ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ คือ ภาวะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและมีอาการรุนแรงที่มีสาเหตุมาจาก โรคหัวใจ และผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
อาการผิดปกติสำคัญที่บ่งชี้ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ เช่น
-อาการเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรง
-อาการหอบเหนื่อยหรือหายใจลำบาก
-อาการสั่นจากมีภาวะหัวใจเต้นเร็วและแรงผิดปกติ
-อาการหน้ามืดหรือหมดสติ
อาการต่างๆ เหล่านี้อาจเกิดได้หลายสาเหตุเช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหัวใจล้มเหลว และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น บทความที่จะกล่าวต่อไปนี้จะพิจารณาในแง่ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็น หลัก เนื่องจากเป็นโรคที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน
กลุ่มเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1.ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้ ซึ่งได้แก่
a.เพศ จากข้อมูลทางสถิติที่ผ่านมาพบว่า พบผู้ชายป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง
b.อายุ มักพบผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในวัยกลางคนขึ้นไปถึงวัยสูงอายุ กล่าวคือ อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปในเพศชาย และอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปในเพศหญิง
c.พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเดียวกันป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ร่วมด้วย โดยเฉพาะถ้าคนในครอบครัวที่เป็นโรคนี้เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป บุคคลผู้นั้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติคนใน ครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้ร่วมด้วย
2.ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้มีดังนี้
a.โรคประจำคตัวหรือโรคที่พบร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน เป็นต้น
b.พฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งได้แก่ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย ภาวะเครียดเรื้อรัง
อาการที่เกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้เป็น 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 มีอาการเจ็บหน้าอกขณะออกแรง โดยมักเจ็บหน้าอกแบบแน่นๆ บีบๆ หรือหนักๆ ที่หน้าอกตรงกลางหรือหน้าอกด้านซ้าย โดยอาการเจ็บหน้าอกอาจร้าวที่ขากรรไกรล่าง กราม หัวไหล่ หรือท้องแขนด้านซ้ายหรือทั้งสองข้างก็ได้ และมักเป็นอยู่ไม่นานประมาณ 5-10 นาที อาการมักดีขึ้นหรือหายไปได้เมื่อหยุดพัก
ระดับที่ 2 มีอารเจ็บหน้าอกขณะพัก และอาการเจ็บหน้าอกมักจะเป็นรุนแรงมากขึ้น เป็นเวาลานานมาขึ้นประมาณ 10-20 นาที และเป็นบ่อยครั้งขึ้นกว่าเดิมโดยอาการอาจทุเลาลงได้เมื่อหยุดพักหรืออาจไม่ ดีขึ้นแต่ตรวจไม่พบมีการบาเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ
ระดับที่ 3 มีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก โดยมักมีอาการเกิดขึ้นทันทีทันใด อาการเจ็บหน้าอกมักเป็นรุนแรงและเป็นยาวนานกว่า 30 นาทีขึ้นไป โดยมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อแตก ใจสั่น หายใจไม่สะดวกหน้ามืดหรือเป็นลม และตรวจพบว่ามีอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการรุนแรงและเฉียบพลัน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ดังนั้น ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรสังเกตอาการของตนเองว่ามีลักษณะอาการที่อาจ บ่งชี้ว่ามีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วมด้วยหรือไม่ และควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าว ข้างต้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงระดับที่ 3 ควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที เนื่องจากอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตได้
การป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่สำคัญที่สุดคือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรคโดยเฉพาะการควบคุมและรักษาโรคที่ พบร่วมต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งได้แก่ การงดสูบบุหรี่ การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนจนเกินไปโดยการออกกำลังกายชนิดแอโรบิกเป็น ประจำสม่ำเสมอครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่าร่างกาย เช่น ปลา ผักและผลไม้ งดรับประทานอาหารที่มีรสมันจัดหรือมีคอเลสเตอรอลสูง และอาการผ่อนคลายจิตใจเพื่อลดภาวะเครียด
ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
=======
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น