น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

ความมั่นคงทางอาหาร...เริ่มจากครัวชุมชน

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความมั่นคงทางอาหาร...เริ่มจากครัวชุมชน

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา นานาประเทศต่างต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติ รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหาร หลายประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤตขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะเมื่อผลผลิตทางการเกษตรมีราคาแพง และไม่สามารถผลิตได้เพียงพอตามความต้องการ เนื่องในวันอาหารโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี หลายหน่วยงานจึงมีความพยายามที่จะร่วมกันฝ่าวิกฤต ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารรวมถึงประเทศไทยด้วย
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้จัดการแผนงานความมั่นคงทางอาหาร โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี บอกว่า ในปี 2555 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหาร ได้มอบหมายให้แผนงานความมั่นคงทางอาหารร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดประชุมเพื่อขับเคลื่อนให้มีความมั่นคงทางอาหาร โดยคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ได้วิเคราะห์ วางแผน และพยายามหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้มาตลอด โดยตั้งเป้าว่าก่อนวันอาหารโลก ในวันที่ 16 ตุลาคม จะมีการจัดประชุมแสดงความคิดเห็นเรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความมั่นคงอาหารจากชุมชนสู่ระดับชาติ” โดยนำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ในแต่ละพื้นที่ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และมุมมองของมิติความมั่นคงอาหาร ในเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ และการปรับตัวของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น  ระหว่างคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย นักวิชาการ นักพัฒนา และผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน เพื่อสื่อสารความเข้าใจเกี่ยวกับความมั่นคงอาหารในบริบทประเทศไทยทุกมิติและทุกระดับตั้งแต่ ชุมชน ท้องถิ่น จนถึงระดับชาติ เพื่อให้เกิดแนวคิดและทิศทางในการจัดทำแผนงานเชิงปฏิบัติการในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหารในทุกระดับ เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยด้านความมั่นคงอาหารที่เหมาะสมและจำเป็นต่อสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต
“ในภาพรวมของประเทศ เราอาจเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกมีบริษัทที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก แต่แท้จริงแล้วประเทศไทยยังมีความไม่มั่นคงทางอาหารอยู่ ซึ่งข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ในช่วงปี 2547 -2549 ประเทศไทยมีประชากรเป็นผู้ขาดสารอาหารถึง 17% ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กอยู่อัตราที่ต่ำ ดังนั้น ในภาพรวมดูเหมือนดี แต่ในทางปฏิบัติถือว่ายังมีปัญหา ดังนั้น การแก้ปัญหาเราจะมองแต่ภาพใหญ่อย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องเริ่มจากชุมชน”
นายวิฑูรย์ กล่าวต่อว่า ประเด็นที่สำคัญที่เป็นไฮไลท์ในงานนี้จะมีการนำเสนอใน 3-4ประเด็นสำคัญ เช่น วิเคราะห์ภาพใหญ่ของระบบโลกและผลกระทบด้านอาหาร การถอดบทเรียนการสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยยก 3 พื้นที่ตัวอย่าง 1.ความมั่นคงอาหารของชุมชนในภูมินิเวศน์ชายฝั่งทะเล อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ที่มีความโดดเด่นในกระบวนการป้องกันภัยคุกคามความมั่นคงด้านอาหาร เช่น ผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง มีการสร้างท่าเรือ การทำหารประมงที่ทำลายร้าง เป็นต้น 2.ความมั่นคงอาหารชุมชนในภูมินิเวศน์ป่า/ภูเขาที่ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชุมชนชาติพันธุ์มีการผลักดันให้มีการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ส่งเสริมพันธุ์พืชที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติ การอนุรักษ์ป่าไม้ พืชพรรณท้องถิ่น และ3.ความมั่นคงอาหารชุมชนในภูมินิเวศน์นาข้าวและการแลกเปลี่ยนอาหารของเมืองชนบทในภาคอีสาน ที่ จ.ยโสธร จ.สุรินทร์ จ.มหาสารคาม ซึ่งมีความโดดเด่นในการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อรับประทานเองและจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นที่มีหลายระดับ เป็นการเอื้ออำนวยให้กับคนเมืองสามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้
นอกจากนี้จะมีการนำเสนอตัวชี้วัดเครื่องมือที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา โดยมีการทำตัวชี้วัดใน 30 ชุมชน เช่น ดูว่าในชุมชนมีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ สามารถเข้าป่าหาอาหารตามธรรมชาติได้หรือไม่ หรือสามารถผลิตอาหารได้เองหรือไม่ มีสัดส่วนอย่างไร เป็นต้น โดยเน้นชุมชนท้องถิ่นที่สามารถพึ่งพิงตนเองด้านอาหารได้ ส่วนในชุมชนเมืองก็มีความสำคัญ ได้มีการนำเสนอเรื่อง “สวนผักคนเมือง” ที่เป็นกระแสใหญ่มากและแนวโน้มของเมืองใหญ่ทั่วโลก โดยทั้งชุมชนเมืองและชนบทจะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน
นายวิฑูรย์ ทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ดี สถานการณ์ปัจจุบันวิกฤตด้านอาหารยังคงอยู่ แม้ว่าสินค้าการเกษตรบางชนิดในช่วงนี้จะมีราคาตกต่ำ แต่ก็เป็นเหตุการณ์แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งความสามารถในการควบคุมราคาสินค้าในตลาดไม่ได้เป็นตัวชี้วัดเพียงอย่างเดียว เนื่องจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่คนไทยและคนทั่วโลกที่ต้องเผชิญอยู่ทุกปี เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก เช่น เมื่อ 2-3 ปีก่อน เกิดภัยธรรมชาติในเวียดนาม หรือ สหรัฐอเมริกา ก็ส่งผลกระทบทำให้ราคาอาหารถีบตัวสูงขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเตรียมความพร้อม ยิ่งหากได้ประกาศตัวเป็นครัวของโลก เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหาร การมองภาพใหญ่อย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องเริ่มจากชุมชนไปสู่ระดับชาติ
หากเราสามารถสร้างความมั่นคงด้านอาหารในชุมชนได้ ความหวังที่จะเป็นครัวของโลกคงไม่ไกลเกินเอื้อม...

PG&P
น้ำมันรำข้าว  สโนว์  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี  pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks