น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รายงาน ผลตรวจผักยอดฮิตในครัวเรือนไทย 7 ชนิด ได้แก่ กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และ พริกจินดา จากห้างดังหลายห้าง ทั้งชนิดที่เป็นยี่ห้อท้องถิ่น และตรารับรอง คิว (Q) เจอสารเคมีอันตรายหลายชนิด เฉพาะอย่างยิ่ง คาร์โบฟูราน และเมโทมิล ซึ่งเป็นสารเคมีเกษตรตัวที่เครือข่ายเกษตรทางเลือกเสนอให้ระงับการขึ้น ทะเบียน แม้ไม่เกินค่ามาตรฐานประเทศไทย แต่เกินค่ามาตรฐานยุโรป ได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักชี คะน้า ซึ่งสะท้อนมาตรฐานการคุ้มครองสุขภาพคนไทยที่ต่ำกว่ายุโรป นอกจากนี้ทั้งเมโทมิล และคาร์โบฟูราน ก็เป็นสารเคมีเกษตรที่ตรวจพบตกค้างเกินค่ามาตรฐานในผักที่ส่งไปยุโรปบ่อย ครั้งที่สุด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงเสนอว่าประเทศไทยควรปรับมาตรฐานการตกค้างของสารเคมีเกษตรให้เป็นมาตรฐาน เดียวกับยุโรป เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในประเทศ
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า ประเทศไทยยังมีสารตัวอื่นทดแทนคาร์โบฟูราน และเมโทมิลได้ทั้งเคมี และอินทรีย์ ทั้งนี้ สารเคมี 2ชนิดนี้ หลายประเทศก็มีการห้ามใช้ และไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียน
"จึงให้ทั้งกรมวิชาการเกษตร และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคเหนือผลประโยชน์ของบริษัทนำ เข้าสารเคมี และยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศในระดับที่ทัดเทียมกับประเท ศอื่นๆ ขอเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีประกาศห้ามใช้ และไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียน เมโทมิล คาร์โบฟูราน ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น โดยทันที เพื่อปกป้องสุขภาพของเกษตรกรผู้บริโภค และรักษาตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย" นายวิฑูรย์กล่าว
ที่มา :หนังสือพิมพ์มติชน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น