิจกรรมหลัก ดังนี้
 1. เร่งรัดคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง เช่น ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ กลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง เบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการโดยเร็ว ตัดวงจรการแพร่เชื้อ ลดความรุนแรงและการเสียชีวิต
2. ให้ผู้ป่วยวัณโรคมีโอกาสเข้าถึงการรักษาตามมาตรฐานทุกราย ให้การสนับสนุน ควบคุมกำกับ ติดตามเพื่อลดปัญหาการขาดยา
3. พัฒนาเทคโนโลยีการวินิจฉัยวัณโรคที่รวดเร็ว โดยเฉพาะการวินิจฉัยวัณโรคดื้อยา
4. สร้างเครือข่ายเสริมสร้างความรู้เรื่องวัณโรคสู่ภาคประชาชน
 “คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป ในการสังเกตอาการของวัณโรค โดยอาการจะเริ่มจากไอเรื้อรังเกินกว่า 2 อาทิตย์ มีไข้ต่ำๆ ในช่วงบ่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ซึ่งประชาชนมักเข้าใจผิดว่าป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา จึงมักซื้อยามากินเอง และอาการของโรคนี้จะไม่รุนแรง ยังทำงานได้ปกติ จึงทำให้เชื้อโรคแพร่ไปสู่คนอื่นได้ โดยเชื้อนี้จะอยู่ในเสมหะ ลอยไปในอากาศ หากพบผู้ที่มีอาการดังกล่าว ขอให้รีบพาไปโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้านเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาให้เร็วที่สุด หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว



ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ 
PG&P
สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks