เมื่อเร็วๆ นี้ ผศ.พญ.ธิติยา สิริสิงห เดชเทวพร หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ให้ ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมชนิดตัวรับฮอร์โมนบวกและตัวรับ HER2 เป็นลบ ว่า เซลล์มะเร็งที่มีตัวรับฮอร์โมนเป็นบวก หมายถึงเซลล์มะเร็งที่แสดงตัวรับต่อฮอร์โมนเพศบางชนิด เช่น เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน โดยการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน การแสดงตัวรับต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน (ER) และ/หรือตัวรับโปรเจสเตอโรน (PgR) เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยพยากรณ์และทำนายโรคที่สำคัญที่สุดสำหรับการรักษา มะเร็งเต้านม โดยพบได้ประมาณร้อยละ 70 ของโรค นอกจากตัวรับฮอร์โมนแล้ว เซลล์มะเร็งเต้านมยังอาจมีโปรตีนชื่อ HER2 เป็นบวกหรือลบก็ได้ มะเร็งที่มีตัวรับฮอร์โมนเป็นบวก และ HER2 เป็นลบบางครั้งอาจมีความรุนแรงของโรคได้เมื่อแพร่กระจาย
ปัจจุบันพบมะเร็งเต้านมระยะลุกลามที่มีตัวรับฮอร์โมนเป็นบวก (ER+) และตัวรับ HER2 เป็นลบ (HER2-) ในผู้ป่วยใหม่ประมาณ 220,000 รายทั่วโลกในแต่ละปี ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมชนิด ER+ ที่อยู่ในระยะแพร่กระจายประมาณร้อยละ 50 ไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้นด้วยยาในกลุ่มต้านหรือยับยั้งฮอร์โมน นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้นดังกล่าวเกือบทั้งหมดจะเกิดภาวะ ดื้อยาในกลุ่มต้านหรือยับยั้งฮอร์โมนได้ในที่สุด
ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาวิธีใดวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับโรคในระยะ นี้ การรักษาโรคอาจต้องผสมผสานวิธีการรักษาหลายวิธีรวมกัน ได้แก่ การรักษาด้วยยา ซึ่งมีผลทั่วร่างกายที่เรียกว่า systemic therapy เช่น ยาเคมีบำบัด ยาต้านหรือยับยั้งฮอร์โมน หรือยาในกลุ่มที่เรียกว่า targeted therapy ซึ่งมุ่งยับยั้งกระบวนการที่จำเพาะกับมะเร็งแต่ละชนิด หรือการรักษาเฉพาะที่ต่อก้อนมะเร็ง เช่น การผ่าตัดหรือรังสีรักษา
ทางเลือกของการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของ มะเร็งต้นเหตุ ขนาดของก้อนมะเร็งบริเวณที่มะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น อายุ และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย และการรักษาที่ผู้ป่วยเคยได้รับมาก่อน การรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายจึงเป็นการรักษาในลักษณะควบคุมและ บรรเทาอาการ ซึ่งผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 24-30 เดือน
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น