น้ำมันรำข้าว PG&P

น้ำมันรำข้าว PG&P
น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว oryzanol

โบทานีก้า PG&P

โบทานีก้า PG&P
โบทานีก้า สูตรข้าวเหนืยวก่ำงอก

เอช พลัส H Plus PG&P

เอช พลัส H Plus PG&P
เอช พลัส กรดอะมิโนธรรมชาติ

ไฟรโตโปร Phyto-Pro

ไฟรโตโปร Phyto-Pro
ไฟรโตโปร คืนความแข็งแรงและความมั่นใจให้กับคุณสุภาพบุรุษ

ไบโอแมค แมกนีเซียม ( Bio Mag Magnesium ) www.pgpthai.com

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไบโอแมค แมกนีเซียม ( Bio Mag Magnesium )
ผลิตภัณฑ์
PG&P พีจีแอนด์พี เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์

ส่วนประกอบที่สำคัญ
- แมกนีเซียม อะมิโน เอซิต คิเลต   66.7%
- ไอรอน  อะมิโน เอซิต คิเลต         2.50%
- คอปเปอร์    อะมิโน เอซิต คิเลต  2.00%
- โฟเลต                                         0.01%

http://www.pgpthai.com
คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ไบโอแมค แมกนีเซียม ( Bio Mag Magnesium )แมกนีเซียม  เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์โปรตีนให้ร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับ แคลเซียม อันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย แมกนีเซียม ยังช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

แมกนีเซียม ประโยชน์ที่นำมาใช้ทางด้านการแพทย์ก็คือ แมกนีเซียมมีส่วนสำคัญในกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์มากกว่า 300 ชนิด จึงจัดเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อร่างกายของมนุษย์

1. มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป้นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาท การหด และคลายตัวของกล้ามเนื้อ
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
3. ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต้านทานความหนาวในอากาศเย็น ความต้องการแมกนีเซียมจะสูงขึ้น
4. จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูกและฟัน
5. สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี และ อี
6. จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม
7. อาจป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจ โดยจะไปลดความดันเลือดลง และป้องกันการเกาะของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
8. ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย
9. อาจทำหน้าที่เป็นตัวยาสงบประสาทตามธรรมาชาติ ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน และลดความถี่ในการเกิดได้ ลดอาการซึมเศร้า และช่วยให้นอนหลับ โดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน
10. ป้องกันไม่ให้ แคลเซียม จับตัวอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต
11. จำเป็นต่อการรวมตัวของ Parathyroid Hormone ซึ่งมีบทบาทในการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูก
12. ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
13. ลดอาการปวดเค้นหน้าอกในผู้ป่วยโรคหัวใจ
14. ป้องกันและใช้ร่วมกับการรักษาโรคหอบหืด
15. บรรเทาและป้องกันอาการปวดประจำเดือน โดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
16. การรับประทาน แมกนีเซียม จะช่วยลดการเกิดตะคริวในหญิงมีครรภ์ที่มีระดับของ แมกนีเซียม ต่ำได้
17. ช่วยป้องกันการเกิดอาการ ไมเกรน คนที่มีปัญหาโรคไมเกรน มักจะมีปริมาณ แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ
18. ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น

ประโยชน์ที่นำมาใช้ทางการแพทย์
1. ช่วยลดอาการไมเกรน
2. ช่วยลดอาการตะคริวและการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ
3. ช่วยลดอาการปวดของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นต่าง ๆ
4. ช่วยลดการเต้นผิดปกติของหัวใจ
5. ช่วยลดความดันโลหิตสูง
6. ช่วยลดอาการหอบหืด
7. ช่วยลดการปวดประจำเดือน
ผลของการรับประทาน แมกนีเซียม ไม่เพียงพอ
จากการทดลองกับสัตว์พบว่า ถ้าให้อาหารที่มี แมกนีเซียม ต่ำเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อ ไต หัวใจ และหลอดเลือด คนสูงอายุที่กินอาหารไม่มีแมกนีเซียมนาน 100 วันขึ้นไป มักแสดงอาการผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร และการทำงานของระบบประสาท อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบปัญหาการขาดแมกนีเซียมในคนปกติ ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีน และคนไข้ที่อดอาหารเป็นเวลานานหลังการผ่าตัดอาจมีอาการขาด แมกนีเซียม ได้ คนพวกนี้มักมี แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ และมีอาการชักคล้ายการขาด แคลเซียม (แคลเซียม ในเลือดมักต่ำด้วย)
การขาด แมกนีเซียม จะมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายต่ำลง ระบบกล้ามเนื้อและระบบการย่อยอาหารจะทำงานผิดปกติ ระบบประสาทจะถูกทำลาย และประสาทรับรู้อาการเจ็บปวดจะไวขึ้น กระดูกอ่อนจนร่างกายรับน้ำหนักไม่ไหว และร่ายกายจะสร้างโปรตีนทดแทนไม่ได้ตามปกติ นอกจากนี้การขาด แมกนีเซียม จะทำให้ร่างกายเก็บสะสมพลังงานไว้ไม่ได้ สังเคราะห์ฮอร์โมนเพศไม่ได้ เลือดแข็งตัวช้า
สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม
ความเครียดทำให้ แมกนีเซียม ถูกใช้มากขึ้นหลายเท่า เนื้อและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง น้ำอัดลม ล้วนแต่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสมากซึ่งจะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การใช้ยาขับปัสสาวะก็มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน รวมทั้งผู้ที่เป็นโรค เบาหวาน มีโอกาสขาด แมกนีเซียม ได้ง่าย
การดูดซึมจะถูกควบคุมด้วยพาราธัยรอยด์ ฮอร์โมน และจำนวนของ แคลเซียม และฟอสฟอรัสในอาหาร กรดไฟติกที่พบในข้าวอาจป้องกันการดูดซึมของ แมกนีเซียม อัลโดสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนหลั่งจากต่อมแอดรีนัลจะคอยควบคุมจำนวนของ แมกนีเซียม ที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะและการดื่มเหล้าจะเพิ่มจำนวนของ แมกนีเซียม ที่สูญเสียไปทางปัสสาวะ การได้รับฟลูออไรด์หรือสังกะสีปริมาณมากๆ จะไปเพิ่มการขับถ่าย แมกนีเซียม ทางปัสสาวะให้มากขึ้นเช่นกัน
ผลการรับประทานแมกนีเซียมมากเกินไป
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับโทษของการรับประทาน แมกนีเซียม มากไป มีผู้รายงานว่าอาหารที่มี แมกนีเซียม สูงอาจช่วยป้องกัน โรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบได้
ในกรณีปกติหากได้รับ แมกนีเซียม มากเกินไป ไตจะทำการขับออกนอกร่างกาย แต่ในคนที่เป็นโรคไต แมกนีเซียม ที่มากเกินไปอาจไม่ถูกขับออกมาอย่างพอเพียง จึงทำให้เกิดอาการเป็นพิษ คือ ท้องร่วง และอัตราส่วนของ แคลเซียม-แมกนีเซียม ไม่สมดุล เป็นผลให้เกิดการซึมเศร้าเนื่องจากระบบประสาทกลาง
การรับประทานแมกนีเซียม
แนะนำให้รับประทาน แมกนีเซียม เป็นอาหารเสริมประมาณวันละ 300 มก. และควรรับประทาน แมกนีเซียม ที่ไม่มีผลทำให้เกิดอาการถ่ายเหลว เช่น แมกนีเซียม ออกไซด์ และ แมกนีเซียม ฟอสเฟต ซึ่งร่างกายจะได้รับธาตุฟอสฟอรัส ช่วยในการสร้างความหนาแน่นของกระดูก
ข้อควรระวังในการรับประทาน แมกนีเซียม คือ ควรควบคุมปริมาณของ แคลเซียม ควบคู่ไปด้วย โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1 ปริมาณ แคลเซียม ที่ได้รับต่อวัน ควรจะอยู่ประมาณ 600 มก. แมกนีเซียม 300 มก. แต่ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ได้รับ แมกนีเซียม เพียง 150-300 มก. ในขณะที่ แคลเซียม มีผู้หันมาบริโภคมากขึ้นเพื่อป้องกันโรคกระดูก ในผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจกับปริมาณของ แมกนีเซียม ด้วยเช่นกัน ผู้ดื่มนมในปริมาณมาก ควรหันมาบริโภค แมกนีเซียม ให้มากขึ้น หากได้รับ แคลเซียม มากเกินไป จะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม ในร่างกาย
แมกนีเซียมเหมาะสำหรับใคร
-ผู้มีความเครียดสูง
-ผู้ที่มือเท้าชาบ่อยๆ หรือเป็นตะคริวบ่อยๆ
-ผู้ที่เป็นโรคลมบ้าหมู (ควรปรึกษาแพทย์)
-ผู้ที่ทานนม อาหารปรุงแต่ง น้ำอัดลม เหล้า ในปริมาณมาก
-ผู้ป่วยที่ทานยาขับปัสสาวะ
-ผู้ที่ต้องการป้องกันตนเองจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ นิ่วในไต โรคกระดูก osteoporosis
-ผู้สูงอายุ เพื่อบำรุงร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริมสร้างกระดูก
วิธีการรับประทาน
-
ปริมาณ,คะแนน
ปริมาณ : 60 แคปซูล
คะแนน : 100 PV
TAG
ไบโอแมค แมกนีเซียม ,Bio Mag Magnesium, Magnesium

                              http://www.pgpthai.com/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Backlinks