จากสถิติข้อมูลผู้ป่วย "มะเร็งปอด" โรงพยาบาลตำรวจ ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม-พฤษภามค 2555 พบว่ามีผู้ป่วยที่เป็น "ตำรวจชาย-หญิง" ตั้งแต่ระดับชั้นประทวนจนถึงระดับสัญญาบัตรอายุระหว่าง 40-70 ปี เข้ามารักษาโรคมะเร็งปอดถึง 11 ราย โดย 4 รายใน 11 ราย เป็น "ตำรวจจราจร" !!
"ดาบตำรวจ" วัย 58 ปี 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด เคยเป็นตำรวจจราจรมานานกว่า 30 ปี บอกกับ "คม ชัด ลึก" ว่า โดยส่วนตัวเป็นคนไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า แต่ตลอดชีวิตการทำงานอาชีพตำรวจ ซึ่งเริ่มจากตำรวจจราจรคอยโบกรถ จัดการจราจร ขี่รถจักรยานยนต์สายตรวจมากว่า 30 ปี ก็ไม่รู้สึกว่าร่างกายผิดปกติแต่มาเมื่อปลายปี 2551 เริ่มมีอาการไอเรื้อรังจนไอเป็นเลือด ตอนแรกคิดว่าเป็นวัณโรค แต่พอไปตรวจที่โรงพยาบาลเมื่อต้นปี 2552 จึงรู้ว่าเป็นโรคมะเร็งปอดระยะที่ 3 แล้ว
"ผมไม่สูบบุหรี่ ไม่กินเหล้า แต่นอนดึก ตื่นเช้า ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ เมื่อต้องมาสัมผัสกับมลภาวะเรื่อยๆ ก็เกิดการสะสมแม้ว่าเวลาปฏอบัติหน้าที่ จะมีหน้ากากปิดปากแต่ก็แค่กันไว้ส่วนหนึ่ง ไม่เพียงพอ ผมจึงอยากเตือนน้องๆ ตำรวจจราจรว่าควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่ เพราะอาจเร่งให้เกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น" ดาบตำรวจวัย 58 ปีแนะนำ
สำหรับดาบตำรวจวัย 58 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดรายนี้ เคยไปตรวจร่างกายประจำปีที่โรงพยาบาล ก็เริ่มพบสิ่งผิดปกติที่ปอดเพียงแต่ฟิล์มเอกซเรย์นั้นมองเห็นไม่ชัดเจน จนกระทั่งมารู้ว่ามีตุ่มในปอด ซึ่งไปขวางการทำหน้าที่ดักฝุ่น ทำให้ปอดเริ่มมีปัญหา แม้ว่าจะรักษาตุ่มนั้นหายเรียบร้อยแล้ว แต่มะเร็งก็ได้ลามไปยังกระดูกสันหลังข้อ ที่ 8-9 และเพิ่งผ่าตัดไปเมื่อปี 2553 ก่อนจะมาตรวจอีกครั้งและพบว่าเชื้อมะเร็งยังมีอยู่ในปอดด้านซ้ายต้องรักษา ด้วยวิธีคีโม จนมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วง
พ.ต.อ.หญิง พรเพ็ญ บุนนาค นพ.(สบ 5) กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว รพ.ตำรวจ กล่าว ถึงแนวทางคัดกรองและดูแลให้คำแนะนำตำรวจในกลุ่มเสี่ยงว่า ในแต่ละวันนั้นตำรวจจราจรจะมีการหายใจนำสารพิษ มลภาวะฝุ่นละออง เข้าสู่ร่างกายทุกวัน บวกกับความเครียดที่สะสมก็อาจทำให้กลายเป็นบ่อเกิดของโรคมะเร็งได้ ซึ่งการตรวจสุขภาพประจำปีของตำรวจจราจรนั้นจะเน้นตรวจในเรื่องของปอดว่าการ ทำงานเป็นปกติหรือไม่
"เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคนนั้นมีอาการที่บ่งบอกจากโรคที่เกิดจากการทำงาน ตามหลักอาชีวเวชศาสตร์ต้องมีการเปลี่ยนหน้าที่ในการทำงาน ให้เข้าไปทำอย่างอื่นแทน ซึ่งการตรวจสุขภาพประจำปีทุกครั้ง จะย้ำเสมอว่า ในการทำงานควรจะต้องมีหน้ากากที่มีคุณภาพที่สามารถคัดกรองกลิ่น ฝุ่นละออง เชื้อโรค สารเคมี เบื้องต้นได้ และไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะที่ผ่านมาพบว่าการสูบบุหรี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นทะ เร็งปอด นอกจากการสูดดมควันพิษด้วย" พ.ต.อ.หญิง พรเพ็ญ กล่าว
ด้าน นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ ผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า "ตำรวจจราจร" มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพในประเทศไทย เนื่องจากต้องพบเจอกับสภาวะในการทำงานที่ไม่ดี ทั้งควันพิษต่างๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อลดความเสี่ยงในแต่ละปี จึงต้องมีการสำรวจสุขภาพของตำรวจจราจร แต่ขณะเดียวกันการสูบบุหรี่ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดเช่น กัน
ส่วนผลกระทบจากควันพิษบนท้องถนนนั้น นพ.สมเกียรติ อธิบายว่า จะเกิด 2 แบบคือ แบบเฉียบพลัน ที่เป็นอาการเบื้องต้น ได้แก่ ไอ แสบตา แสบคอ และแบบเรื้อรัง คือเมื่อสัมผัสไปนานวันเข้าก็อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดตามมา ได้ ทั้งนี้ ปัจจัยจากการเกิดนั้นก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับว่ามากน้อยแค่ไหนระยะเวลา ที่สัมผัส รวมถึงสุขภาพส่วนตัวด้วย
"การสวมหน้ากากขณะที่ปฏิบัติงานจะ ไม่ได้ช่วยป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงต้องหมั่นหาที่ระบายอากาศ ผลัดเปลี่ยนอยู่ในห้องปรับอากาศ หรือในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และถ้าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงอยู่แล้วก็ไม่ควรจะสูบบุหรี่ก็จะช่วยลดความเสี่ยง ได้บ้าง" นพ.สมเกียรติแนะนำทิ้งท้าย
ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก โดย ทีมข่าวรายงานพิเศษ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น