โรคแพนิคพบบ่อยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ทำให้ความสามารถในการประกอบอาชีพลดลง และความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิดตึงเครียดมากขึ้น ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจหรือโรคร้ายแรง เวียนไปพบแพทย์บ่อยๆ การตรวจร่างกายและการทดสอบพิเศษจะไม่พบความผิดปรกติใดๆ ซึ่งอาการต่างๆ ที่พบนั้นมี 2 อย่างคือ
1.อาการที่เกิดขึ้นแบบจู่โจม (แพนิค) มัก เกิดโดยไม่เลือกเวลาและสถานที่จึงยากที่จะทำนายได้ ทำให้บางรายเกิดความหวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือกิจกรรมนั้นๆ ที่เคยมีแพนิคเกิดขึ้น
2.อาการแพนิคสงบลง ผู้ป่วยมักตกอยู่ ในสภาพหวาดหวั่น วิตกว่าจะเกิดอาการขึ้นมาอีก ไม่อาจรู้ว่าเมื่อไรและที่ไหน หากผู้ป่วยยิ่งมีความหวาดหวั่นและวิตกกังวลมากเท่าไรก็จะเกิดอาการจู่โจมมาก ขึ้นเท่านั้น เพราะผู้ป่วยได้ตกอยู่ในวงเวียนของการเกิดอาการแล้ว คือใจเต้นเร็ว รัวลั่นเหมือนตีกลอง เจ็บบริเวณหน้าอก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม รู้สึกมึนงง โคลงเคลง เป็นลม รู้สึกชา หรือซ่าตามปลายเท้า ตัวร้อนวูบวาบ ตัวสั่น เหงื่อแตก อ่อนเพลีย คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง ความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในความฝัน มีการรับรู้บิดเบือนไป ความกลัวอย่างท่วมท้นร่วมกับความรู้สึกสังหรณ์ว่ามีบางอย่างที่น่ากลัวกำลัง เกิดขึ้นกับตัวเอง และเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ กลัวว่าจะตาย ควบคุมตนเองไม่ได้เหมือนจะเป็นบ้าหรือแสดงบางอย่างที่น่าอายออกไป
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคแพนิคได้มาจาก 1.ศูนย์ควบคุมการทำงานของสมองและจิตใจเกี่ยวกับความหวาดกลัวไวต่อสิ่ง กระตุ้นมากกว่าปรกติ 2.กรรมพันธุ์ และ 3.อาการจู่โจมที่เกิดขึ้นครั้งแรก อาจมีความสัมพันธ์กับความตึงเครียดในชีวิต
การรักษา
ในปัจจุบันวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพคือ การรักษาทางยาร่วมกับการดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นมากจนหายขาดได้ 7 หรือ 9 ราย ใน 10 ราย โดยอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายหลังเริ่มการรักษาแล้ว 6-8 สัปดาห์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์ยังคงให้การรักษาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 6เดือน เพื่อป้องกันการกำเริบของอาการ การหยุดยา ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาทันที เพราะจะเกิดอาการของการหยุด ยาหรือมีอาการเก่ากำเริบ คำแนะนำ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
1.ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรักษา
2.ไม่ควรบรรเทาอาการด้วยการเสพสุรา หรือใช้ยานอนหลับ เพราะอาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดเสพ
3.ลดหรืองดกาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีนประเภทโคล่าทุกชนิด
4.ออกกำลังกายตามสมควร ตามความสามารถ
5.เมื่ออาการต่างๆ ทุเลาแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัว
6.ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับของความตึงเครียด
การฝึกการผ่อนคลายสามารถทำได้โดยการนอนหงายตามสบายบนเตียง หรือพื้นที่ในบริเวณที่สงบ มือทั้งสองประสานวางอยู่บนหน้าท้อง ไม่เกร็ง ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออกและหัวไหล่ พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ทั้งสังเกตและจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่ผ่านรูจมูกเข้า ไปลึกเต็มที่จนหน้าท้องขยายขึ้น รู้สึกได้จากการที่มือทั้งสองถูกยกขึ้นช้าๆ และหัวไหล่เคลื่อนขึ้น เมื่อหายใจเข้าเต็มที่แล้ว นับ 1 2 3 ในใจช้าๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆพร้อมทั้งสังเกตและจดจ่อที่การเคลื่อน ไหวของลมหายใจที่เคลื่อนที่ออกผ่านรูจมูกจนหน้าท้องแฟบลง มือทั้งสองลดต่ำลง เมื่อหายใจออกจนหมด นับ 1 2 3 ในใจช้าๆอีกครั้ง และเริ่มหาย ใจเข้าและหายใจออกสลับกันไปเป็นจังหวะสม่ำเสมออย่างน้อย 10 ครั้ง
เมื่อมีความชำนาญอาจทำเวลานั่งโดย พิงเก้าอี้ตามสบาย มือทั้งสองวางไว้ที่หน้าขาหรือประสานกันอยู่ที่หน้าท้อง วิธีการเหมือนกับการควบคุมการหายใจในท่านอนหงายทุกประการ
ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น