เมื่อวันที่ 4 เม.ย. ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ ม.เชียงใหม่ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รศ.นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ ERDI พร้อมนักวิจัย ได้ร่วมกันแถลงข่าว "Biogas 1,000 ฟาร์ม ร่วมใจกู้วิกฤติไฟฟ้าดับ"
รศ.ประเสริฐ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย.เป็นต้นไป ประเทศพม่าจะหยุดซ่อมท่อส่งก๊าซ ส่งผลให้ปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศไทยเหลือระดับวิกฤตประมาณ 700 เมกกะวัตต์ และคาดการณ์ว่าในวันดังกล่าวจะมีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดในเวลาประมาณ 14.00 น.หากประชาชนไม่ทราบอาจทำให้ไฟฟ้าสำรองไม่เพียงพอ อาจต้องตัดไฟฟ้าในบางส่วนซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคธุรกิจและประชาชน ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ
ทั้งนี้ สถาบันได้ดำเนินงานด้านพลังงานก๊าซชีวภาพหรือไบโอก๊าซในภาคปศุสัตว์ทั่ว ประเทศมากว่า 18 ปีแล้ว ซึ่งในปัจจุบันสถาบันได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบกิจการฟาร์ม ปศุสัตว์ทั่วประเทศ ทั้งฟาร์มสุกร ฟาร์มโคนม ฟาร์มไก่ และโรงฆ่าสัตว์ กว่า 1,062 แห่งทั่วประเทศให้นำเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพมาใช้ในการสร้างระบบก๊าซชีวภาพ เพื่อผลิตพลังงานทดแทน และนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบพลังงานต่างๆ
“โบโอก๊าซที่เราผลิตได้นอกจากนำไปใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วยังต่อยอด นำไปใช้เติมในรถยนต์ในรูปก๊าซไบโอมีเทนอัด หรือ ซีบีจี มากว่า 2 ปีแล้ว และจากการทดสอบก็พบว่าแรงม้าหรือกำลังเครื่องยนต์ไม่ต่างจากเอ็นจีวี แต่ดีกว่าตรงที่ว่าจากการตรวจสอบสภาพพบว่าไฮโดรคาร์บอน หรือคาร์บอนมอนนอกไซด์ต่ำกว่ามาตรฐานอีกด้วย ทั้งนี้ สรุปได้ว่าซีบีจีมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเอ็นจีวี สามารถใช้ทดแทนกันได้ รถที่นำมาใช้ไม่ต้องดัดแปลง หากการขาดแคลนพลังงานเป็นปัญหาสำคัญ การแสวงหาพลังงานทดแทนก็เป็นการแก้ปัญหาได้ และคาดหวังว่าในอนาคตผลงานวิจัยนี้จะมีใช้กันทั่วประเทศ” ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
PG&P
น้ำมันรำข้าว สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น