ศาสตราจารย์แพทย์หญิง สุมาลี เกียรติบุญศรี (กลาง) หน่วยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ (ขวา) ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนายแพทย์รัตน์ เชื้อชูวงศ์ (ซ้าย) แพทย์ที่ปรึกษา บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมแถลงข่าวเผยผลการสำรวจล่าสุดจาก “ระบาดวิทยาและผลกระทบจากโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังในทวีปเอเชีย” (Epidemiology and Impact of COPD in Asia’ survey หรือ EPIC Asia Survey) พบว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ทว่าผู้ป่วยส่วนมากกลับยังไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคนี้ จึงไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม และพร้อมเตือนคนไทยว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคร้ายอันเป็นภาระหนักของ ผู้ป่วยในทวีปเอเชีย
โดยโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก เนื่องจากปอดถูกทำลายและเกิดอาการอักเสบ โรคกลุ่มนี้ยังเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการว่ามีผู้ป่วยจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอยู่กว่า 65 ล้านคนทั่วโลก ปัจจุบัน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 5 ของโลก และอาจขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2573 อีกด้วย โดยในปี 2548 นั้น มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนผู้เสียชีวิตรวมทุกสาเหตุทั่วโลก ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ในอีก 10 ปีข้างหน้า นอกเสียจากว่าจะมีการจัดการป้องกัน และรณรงค์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะพฤติกรรมสูบบุหรี่ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักของโรค
- ชาวไทยอายุมากกว่า 40 ปี ป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประมาณ ร้อยละ 5
- กว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทยไม่รู้ตัวว่าตนเองป่วยเป็นโรคนี้
- 1 ใน 6 ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการรุนแรง ซึ่งรวมถึง:
- ภาวะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะรุนแรงหรือรุนแรงมาก หรือ
- ตรวจพบว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มีอาการไอ มีเสมหะมาก และยังมีอาการกำเริบเฉียบพลันบ่อยครั้ง (อย่างน้อย 2 ครั้งในรอบปีที่ผ่านมา)
- มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในไทยต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการกำเริบเฉียบพลันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ที่มา : Press Release
PG&P
สโนว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม พีจีแอนด์พี pg&pthai พีจีแอนด์พีไทย pgpthai พีจีพี thaipgp เพรสซิเด็นท์ เกรน พรอดักท์ สกัดจากธัญพืช ธัญพืชสกัด
PGPTHAI คลิปตัวอย่าง PG&P FEED PG&P
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น