แพทย์ห่วงหน้าฝนโรคฉี่หนูระบาด เตือน 7 วิธีห่างไกลโรค
นางสาวพัชรา ศรีดุรงคธรรม หัวหน้ากลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค เผยว่าในช่วงฤดูฝนของทุกปีมักมีการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู ซึ่งในบางพื้นที่มีน้ำท่วมหนักจะมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคฉี่หนูจากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ( พิษณุโลก เพชรบูรณ์อุตรดิตถ์ ตาก และสุโขทัย ) พบว่าการระบาดของโรค มากขึ้นช่วงเดือนกรกฎาคม จนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี สำหรับในปี 2555 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนมิถุนายน พบผู้ป่วยแล้ว 31 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต เปรียบเทียบกับปี 2554 ในช่วงเวลาเดียวกันพบผู้ป่วยสูงมากกว่า และคาดว่าในเดือนสิงหาคม จนถึง พฤศจิกายน 2555 จะมีแนวโน้มการระบาดจะสูงขึ้น โดยกลุ่มเกษตรกรจะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคฉี่หนูมากที่สุด เนื่องจากมีโอกาสการสัมผัสกับเชื้อโรคมากและบ่อยครั้งกว่า
เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคฉี่หนูคือเชื้อแบคทีเรีย"เลปโตสไปร่า" อาศัยอยู่ในสัตว์พาหะเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หนู วัว ควาย สุนัข แมว แต่ที่สำคัญที่สุดคือ หนู เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยโดยเข้าไปทางรอยแตกหรือแผลเล็กๆ บนผิวหนังหรือผิวหนังที่เปื่อยเมื่อแช่น้ำนานๆ และเยื่อบุที่อ่อนนุ่ม เช่น ตา จมูก ปากเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะใช้ระยะฟักตัว 5- 14 วัน จะเริ่มมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดน่อง ตาแดง ปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากเชื้อโรคสามารถกระจายไปทั่วตัว จึงมีภาวะแทรกซ้อนได้หลากหลายระบบ ผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากภาวะไตวาย ตับล้มเหลว ระบบหายใจล้มเหลว แต่หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากสาธารณสุขได้เร็วและได้รับยาปฏิชีวนะตามข้อกำหนดผู้ป่วยจะหายได้ โดยมีคำแนะนำการป้องกันโรค7 ประการดังนี้
1) ผู้ที่ทำงานเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะเกษตรกรควรใช้ถุงมือ รองเท้าบู๊ท
2) หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำหรือลุยน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อจากปัสสาวะ ถ้าจำเป็นควรสวมรองเท้าบู๊ท หรือสวมถุงพลาสติกหนาหุ้มด้วยรองเท้าผ้าใบ
3) ควบคุมกำจัดหนูในบริเวณที่อยู่อาศัย บริเวณสถานที่ทำงาน แหล่งพักผ่อนท่องเที่ยว
4) ล้างท่อระบายน้ำที่อาจจะเป็นแหล่งปนเปื้อนเชื้อบ่อยๆ ไม่ปล่อยให้น้ำขัง
5) ควรเก็บอาหารไว้ในที่มิดชิดเพื่อป้องกันหนูถ่ายปัสสาวะรดใส่อาหาร
6) อาหารที่ค้างมื้อควรนำมาอุ่นให้ร้อนทุกครั้งก่อนรับประทาน7) ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้งนางสาวพัชรา กล่าวว่า ผู้ป่วยที่มีอาการชี้ชัดและมีประวัติเคยสัมผัสแช่น้ำในช่วง 1 เดือนก่อนจะมีอาการป่วย ควรรีบไปเข้ารับการตรวจรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านโดยทันที ไม่ควรวินิจฉัยและรักษาเอง หากมีข้อสงสัยติดต่อได้ที่ 1422
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น