สถานการณ์
โรคหัวใจขาดเลือดของคนไทย ปี 2553 พบเสียชีวิตประมาณวันละ 35 คน
ส่วนป่วยที่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคนี้ในรอบ10 ปีที่ผ่านมา
พบเพิ่มขึ้น 3.6 เท่าตัว
รู้ทัน..โรคหัวใจขาดเลือดกันก่อน
ของ
หลอดเลือด มีไขมันมาสะสมพอกตัวหนาขึ้น
ทำให้หลอดเลือดตีบและแข็งตัวจนกระทั่งรูสำหรับการไหลเวียน เลือดตีบตันลงไป
เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ เป็นผลให้ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
และหากหลอดเลือดแดง ตีบแคบมากจนอุดตัน
จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด แบ่งเป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1.ปัจจัย
เสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ ผู้ชายอายุเกิน 45 ปี
ผู้หญิงอายุเกิน 55 ปี และกรรมพันธุ์ จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
2.
ปัจจัยด้านพฤติกรรมซึ่งเป็นปัจจัยที่เราสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันโรค
นี้ได้ถึง ร้อยละ 80 ปัจจัยเสี่ยงด้านนี้ ได้แก่ รูปแบบการดำเนินชีวิตที่
ไม่สมดุลระหว่างการกินและการออกแรง กินมากเกินพอดี ไม่ถูกสัดส่วน
กินอาหารรสเค็ม หวานและมันสูง กินผักผลไม้น้อย ใช้เครื่องอำนวยความสะดวก
เคลื่อนไหวร่างกายน้อย เครียดเป็นประจำ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
และการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสอง
ปัจจัยดังกล่าวส่งเสริมให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน ความดันโลหิตสูง
ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และส่งผลให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดตามมา
เรียนรู้...เรื่อง อาการเตือนของภาวะหัวใจขาดเลือด
เจ็บ
กลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมา เล็กน้อย เจ็บแบบจุกแน่น
คล้ายมีอะไรมาบีบหรือกดทับไว้
อาการเจ็บมักร้าวไปที่คอหรือขากรรไกรหรือไหล่ซ้าย
มักเป็นมากขณะออกกำลังกายหรือทำงาน เป็นอยู่นานครั้งละ 2-3 นาที
อาการจะดีขึ้นถ้าได้หยุดพัก หรืออมยา
ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน
บางคนอาจมีอาการใจสั่น หอบเหนื่อย กล้ามเนื้อ อ่อนแรงร่วมด้วย
รู้ทัน..และปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดให้ไกลตัว
เรา
สามารถป้องกันโรคนี้ โดยปฏิบัติตัวลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
โดยใช้เคล็ดลับ "ใส่ใจ 3 อ. บอกลา 2 ส. เพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
3อ. ได้แก่ 1อ. กินอาหารถูกสัดส่วน สมดุลกับการใช้แรงของตัวเราเอง เลี่ยงเค็ม หวาน มัน เพิ่มผัก ผลไม้ที่หวานน้อย
2อ.
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
และปรับวิถีชีวิตให้มีการเคลื่อนไหว ไม่นั่ง ทำงานนานๆ ให้ลุกเดิน
หรือบริหารร่างกายบ้าง เลี่ยงการใช้สิ่งอำนวยความสะดวก
3อ. อารมณ์ดี และจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม
2ส. ได้แก่ 1ส. ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีควันบุหรี่ 2ส. ลดดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสม
เพียง
เราปฏิบัติตัวตามเคล็ดลับข้างต้น เราก็จะห่างไกลโรคหัวใจขาดเลือดกันนะค่ะ
และที่สำคัญอีกประการหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย หากพบสิ่งผิดปกติ
ให้รีบไปพบแพทย์ และควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี นะคะ
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน โดย ศกลวรรณ แก้วกลิ่น และนิตยา พันธุเวทย์ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น